วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003

ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2003 Enterprise Edition และการปรับแต่งใช้งาน
*****ช่วงนี้ Microsoft ได้ทำการเปิดตัวระบบปฏิบัติการออกมาใหม่ คือ Windows Server 2003 โดยเป็นระบบปฏิบัติการ ที่เน้นการทำงานเป็นเครื่อง Server เป็นหลัก และได้มีการเปิดให้ทำการดาวน์โหลด เวอร์ชั่นทดลอง ให้ไปทดลองใช้งานกันได้ฟรี ๆ 180 วัน (จนถึงประมาณกลางปีนี้) ดังนั้น ใครสนใจอยากจะทดลอง ระบบปฏิบัติการตัวนี้ ก็ลองมาดูการดาวน์โหลด และเทคนิค การปรับแต่งต่าง ๆ กันดู
*****ก่อนอื่น ก็เข้าไปทำการลงทะเบียน เพื่อจะได้ลิงค์สำหรับดาวน์โหลดและ CD-Key ที่จะใช้ในการติดตั้งมาก่อน โดยสามารถหาได้จาก https://microsoft.order-5.com/windowsserver2003evaldl/ เลือกที่ Microsoft Windows Server 2003, Enterprise Edition (32-bit)


*****โดยให้เข้าไปทำการลงทะเบียน กรอกรายละเอียดต่าง ๆ และอีเมล์ที่ใช้งานได้ เพื่อรอรับลิงค์สำหรับการดาวน์โหลด และจะมี CD-Key ที่ใช้ในการติดตั้งให้มาในนั้นด้วย รอสักครู่ก็จะได้รับเมล์กลับมาครับ
หลังจากที่ดาวน์โหลดมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะได้ไฟล์ x09-22207.iso ซึ่งเป็นไฟล์ Image ของซีดี ที่สามารถนำไปเขียนลงแผ่นซีดี (หมายความว่าคุณจะต้องมีเครื่องเขียนแผ่นซีดีด้วย) หรือถ้าหากใครไม่มี CD Writer แต่อยากทดลองใช้ จะเปิดด้วยโปรแกรม WinISO หรือ Deamon Tools ก็ได้ โดยที่ไฟล์ในแผ่นนั้น ก็คือแผ่นซีดีสำหรับติดตั้ง คล้าย ๆ กับ Windows XP ทุกอย่างครับ ต่อไปก็เพียงแค่ทำการติดตั้ง Windows Server 2003 ลงไป โดยขั้นตอนเหมือนกับ การติดตั้ง Windows XP ทุกประการ ใช้ CD-Key ที่ได้รับมาจากอีเมล์นั่นแหละครับ ทำการติดตั้งไปให้เรียบร้อยก่อน
****หน้าตาของการติดตั้ง Windows Server 2003 ครับ คล้าย ๆ กับการติดตั้ง Windows XP ทุกอย่าง
หลังจากที่ติดตั้งเรียบร้อย และบูตเครื่องมาใหม่ จะพบกับหน้าแรกของการ Logon ใช้งาน Windows ครับ

กด Ctrl + Alt + Del พร้อม ๆ กันเพื่อเข้าหน้าจอของการใส่ username และ password ครับ ใส่ระหัสผ่านที่กำหนดไว้ ในขั้นตอนการติดตั้งลงไป หรือถ้าไม่ได้กำหนดรหัสผ่าน ก็กด OK ได้เลย

ครั้งแรกที่เข้า Windows จะมาที่หน้าจอของการตั้งค่า Server ครับ กดปิดไปได้เลย หรือถ้าไม่ต้องการให้มีการแสดงหน้าจอนี้ ก็เลือกที่ปุ่มด้านล่างซ้ายมือได้



เมื่อเข้ามาหน้าจอของ Windows ครั้งแรก ก็จะคล้าย ๆ กับ Windows XP คือจะมีไอคอนของ Recycle Bin อันเดียว ลองมาทำการกำหนด ค่าการแสดงผลของหน้าจอ Desktop กันก่อน โดยกดเมาส์ขวาที่หน้าจอ เลือกที่ properties เพื่อปรับเปลี่ยนการแสดงผลครับ


เลือก Desktop Background เป็น Windows Server 2003 และที่ปุ่ม Customize Desktop ก็เลือกให้แสดง My Document, My Network Places, My Computer และ Internet Explorer ครับ
เอาหละครับ ได้แล้ว หน้าตาของ Windows Server 2003 ครับ สวยงามไม่น้อยทีเดียว

