วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การใช้โปรแกรม VMware



VMware เป็นชื่อของโปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ (virtual machine) บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่เราใช้งานอยู่ประจำ โดยโปรแกรมดังกล่าวจะทำให้ดูเสมือนกับว่า เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องซ้อนอยู่ในเครื่องเดียวกัน VMware เป็นโปรแกรมที่กลุ่มผู้ใช้ลีนุกซ์ในบ้านเรารู้จักดี เพราะเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราสามารถจับภาพหน้าจอของโปรแกรมดำเนินการติดตั้งของลีนุกซ์ได้ ส่วนวิธีการจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องติดตามครับ
VMware เป็นผลิตภัณฑ์ของ VMware, Inc. โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม VMware จะมีด้วยกันหลายลักษณะ และหลายเวอร์ชัน สำหรับรุ่นที่นำมาทดสอบเป็น VMware Workstation 3.0 จะมี 2 แบบ คือ
แบบแรก เป็น VMware Workstation สำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ไมโครซอฟท์วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการหลักของเครื่อง (host)
แบบที่สอง เป็น VMware Workstation สำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการหลักของเครื่อง โดยรุ่นที่ติดตั้งบนไมโครซอฟท์วินโดวส์ จะต้องเป็นวินโดวส์ เอ็นที 4.0 วินโดวส์ 2000 หรือ เอ็กซ์พี เท่านั้น สำหรับเวอร์ชันทดลองสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www. vmware.com โดยต้องดาวน์โหลดชุดติดตั้งของโปรแกรม VMware Workstation สำหรับติดตั้งบนลีนุกซ์ หรือวินโดวส์ แล้วแต่กรณี และต้องลงทะเบียนเพื่อขอซีเรียลนัมเบอร์ (serial number) มาด้วย โดยซีเรียลนัมเบอร์ดังกล่าวจะเป็นซีเรียลนัมเบอร์สำหรับทดลองใช้งาน (30 วัน) นอกจากนี้ควรจะดาวน์โหลด Drivers & Patches และ VMware tools มาด้วย เพราะเราอาจต้องใช้ในภายหลัง
สำหรับระบบปฏิบัติการที่เราสามารถติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์จำลอง เกิดจากการทำงานของ VMware ที่เป็นได้ทั้งไมโครซอฟท์ วินโดวส์ มี, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เอ็กซ์พี และระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ่งควรจะเป็นรุ่นที่ใช้เคอร์แนล (kernel) ตั้งแต่ เวอร์ชัน 2.4.7 ขึ้นไป โดยลีนุกซ์ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ได้แก่ RedHat linux 7.1, SuSe 7.2 หรือ Linux Mandrake 8.0 เป็นต้น

.....การใช้งาน VMWare เพื่อการติดตั้ง linux มีหลักการง่ายๆ ว่า ควรสร้างตัวเครื่องจักรเสมือน (Virtual Machine)ให้มีคุณสมบัติเป็นเครื่องพีซีรุ่นธรรมดามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเลือก customize เองให้มากที่สุดลองนำตัวอย่างตามขั้นตอนต่อไปนี้ไปใช้ได้ทันที (สำหรับ VMWare 5.x)

1. ที่หน้าแรกของ VMWare ให้เลือกไอค่อน New Virtual Machine

2. หน้าจอต้อนรับ คลิ๊ก Next

3. เลือก custom เพื่อที่จะได้เลือกได้เองมากที่สุด

4. เลือก Legacy จะได้ทำให้ได้เครื่องรุ่นเก่าๆ สมใจ

5. มีตัวเลือก Linux ก็จริงแต่ไม่เอาครับ เลือก Other

6. ตั้งชื่อเครื่องตามใจชอบและเลือกที่เก็บตัว VM ให้มีเนื้อที่มากพอ

7. ปรับขนาดของ RAM ที่จะให้เจ้า VM ตัวนี้ใช้งานได้ (ควรมากกว่า 192MB)

