IEEE 802.3 Bus topology
มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่า “มีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ” ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps และใช้สายส่งชนิดต่างๆดังนี้
10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบ BNC ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว Tการทำงาน ตัวรับส่งสัญญาณจะอยู่บนอินเตอร์เฟสบอร์ดของแต่ละโหนด ใช้รับส่งสัญญาณที่โหนดของตนเองซึ่งต่างกับ 10Base5ที่อาจมีการใช้ตัวรับส่งสัญญาณร่วมกันระหว่างหลายสถาน10Base5 หรือ Thick Ethernet เป็นสายสีเหลืองและมีเครื่องหมายกาทุก 2.5 เมตร แสดงจุดที่จะเจาะเพื่อเกาะTransciever (ตัวรับส่งสัญญาณของแลนการ์ด)การทำงาน ทรานซีฟเวอร์หรือตัวรับส่งสัญญาณจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจสอบสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสาย หากตรวจพบว่ามีการชนกันของสัญญาณในสาย ตัวรับส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณพิเศษลงในสายเพื่อให้ตัวรับส่งสัญญาณรู้ด้วยว่ามีการชนกันของสัญญาณ สายของตัวรับส่งสัญญาณซึ่งยาวได้ถึง 50 เมตร จะเป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลตลอดจนสัญญาณควบคุมส่งไปมาระหว่างตัวส่งสัญญาณกับอินเตอร์เฟสบอร์ด สำหรับอินเตอร์เฟสบอร์ดจะมีชิปควบคุมซึ่งจะรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องของเฟรม พร้อมกับคำนวณผลรวมตรวจสอบแล้วส่งออกไป ส่วนการรับข้อมูล ชิปจะตรวจหาขอบเขตของเฟรมและคำนวณผลรวมตรวจสอบเพื่อตรวจความถูกต้องของข้อมูล อินเตอร์เฟต สบอร์ดบางตัวจะมับัฟเฟอร์สำหรับเก็บเฟรมข้อมูลเข้าออก และอาจมี DMA ( Direct Memory Access)ในการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างบอร์ดกับคอมพิวเตอร์ สายทั้งสอง มีปัญหาที่สำคัญคือ หากสายเคเบิลขาดหรือหัวต่อหลวมจะทำให้สัญญาณไฟฟ้าภายในสะท้อนอยู่ในสาย ทำให้การทำงานของระบบเสียหาย เราสามารถตรวจสอบคุณภาพของาสายได้โดยการส่งสัญญาณออกไปแล้ววัดระยะเวลาที่ส่งไปกับสะท้อนกลับมาถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าสายนั้นเสียหายแล้ว จึงมีการคิดค้นสายแบบใหม่คือ10Base-T ใช้สายคู่ตีเกลียวแบบเดียวกับสายโทรศัพท์ สายจากโหนดจะต่อเข้ากับ Hub ทำให้สามารถเพิ่มหรือลดโหนดในขณะทำงานอยู่ได้ หากสายขาดก็สามารถตรวจหาได้ง่าย ปกติจะส่งข้อมูลผ่านสายยาวถึงฮับได้ 100 เมตร แต่หากใช้สายคู่ตีเกลียวแบบ category 5 ส่งได้ถึง 150 เมตร 10Base-F ใช้เส้นใยแก้วนำแสงจึงทำให้ราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะหัวต่อและตัวหยุดสัญญาณ(Terminator) Terminator ใช้ติดที่ปลายสายเคเบิลเพื่อดูดสัญญาณไม่ให้ออกไปกระทบกับอากาศเพราะจะเกิดการสะท้อนกลับมารบกวนสัญญาณที่ส่งอยู่ ทนทานต่อคลื่นรบกวน ใช้เป็นแบ็กโบนเชื่อมระหว่างตึกหรือระหว่างฮับที่อยู่ห่างกัน ในกรณีที่ต้องการจะต่อแลนให้กว้างออกไปอีก สัญญาณที่ส่งจะเพี้ยนหรือเบาลงเนื่องจากระยะทางที่ไกลจึงต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ตัวทวนสัญญาณ (repeater)ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณที่ส่งมาแล้วทำการสร้างสัญญาณเดิมขึ้นมาใหม่แล้วทำการส่งต่อไป แต่เครื่อง 2 เครื่องต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 2.5 กิโลเมตร มีรีพีทเตอร์ไม่เกิน 4 ตัว ในเส้นทางเดียวกัน