ก่อนอื่น มาลองสำรวจหน้าตาของเมนูต่าง ๆ กันก่อน ส่วนมากจะคล้ายกับ Windows XP มาก แต่พอทำการ Shutdown ก็จะพบกับหน้าต่างที่ ดูแปลกออกไป คือ ทุกครั้งก่อนที่จะทำการ Shutdown จะต้องบอกสาเหตุด้วยเสมอครับ จึงจะทำการ Shutdown ได้



ตอนนี้ก็เสร็จในส่วนของการติดตั้งปกติแล้วครับ ต่อไปก็เป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ เพื่อให้ Windows 2003 น่าใช้งานมากขึ้นอีกหน่อย
การปรับแต่ง Windows Server 2003 ให้ใช้งานได้คล่องตัวมากขึ้น
เอาหละครับ ต่อไปเป็นเทคนิคการปรับแต่งระบบ Windows Server 2003 ให้สามารถทำงานได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น อย่างที่ได้บอกไว้แล้ว ว่าระบบปฏิบัติการตัวนี้ เน้นการทำงานในรูปแบบของ Server มากกว่าที่จะเป็น Desktop ธรรมดาทั่วไป ดังนั้น หากต้องการให้เครื่องสามารถ ดูหนังฟังเพลง หรือเล่นเกมส์ได้เต็มที่ ก็ต้องมีการปรับแต่งกันนิดหน่อยก่อนครับ
การปรับแต่งระบบการแสดงผลของการ์ดจอ
โดยกดเมาส์ขวาที่หน้าจอ เลือก properties และ Setting >> Advanced >> Troubleshoot ปรับค่าของ Hardware acceleeator ให้อยู่ในตำแหน่งขวามือสุดหรือ Full ครับ แล้วกดที่ OK จนกลับไปหน้าจอ Desktop

จากนั้น ที่เมนู Start Menu ตรงช่อง Run พิมพ์คำว่า dxdiag และกด Enter และเลือกที่ป้าย Display จะเห็นว่า DirectDraw Acceleration จะเป็น Disable อยู่ ก็ทำการกดที่ปุ่ม Enable ให้เรียบร้อยซะก่อน เสร็จแล้วกดที่ปุ่ม Exit ครับ


การปรับแต่ง Performance ของระบบ
ต่อไป ก็ทำการปรับแต่ง Performance ของระบบ โดยกดเมาส์ขวาที่ไอคอน My Computer บนหน้าจอ เลือกที่ properties เลือกที่ Advance >> Performance Setting >> Advanced เปลี่ยนที่ช่อง Adjust for best processor of และ Adjust for best performance of ให้เป็นที่ Programs แทน Background service ครับ แล้วกดที่ OK


การปรับแต่งและเปิดการใช้งาน Service ต่าง ๆ
ต่อมา เป็นการเปิดใช้งานระบบ Themes โดยเข้าที่ Control Panel >> Administrative Tools >> Service >> Themes ดับเบิลคลิกเข้าไปที่ Themes และเปลี่ยนช่อง Startup Type ให้เป็น Automatic แล้วกด OK ครับ


ที่จุดเดียวกันนี้ ก็ต้องทำการเปิด Service ของระบบเสียงด้วย โดยเลือกช่อง Service ของ Windows Audio และดับเบิลคลิกเข้าไป ทำการเปลี่ยน Startup Type ให้เป็น Automatic ด้วยและกด OK



การปรับแต่งการใช้งานการ์ดเสียงให้มีประสิทธิภาพเต็มที่
ต่อไปก็ทำการปรับแต่งระบบเสียง โดยเข้าไปที่ Control Panel >> Sound and Audio Device ที่ด้านล่างใต้ช่อง Speaker Setting กดที่ปุ่ม Advanced เลือกที่ Performance และเปลี่ยนช่อง Hardware accelerator ให้ไปทางขวามือสุดครับแล้วกด OK


การปรับแต่งระบบความปลอดภัยของ Internet Explorer
เนื่องจาก IE6.0 ที่มีติดมากับ Windows Server 2003 จะมีการตั้งค่าของระบบความปลอดภัยไว้สูงสุด ซึ่งถ้าหากนำมาใช้เล่นเน็ต จะพบปัญหาต่าง ๆ ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเข้าเว็บไซต์ที่มีการใช้งาน cookies เช่น hotmail ดังนั้น ต้องทำการปรับ ระดับความปลอดภัยของ IE ลงมาให้น้องกว่าปกติสักระดับหนึ่ง โดยเปิด IE ขึ้นมา เลือกที่เมนู Tools >> Internet Options >> Security และเลื่อนแถบ Security Level ให้เป็น Medium