8. การเชื่อมต่อกับโลกภายนอกให้เลือก Use bridge networking

9. จำลองระบบควบคุมดิสก์ SCSI เป็นแบบ Bus Logic

10. สร้างเนื้อที่ดิสก์ใหม่ขึ้นมา

11. จะจำลองให้ลีนุกซ์ใช้แบบ IDE จะติดตั้งง่ายดีครับ

12. จองเนื้อที่ดิสก์จริงๆ ไว้เลยซัก 8 GB

13. ตั้งชื่อไฟล์ได้เองครับ หรือจะใช้ชื่อนี้เลยก็ได้

14. vmware จะเริ่มจับจองเนื้อที่ดิสก์ไว้ให้ลีนุกซ์ของเรา

15. สำเร็จแล้ว เริ่มเปิดพีซีจำลองเพื่อเริ่มติดตั้งลีนุกซ์ค่ายไหนๆ ก็ได้ทั้งนั้น

URL




การใช้โปรแกรม Adobe Captivate

Adobe Captivate เป็นโปรแกรมที่แม้จะเกิดได้มาไม่นานนัก แต่ถือได้ว่ามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จัดเป็น โปรแกรมสำหรับใช้ในการสร้างสื่อเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าด้วยศักยภาพของตัว Captivate เอง หรือใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ อาทิ Acrobat Connect Pro, Adobe Presenter, Adobe RoboHelp, Adobe Contribute, Adobe Flash, Adobe (Macromedia) Authorware, Adobe Director, Adobe Flash, Adobe Dreamweaver ..เป็นต้น ซึ่งโปรแกรม Captivate ก็ทำได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น Captivate จึงมีการพัฒนา tool สนับสนุนเพิ่มเติมศักยภาพอยู่ตลอดเวลาในรูปของ Template หรือ Add-on ต่างๆ ท่านสามารถเข้าไปศึกษาและ download สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ที่ : Adobe Captivate Exchange และเพิ่มเติมความรู้ เทคนิควิธีการใหม่ๆได้ที่ Adobe Captivate training และ Adobe Captivate Forums
Adobe Captivate 3.0 ปัจจุบันสื่อเรียนรู้หรือสื่อการนําเสนอมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งสื่อแบบข้อความ รูปภาพ เสียงภาพเคลื่อนไหว สื่อมัลติมีเดีย ที่บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี หรือเผยแพร่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรมที่นํามาสร้างสื่อเรียนรู้หรือสื่อนําเสนอแบบมัลติมีเดียที่เรารู้จักนั้นมีมากมายหลายโปรแกรม เช่น Office TLEImpress, Microsoft PowerPoint, Macromedia Authorware, Macromedia Flash ฯลฯ โปรแกรมเหล่านี้จะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เพื่อพอสมควรจึงจะสร้างงานออกมาได้ ทําความรู้จัก Adobe Captivate 3.0 โปรแกรม Adobe Captivate 3.0 เป็นผลิตภัณฑ์น้องใหม่จากค่าย Adobe ที่ถูกพัฒนาขึ้น มาเพื่อสนับสนุนการสร้าง Movie ในรูปแบบสื่อเรียนรู้ หรือสื่อการนําเสนอแบบมัลติมีเดีย เช่น การนําเสนอผลงาน การจับหน้าจอภาพเพื่อนําไปสร้างสื่อเรียนรู้ การสร้างแบบทดสอบ รวมไปถึงการตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้สําหรับงานนําเสนอหรือผลิตสื่อเรียนรู้ โดยโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างชิ้นงานได้ง่ายและเร็ว จุดเด่นของโปรแกรม Adobe Captivate3.0 • สร้างสื่อเรียนรู้หรือสื่อนําเสนอมัลติมีเดียได้อย่างง่ายดาย • ตัดต่อวิดีโอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว • สร้างสื่อเรียนรู้โดยการจับหน้าจอภาพ (Screen capture movie) ประกอบเสียงบรรยาย • เหมาะสําหรับการนําไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน • สร้างแบบทดสอบได้ง่าย(ทำข้อสอบแบบ random ได้แล้ว สำหรับเวอร์ชั่นนี้) • นําเข้าไฟล์จากแหล่งต่างๆ ได้หลากหลาย ไฟล์รูปภาพ (Image) เช่น JPG, BMP, GIF ไฟล์เสียง (Sound) เช่น MP3, WAV เสียงบรรยายผ่านไมโครโฟน ไฟล์วิดีโอ (Video) เช่น AVI สไลด์จากโปรแกรม Microsoft Power Point (.PPT) Captivate 3.0 • ส่งออกไฟล์ได้หลายรูปแบบ Flash movie File (.swf) ลักษณะเช่นเดียวกับโปรแกรม Macromedia Flash HTML File (.html) สําหรับการนําไปใช้กับเว็บไซต์ EXE File (.exe) สําหรับการนําไปใช้แบบ Stand alone คือ การแสดงผลโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Adobe captivate
URL
http://www.mindphp.com/forums/viewtopic.php?t=2425
http://www.northeducation.ac.th/elearning/learning_program/captivate/cap_intro/cap_update.html

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

VMWare คืออะไร?