การปรับแต่ง เพื่อให้เข้า Windows ได้ทันทีโดยไม่ต้อง Logon ให้เสียเวลา
ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง จะต้องทำการกด CTRL+ ALT+DEL ก่อนเสมอ และใส่ username กับ password จึงจะสามารถ Logon เข้าใช้งาน Windows 2003 ได้ หากต้องการให้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถเข้าใช้งาน Windows ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการ Logon ก็สามารถทำได้ดังนี้
เริ่มต้นจากเอาหน้าจอการ Logon ออก โดยเข้าที่ Control Panel >> Administrative Tools >> Local Security Policy ทางขวามือเลือก Interactive Logon: Do not require CTRL + ALT + DEL ดับเบิลคลิกและเปลี่ยนเป็น Enable แล้วกด OK ครับ



จากนั้น ปรับแต่งให้ระบบทำการ Logon เข้า Windows ทันที โดยไม่ต้องใส่ Password เริ่มต้นจาก ที่ Start Menu >> Run พิมพ์คำว่า rundll32 netplwiz.dll,UsersRunDll (ระวังเรื่องการเว้นวรรคให้ดีนะครับ) และกด Enter จากนั้น เอาเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Users must enter a user name and password to use this computer ออกไปและกดที่ปุ่ม Apply ด้านล่าง
จะได้หน้าต่างของการใส่ Password ของ Administrator ให้ใส่ Password ของ Admin ที่ตั้งไว้ลงไป และกดปุ่ม OK



ทดลอง Restart เครื่องใหม่ ถ้าทำถูกต้อง ก็จะเข้ามาหน้าจอของ Windows ได้เลยโดยไม่ต้องใส่ password ครับ
การปรับแต่งหน้าต่างการ Shutdown ให้เป็นแบบปกติเหมือน Windows ตัวอื่น ๆ
บางที การที่จะต้อง Shutdown แล้วต้องคอยใส่สาเหตุของการ Shutdown ทุกครั้งที่น่าเบื่อเหมือนกัน คราวนี้มาดูขั้นตอนการ เปลี่ยนหน้าตาของเมนูการ Shutdown ให้เป็นแบบ Windows รุ่นเก่า ๆ ดีกว่า เริ่มต้นจากที่ Start >> Run พิมพ์คำว่า MMC และกด Enter จากนั้น ที่เมนู File เลือก Add/Remove Snap-in... กดที่ปุ่ม Add >> Group Policy Object Editor กดที่ปุ่ม Add ตามตัวอย่างภาพด้านล่างนี้


เมื่อกด Add แล้วจะมีช่อง Local Computer ก็กดที่ปุ่ม Finish และ Close และ OK จากนั้น ก็กลับมาเลือกที่ Local Computer Policy ทางซ้ายมือ เลือกที่ Computer Configuration >> Administrative Templates >> เลือกที่โฟลเดอร์ System และเลือกดับเบิลคลิกที่ Display Shutdown Event Tracker ทางขวามือจะได้ตามภาพด้านล่าง



เลือก Disabled และกดปุ่ม OK จากนั้นก็ออกจากหน้าต่างนี้ได้เลย จากนั้น ก็ทดลองทำการ Shutdown ดูครับ จะได้หน้าจอที่เปลี่ยนแปลง ไปแล้ว และไม่ต้องใส่สาเหตุของการ Shutdown อีกต่อไป


การปรับแต่งระบบ ให้ทำงานเร็วขึ้นในส่วนอื่น ๆ
ทำการปิดส่วนของ Error Report โดยเข้าที่ Control Panel >> System >> Advanced >> Error Reporting เลือกให้เป็น Disable error reporting แล้วกด OK


ทำการปิดส่วนของ Automatic Update โดยเข้าที่ช่อง Automatic Update และเอาเครื่องหมายถูกอกไปตามภาพด้านล่าง



ปิดระบบ Remote Control โดยเอาเครื่องหมายถูกออกไป ตามภาพด้านล่างนี้ เสร็จแล้วกด OK ครับ


เรียบร้อยครับ ก็ทดลองใช้งานกันดูเอง บางคนอาจจะชอบ บางคนอาจจะไม่ชอบก็ได้ ไม่ว่ากันอยู่แล้วครับ ผมก็ขอจบการแนะนำ Windows Server 2003 ไว้แค่นี้ครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่คิดจะใช้งาน Windows Server 2003
1. ต้องเข้าใจก่อนว่า Windows 2003 ชื่อก็บอกว่าเป็น Server ครับ อาจจะไม่เหมาะกับการใฃ้งานทั่วไปนัก
2. ข้อดีของ Windows 2003 คือความสเถียรที่มีค่อนข้างมาก แทบจะไม่ต้องบูตเครื่องใหม่ ระหว่างการใช้งานเลย3. หลายคนบอกว่า Windows 2003 ไม่เหมาะกับการเล่นเกมส์ แต่ผลการทดสอบ 3DMark ได้คะแนนเท่ากับ Windows XP
4. Driver ส่วนมากจะใช้ driver ของ 2K/XP ได้เลย เท่าที่ทดลอง จะมีอุปกรณ์บางชิ้นเท่านั้น ที่ต้องใช้ driver ของ 2003
5. โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ใช้ได้คือ Norton Antivirus Corporation Edition ส่วน McAfee, PC-Cillin ปกติใช้ไม่ได้
6. ไฟล์ที่ดาวน์โหลดจาก microsoft จะเป็นรุ่นทดลองใช้งาน เท่าที่ทราบยังไม่มีวิธีการทำให้ใช้งานได้ตลอดไปครับ7. ข้อมูลเพิ่มเติมจากข้อ
8. สำหรับคนที่คิดจะแคร็ก LH-Net-XP-Crack ใช้ไม่ได้และ Reset 5.02 ก็ไม่ได้ผล
URL