VMWare คืออะไร?
........โปรแกรม VMWare เป็นโปรแกรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ขึ้นบนระบบปฏิบัติการเดิมที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่นในรูปที่ 2 เป็นรูปที่แสดงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงระบบปฏิบัติการ Windows XP อยู่เดิม แล้วทำการลงระบบปฏิบัติการ Windows NT ผ่านโปรแกรม VMWare อีกทีหนึ่ง ซึ่งเมื่อลงแล้ว ทั้งสองระบบสามารถทำงานพร้อมกันได้โดยแยกจากกันค่อนข้างเด็ดขาด (เสมือนเป็นคนละเครื่อง) โดยคอมพิวเตอร์เสมือนที่สร้างขึ้นมานั้น จะมีสภาพแวดล้อมเหมือนกับคอมพิวเตอร์จริงๆ เครื่องหนึ่ง ซึ่งจะประกอบด้วย พื้นที่ดิสก์ที่ใช้ร่วมกับพื้นที่ดิสก์ของเครื่องนั้นๆ การ์ดแสดงผล การ์ดเน็ตเวิร์ก พื้นที่หน่วยความจำซึ่งจะแบ่งการทำงานมาจากหน่วยความจำของเครื่องนั้นๆ เช่นกัน ปัจจุบันโปรแกรม VMWare มีเวอร์ชันทั้งสำหรับการทำงานบน Windows และ Linux หากเครื่องท่านเป็น Windows ก็สามารถลองเวอร์ชันสำหรับ Windows ได้ โดยท่านสามารถเข้าไปโหลดโปรแกรมมาทดลองใช้งานได้ที่ URL http://www.vmware.com แล้วเลือกที่ download และทำการดาวน์โหลด VMWare Workstation ซึ่งจะมีเวลาให้ทดลองใช้งานอยู่ที่ 30 วัน คุณสมบัติขั้นต่ำของเครื่องคอมพิวเตอร์ - CPU ความเร็วไม่ต่ำกว่า 500 MHz - หน่วยความจำขั้นต่ำ 256 MB - การ์ดแสดงผลแบบ 16 บิต หรือ 32 บิต - พื้นที่ดิสก์ในการลงโปรแกรม 80 MB สำหรับเวอร์ชัน Linux และ 150 MB สำหรับ Windows - พื้นที่ดิสก์ขนาดไม่ต่ำกว่า 1 GB ต่อการลงระบบปฎิบัติการ 1 ระบบ สำหรับข้อจำกัดของการทำงานบน VMWare ก็คือ VMWare จะสร้างสภาพแวดล้อมของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งเป็นของตัวโปรแกรม VMWare เอง ดังนั้นการใช้ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์หลักและคอมพิวเตอร์เสมือนจะไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถที่จะติดตั้งไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์จริงๆ ให้กับคอมพิวเตอร์เสมือนที่ลงผ่านโปรแกรม VMWare ได้ ขอบอกไว้ก่อนนิดนึงสำหรับการใช้โปรแกรมนี้ว่า โปรแกรมจะแบ่งหน่วยความจำของเครื่องหลักไปใช้ด้วย หากหน่วยความจำของเครื่องมีขนาดไม่มากเพียงพอ ก็อาจทำให้เครื่องทำงานช้าลงมาก ดังนั้นหากมีหน่วยความจำเยอะหน่อย การทำงานของโปรแกรมนี้ก็จะดีขึ้นเยอะครับ... สุดท้ายนี้ก็อยากให้ทุกท่านได้ลองโหลดกันมาลองเล่นดู รับรองว่าทั้งมือใหม่มือเก่าจะทึ่งถึงความสามารถของโปรแกรมนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมอีกมากมายของโปแกรมนี้ สามารถอ่านได้ที่ http://www.vmware.com .../... หวังว่าท่านจะได้ไอเดียดีดีจากการใช้โปรแกรมนี้ไปไม่มากก็น้อย
URL ; http://learners.in.th/blog/os-pam/2197