ระบบเครือข่ายคืออะไร

ระบบเครือข่ายคืออะไร
ระบบเครือข่ายหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า LAN ( Local Area Network ) นั้นก็คือ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถที่จะส่ง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ แล้วทำไมเราต้องใช้ระบบเครือข่ายละ ลองนึกดูว่าแต่ก่อนเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง การทำงานต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่ที่เครื่องเดียว แต่ในองค์กร หรือตามบ้านเองก็ตามแต่ หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองเพิ่มขึ้นมา ความต้องการในการ ที่จะต้องมีการนำข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง มายังอีกเครื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้น เป็นแน่ หาเป็นแรก ๆ ที่ยังไม่มีระบบเครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็คงใช้ Diskette ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง และนั่นแหละคือความยุ่งยาก น่าเบื่อหน่าย และความไม่สะดวกต่าง ๆ ในการทำงาน ลองนึกภาพดูแล้วกันว่าหากว่าต้องการ Copy File ที่มีขนาดใหญ่กว่าความจุของแผ่น Diskette เราก็ไม่สามารถที่จะทำการ Copy ได้ และนั่นแหละ เขาก็เลยต้องหาวิธีการต่าง ๆ มาทำให้เครื่องสองเครื่องหรือมากกว่า สามารถที่จะส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โดยการนำเอาสายสัญญาณมาทำการเชื่อม ต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถที่จะส่งสัญญาณหากันได้โดยผ่านระบบสายสัญญาณต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อ และรูปแบบในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อนี้ก็มีหลายรูปแบบ และบางคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับคำว่า Ethernet คืออะไร เพราะว่าเป็นคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ อธิบายนิดหนึ่งแล้วกัน คำว่า Ethernet เป็นคำเรียกที่ใช้เรียกระบบเครือข่าย ที่มีการส่งข้อมูลกันที่ความเร็ว 10Mbps ถ้าเป็นคำว่า Fast Ethernet ก็จะหมายถึงเป็นการส่งข้อมูล ของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps และถ้าเป็นคำว่า Gigabit Ethernet ก็จะหมายถึงความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps ซึ่งการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายในปัจจุบันนี้ใช้ โปรโตคอลที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) ปัจจุบันนี้ระบบเน็ตเวิร์ก หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์และองค์กร และสถาบันการศึกษาไปแล้ว การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ การส่ง E-mail ภายในองค์กรหรือ ระบบอินทราเน็ต การเชื่อมต่อระยะไกลด้วยระบบ Remote Access การประชุมผ่านวีดีโอ (Video Conference) สิ่งเหล่านี่ต้องใช้ระบบเน็ทเวิร์กเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเน็ทเวิร์กจะหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน ระบบเน็ทเวิร์กสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ
1. LAN ( Local Area Network )คือเครือข่ายเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดเล็กๆ หรือระยะทำการไม่ไกลนัก เช่นเครือข่ายภายในออฟฟิศหรือสำนักงาน มีระยะทำการใกล้ๆ และมักเชื่อมต่อกันด้วยความเร็วสูง เครือข่ายนี่ยังถูกนำมาใช้เป็นเครือชข่ายในบ้านอีกด้วย
2. MAN ( Metropolitan Area Network )ระบบเครือข่ายระดับเมือง เป็นเน็ทเวิร์กที่ต้องใช้โครงข่ายของการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อสื่อสาร กันในเมืองหรือในระดับ LAN to LAN
3. WAN (Wide Area Network )เป็นเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ หรือเครือข่ายคนละชนิดที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น คนละจังหวัด หรือคนละประเทศเข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเครือข่ายที่เรียกว่า "อินเตอร์เน็ท" นั้นเอง จะต้องใช้มีเดีย( Media ) ในการสื่อสารขององร์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up line/ คู่สายเช่า leased line/ISDN* )(* Integrated Service Digital Network สามารถส่งข้อมูลให้ทั้งข้อมูลเสียงและภาพ ในเวลาเดียวกัน)โครงสร้างของระบบเครือข่าย ภาษาเทคนิคเรียกว่า(Topology) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างเครืองคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งแบ่งออกตามหลักวิชาการตั้งแต่สมัยก่อนนั้น แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ
โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology) โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Topology) โครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology) โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Topology)
1. โครงสร้างแบบบัส (Bus Network) ลักษณะการเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นเดียว ลากต่อกันไป ทำให้โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนก็คือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครื่องรวนไปทั้งระบบ ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้ก็คือไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่างเช่น ฮับ/สวิทช์ ใช้สายเพียงเส้นเดียวก็เพียงพอแล้ว โครงสร้างแบบนี้จึงเหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก และในปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาอะไรเพิ่มเติมเลย ความเร็วก็เพียง 10 Mbps
2. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network) ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์นี้ ดูไปแล้วจะคล้ายๆ ดาวกระจาย คือจะมีอุปกรณ์เช่น ฮับ หรือสวิทช์ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบี้มีประโยชน์คือ ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ นอกจากนี้ถ้าหากเราเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปอีกในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันที การต่อแบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางคือ ฮับ/สวิทช์ ราคาได้ถูกลงอย่างมากแล้วในขณะที่ประสิทธิภาพก็ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันเป็นความเร็วขนาดกิกาบิตแล้ว
3. โครงสร้างแบบริง (Ring Network) ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นลักษณะวงแหวน การส่งข้อมูลจะเป็นแบบทิศทางเดียว ซึ่งถ้าส่งไปแล้วไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์เครื่องรับตามที่เครื่องต้นทางระบุมา ก็จะส่งไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงปลายทางคือตรงกับเครื่องใครก็จะรับ ไม่ส่งต่อ จุดอ่อนของระบบก็คล้ายๆแบบบัส ปัจจุบันผมยังเห็นใช้อยู่ในธนาคาร พวก Mainfram IBM AS/400 เป็นต้น
4. โครงสร้างแบบผสม (Hybird Network) ลักษณะสุดท้ายของของโครงสร้างแบบนี้ก็คือการนำเครือข่ายๆ ย่อยๆ ที่มีโครงข่ายตามแบบที่ผมกล่าวข้างต้นทั้ง สามแบบมารวมกัน หรือ เชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะแบบนี้ยังมีชื่อเรียกเฉพาะอีกด้วย เช่น โครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree หรือ Hierachical หรือ Mesh) ก็คือเครือข่ายผสมที่เกิดจากการนำเอาเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบบัสและแบบสตาร์มาผสมกัน หรือโครงสร้างแบบไร้รูปแบบ (Mesh) ซึ้งก็คือโครงสร้างแบบสตาร์ผสมกับบัสที่เชื่อมต่อกันแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน
5. โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Network) ที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับโครงข่ายข้างต้นนั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สายแต่เนื่องจากปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใหม่เกิดขึ้นมา ที่เรียกว่าเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless) จะใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล จึงทำให้แตกต่างกันออกไป และโครงสร้างแบบนี้ได้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ Peer-to-Peer และ Client Server นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือหรือ Cellular Network ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบโครงสร้างแบบไร้สายด้วย ลักษณะจะคล้ายๆเป็นรูปรังผึ้งเทคโนโลยีของระบบเครือข่าย เป็นรูปแบบการสื่อสาร(Ethernet) ในระบบเน็ทเวิร์กหรือที่เราเรียกว่า โปรโตคอล(Protocal) ในระบบแลน ซึ้งในเนื้อหานี่ผมจะกล่าวถึงความหมายของมาตราฐาน IEEE และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Ethernet และ Protocal รวมทั้งความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายเบื้องต้นโปรโคตอลมาตรฐานสำหรับเครือข่ายIEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) และ EIA ( Electronics-Industries association) เป็นหน่วยงานสากลที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของการออกแบบผลิตภัตณ์อิเล็กทรอนิกส์ กำหนดรูปแบบการสงสัญญาณ ฯ จะมีโปรโตคอลอยู่ 3 แบบ ด้วยกันคือ ARCnet
Ethernet
Token Ring ARCnet
เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท Data Point ประมาณปี 1977 ( Attached ARCnet Resource Computing Network) ใช้หลัการออกแบบ "Transmission Permission" ในการส่งข้อมูล จำมีการกำหนดตำแน่งแอดเดรสของเครื่องเวิร์กสเตชั่นลงไปด้วย สามารถจะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus และ Star มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเพียง 2.5 Mbps (2.5 เมกกะบิตต่อวินาที) ทำให้ไม่เป็นที่นิยมมากนักEthernet
เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยปริษัท Xerox ประมาณปี 1970 ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD ( Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) ในการส่งแมสเซจไปบนสายสัญญาณของระบบเครือข่าย ถ้าหากมีการส่งออกมาพร้อมกันย่อมจะเกิดการชนกันของข้อมูล (Collision) ของสัญญาณทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที CSMA/CS จะใช้หลักการวิธีของ Listen vefore-Transmiting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าในขณะนั้นมีการ รับ - ส่ง ข้องข้อมูลในเน็ทเวิร์กนั้นหรือไม่ ถ้ามีการชนกันของข้อมูล ต้องรอจนกว่าสายเคเบิ้ลนั้นจะว่างแล้วจึงทำการส่งข้อมูลนั้นออกไปบนสายเคเบิ้ล ระบบโปรโตคอล Ethernet นั้นเป็นมาตาฐานของ IEEE 802.3 สามารถจะเชื่อมต่อได้ทั้ง Bus และ Star โดยใช้สายโครแอ๊ก (Coaxial) หรือสาทองแดงคู่ตีเกลียว (UTP : unsheild Twisted Pair ) ที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10 Mbps ในปัจจุบันได้พัฒนาความเร็วเป็น 100 Mbps มีความยาวสูงสุดระหว่างเรื่องเวิร์กสเตชั่น 2.0 กิโลเมตร ในการส่งผ่านสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปบนสายเคเบิ้ลจะใช้แบบ 0-1 ในการส่งผ่านไปบนสายเคเบิ้ล Ethernet มีรูปแบบการต่อสายเคเบิ้ล 3 แบบด้วยกันคือ 10 Bese T เป็นรูปแบบในการต่อสายที่นิยมมาก "10" หมายถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูล (10 Mbps) "Base" หมวยถึง ลักษณะการส่งข้อมูลแบบ Base band ซึ่งเป็นดิจิตอล และ T หมายถึง Twisted Pair (สายทองแดงคู่ตีเกลียว) ปัจจุบันจะใช้สาย UTP ( Unshield Twisted Pair ) ซึ่งจะเป็นสายที่มีขนาดเล็กๆ ถายใน 8 เส้นตีเกลียวคู่กัน 4 คู่ 10 Base 2 เป็นรูปแบบในการต่อสายโดยใช้สาย Coaxial มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายมีความยาว ไม่เกิน 180 เมตร 10 Base 5 เป็นรูปแบบในการเชื่อมต่อโดยใช้สาย Coaxial ขนาดใหญ่ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว เรียกว่าสาย Thick Coaxial การเชื่อมต่อในแต่ล่ะจุดจะมี Transceiver เป็นตัวเชื่อมต่อ และใช้สาย AUI เชื่อมระหว่างเครื่องเวิร์กสเตชั้น สายมีความยาวไม่เกิน 500 เมตร Token Ring เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท IBM ใช้มาตรฐานของ IEEE 802.5 มีระบบการติดต่อแบบ Token-Passing สามารถจะเชื่อมต่อได้แบบ Ring และ Star มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 4/16 Mbps นอกจากนี้ยังสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้ากับฮาร์ดแวรืและซอร์ฟแวร์ของเครื่องเมนแฟรมได้โดยตรง จากปัญหาที่เกิดการชนกันของข้อมูล (Conllision) ทำให้ IBM หันมาใช้สัญญาณ Token เพื่อการติดต่อระหว่าโหนด นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีในได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากกว่าการทำงานในระบบแลนจากที่กล่าวมาในข้างต้นก็คือ ไฟเบอร์ออฟติก และ เอทีเอ็ม FDDI (Fiber Distributed Data Interface) FDDI (Fiber Distributed Data Interface) เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้รับความนิยมไปใช้งานสูงเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยนำไปใช้ในลักาณะการเชื่อมต่อเป็น Backbone ( ใช้เป็นสายสัญญาณหลักเชื่อมระหว่างเครือข่าย LAN) เทคโนโลยีนี้สามารถให้ความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลสุงถึง 1000 Mbps จึงมักใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง ATM (Asynchronous Transfer Mode) ATM (Asynchronous Transfer Mode) เป็นเทคโนโลยีเน็ทเวิร์กความเร็วสูงที่พัฒนาโดย (CCITT Consultative Committee for Internation Telegraph and Telophone) ประมาณปลายปี 1991 จะใช้เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ในการทำงานเหมือนกับ FDDI แต่ ATM ใช้หลักการสวิตชิงในการทำงานมีแบนวิธสูง ถูกออกแบบมาสำหรับงานด้สนสารสนเทศในการขนส่งช้อมูลและเสียงที่ขนาดเล็กว่าเซลล์ข้อมูลจะมีส่วนหัวของเซลล์ คือ 5 ไบต์ หรือ 40 บิต ส่วนข้อมูลที่จะส่งอีก 48 ไปต์รวมเป็น 53 ไบต์ เท่านั้น เซลล์จะมีอยู่สองกลุ่มด้วยกันคือ UNI (User Network Interface) ใช้ในการ เชื่อมต่อกับผู้ใช้ และ NNI (Network Node Interface) ใช้ในการเชื่อมต่อกับโหนด ATM สามารถจะใช้งานได้ทั้งบนระบบ LAN และ WAN มีอัตราความเร็วขนาด 25 - 155 Mbps หรือมากกว่านี้ Hub หรือ Concentrator ที่ใช้งานบนระบบ ATM จึงเป็นสวิตท์ที่มีความเร็วสูงเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้แบบ Real time ได้ดี เทคโนโลยี ATM เทคโนโลยี ATM จึงเป็นคู่แข่งของ FDDI ในระบบเน็ทเวิร์ความเร็วสูง
URL
http://www.geocities.com/seeis_224/Internet3.htm

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

IP address คือ

IP ADDRESS คืออะไร
*****อินเตอร์เน็ตคอมพิวเตอร์ต่ออยู่เป็นล้านเครื่อง หลายท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่าการที่เราส่งอีเมล์ไปยังปลายทางจะไปได้อย่างไร หรือเมื่อเราต้องการ LOGIN เข้าเครื่องอื่นที่อยู่บนเครือข่าย ระบบเครือข่ายรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นอยู่ที่ใด รหัสหมายเลข IP ประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องหมายเลขรหัสนี้เรียกว่า IP number ตัวเลข IP แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกันตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์กรนำไปปฎิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องทำการขอหมายเลขประจำเครือข่าย เพื่อมากำหนดส่วนขยายต่อสำหรับเครื่องเอาเอง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ SUN ที่ทำหน้าที่เป็นเกทเวย์สำหรับเมล์ของเครือข่ายนนทรี ชื่อ nontri มีหมายเลข IP เป็นตัวเลขประจำเครื่องนี้มีขนาด 32 บิต แบ่งเป็น 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต แต่เมื่อเรียกรหัสหมายเลข IP นี้ ใช้ตัวเลขฐานสิบแบ่งเป็น 4 ตัว โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวดังนั้นจากตัวเลข 32 บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น 158.108.2.71ตัวเลขไบนารี 32 หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยากแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกตัอง แต่เมื่อกำหนดเลข 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์มีขนาด 0-255 เมื่อดูแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น เครือข่ายก็มีหลายเลขประจำด้วย การแบ่งเลขหมาย IP ออกเป็น 4 ฟิลด์นั้น ความจริงแล้วตัวเลขที่ประกอบอยู่นั้นเป็นตัวเลขของเครือข่ายประกอบอยู่ด้วย เช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 เครือข่ายของบริษัท IBM ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลก ใช้รหัส 9 ส่วนของบริษัท AT+ T ใช้เลขรหัส IP เป็น 12 ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 192.150.249 เป็นต้น เนื่องจากขนาดของเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดการแบ่งคลาสของเครือข่ายออกเป็นสามคลาสคือ คลาส A. คลาส B. คลาส C. คลาส A. กำหนดตัวเลขเพียงฟิลด์แรกฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องอยู่ในเครือข่าย คลาส B. กำหนดตัวเลขของฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่องสองฟิลด์ คลาส C. กำหนดตัวเลขสามฟิลด์จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว เมื่อพิจารณาตัวเลข IP ใด ๆ หากตัวเลขขึ้นต้นระหว่าง 1-126 ก็จะเป็นคลาส A. ถ้าขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B. และขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C. (ดูตามตารางที่ 1) การให้หมายเลขเครือข่ายนี้ทางองค์กรบริหารเครือข่ายเป็นผู้กำหนดให้เป็นที่น่าสังเกตุว่า การกำหนดเลขจะกำหนดให้เรียงกันไป ใครขอมาก่อนก็จะให้เลขน้อยเรียงตามลำดับเวลาที่จอและเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะ หมายเลข IP คงจะเต็มพิกัดครบทุกคราสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่าก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว






ตารางที่ 1 การแบ่งคลาสของเครือข่ายกับการกำหนดหมายเลข


*****ใช้ชื่อดีกว่าเพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่นแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่น nontri.ku.ac.th ซึ่งแทนหมายเลข 158.108.162 หรือเครื่อง maspar ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบขนานก็ใช้ชื่อ maspar.cpe.ku.ac.th โดยใช้แทนรหัส 158.108.162 ดังนั้นเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีการตั้งชื่อเครื่องเพื่อให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อมีการแบ่งเป็นลำดับขั้น ตัวที่อยู่ขวามือสุด คือชื่อย่อประเทศ เช่น th หมายถึงประเทศไทย เรามีชื่อย่ออยู่มากดังตารางที่ 3

ตารางที่ 2 เป็นรหัสเครือขายที่ต่ออยู่ในประเทศไทย

*****นอกจากนี้มีการแบ่งโซน เพื่อใช้ในการจัดกลุ่มบริหารเครือข่าย การแบ่งกลุ่มโซนแสดงดังตารางที่ 4 สำหรับชื่อลำดับต่อมาเป็นชื่อโดเมนของเครือข่ายหรือชื่อเครือข่ายนั้นเองซึ่งเครือข่ายนี้จะต้องแจ้งลงทะเบียนไว้ โดเมนและการบริหารโดเมนเพื่อให้ระบบการเชื่อมโยงเป็นไปอย่างมีระบบ จึงมีการกำหนดชื่อเครือข่ายเช่น เครือข่าย 158.108 มีชื่อเครือข่าย ku. ac.th และจัดเป็นหนึ่งโดเมนซึ่งมีเครือข่ายย่อยภายในได้อีก เช่น 158.108.1 เป็นเครือข่ายของศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง 158.108.2 เป็นเครือข่ายของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 158.108.3 เป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้นแต่ละเครือข่ายจะมีชื่อกำกับอีกก็ได้ เช่น เป็น cpc.du.ac.th, cpe.ku.ac.th sci.ku.ac.th เป็นต้น ในการบริหารโดเมนนั้น ภายในระบบจะมี DNS-Domain Name System เป็นฐานข้อมูลและระบบการจัดการชื่อในเครือข่ายให้เป็นระบบ เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อมีเอกสารจะส่งมาจากต่างประเทศมีการจ่าหน้าเป็น cc2.cpe.ku.ac.th ส่วนของ th จะถูกแกะก่อน โดยส่วนที่อยู่ที่ uunet ที่สหรัฐอเมริกาจะบอกเส้นทางส่งต่อมาที่ประเทศไทย หลังจากนั้นทางประเทศไทยในส่วน ac จะดำเนินการแกะที่จุฬาลงกรณ์บอกเส้นทางให้วิ่งมาที่เกษตรศาสตร์ ที่เกษตรศาสตร์จะดูแลโดเมนคือเครือข่ายย่อยและระบบเครื่องภายในเครือข่ายเอง


ตารางที่ 3 ชื่อย่อประเทศที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต

*****การบริหาร DNS นี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเมื่อมีการต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายเครื่องที่ต่อเข้าระบบจะต้องบอกว่า ฐานข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูลเองอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นหากมีการย้ายเครื่องไปยังเครือข่ายอื่น ก็สามารถปรับปรุงได้เองอย่างอัตโนมัติเช่นกัน


ตารางที่ 4 การแบ่งกลุ่มโซน

*****การอ้างอิงยูสเซอร์ในการติดต่อกับยูสเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ใด บนเครือข่ายจะใช้ชื่อยูสเซอร์ของผู้นั้นตามด้วยชื่อเครื่อง แต่คั่นกันด้วยเครื่องหมาย @ เช่นถ้าต้องการติดต่อกับยูสเซอร์ ชื่อ ipcctv บนเครื่อง gmail.com ก็ใช้แอดเดรสดังนี้ ipcctv@gmail.com ดังนั้นในเครื่องหนึ่งอาจมียูสเซอร์ได้เป็นร้อยเป็นพัน ระบบยูสเซอร์บนเครือข่ายจึงเป็นระบบที่ค่อนข้างชัดเจน ผู้ใช้อยู่ที่ใดถ้า login เข้ามาในยูสเซอร์ของตนก็สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ระบบการตั้งชื่อยูสเซอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน ในกรณีที่ผู้ใช้อยู่บนเครื่องเดียวกัน
URL

http://www.vecthai.com/forums/index.php?topic=316.msg429