การเข้ารหัสสัญญาณไฟฟ้าของแลน 802.3
เพื่อให้ฝั่งรับสามารถรับข้อมูล 1 หรือ 0 ได้ถูกต้องโดยไม่ต้องใช้สัญญาณจังหวะนาฬิกาจากภายนอกเข้ามาช่วย แลนแบบ 802.3 ใช้วิธีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ แมนเชสเตอร์ (Manchester Encoding) วิธีนี้ช่วงเวลาของแต่ละบิตถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเท่าๆกัน ในการแทนค่า 1 นั้นระดับไฟฟ้าของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงจากสูงมาต่ำ และการแทนค่า 0 ระดับไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากต่ำไปสูง ระดับไฟฟ้าสูงมีค่า 0.85 โวลต์ และระดับไฟฟ้าต่ำมีค่า –0.85 โวลต์ เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าระดับไฟฟ้าที่ตรงกลางของแต่ละบิต จึงทำให้ฝั่งรับสามารถทำงานสอดคล้องกับฝั่งส่งได้โดยง่าย
และยังมีการเข้ารหัสแบบดิฟเฟอเรนเชียลแมนเชสเตอร์(Differential ManchesterEncoding) ซึ่งมีการเปลี่ยนเฟสของสัญญาณทุกครั้งเมื่อบิตข้อมูลมีค่าเป็น 0 ส่งผลให้สัญญาณข้อมูลทนต่อคลื่นรบกวนได้มากว่าเดิม แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากกว่า
Format for CSMA/CD Bus Frames
Preamble มีบิต 10101010 เพื่อให้สัญญาณนาฬิกาของฝั่งรับสอดคล้องกับฝั่งส่งข้อมูล นั่นคือฝ่ายรับจะสามารถสร้างสัญญาณนาฬิกาเพื่อรับข้อมูลจากรูปแบบ 10101010...101010ของไบต์เริ่มต้นได้
Start of frame มีบิต 10101011 บอกจุดเริ่มต้นของเฟรม
Destination and Source Address ในแอดเดรสปลายทางจะมีบิตสูงสุดใช้บ่งบอกการทำงาน คือ ถ้ามีค่าเป็น 0 ใช้บอกว่าเป็นแอดเดรสของผู้รับทั่วไป ถ้าเป็น 0 ใช้ระบุแอดเดรสเฉพาะกลุ่มเดียวกัน เป็นการส่งแบบ multicast (ผู้รับหลายคนรับข้อมูลชุดเดียวกันจากผู้ส่งคนเดียวกันได้) แต่ถ้าแอดเดรสปลายทางเป็น 1 หมด หมายถึงส่งข้อมูลให้ทุกโหนดในเครือข่ายนั้นๆ
Length of data บอกขนาดของข้อมูล Data ข้อมูลจริงที่ส่ง
Pad ใช้ถูกใช้เมื่อข้อมูลที่ส่งมีขนาดน้อยกว่า 46 ไบต์ ฟิลด์นี้จะถูกขยายให้พอดีกับขนาดที่ขาดไปจาก 64 ไบต์ เพื่อมิให้เฟรมสั้นเกินไป เพราะว่าถ้าเกิดการชนกัน มันจะตัดเฟรมที่กำลังส่งอยู่จึงทำให้เฟรมนั้นเสียไปและผู้ส่งก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเกิดการชน คิดว่าข้อมูลส่งถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงมีการกำหนดความยาวของเฟรมที่ดีต้องไม่ต่ำกว่า 64 ไบต์ นับจากที่อยู่ผู้รับเป็นต้นไป เพื่อแยกเฟรมดีกับเฟรมที่เสียหาย และยังป้องกันไม่ให้โหนดจบการส่งข้อมูลก่อนที่บิตแรกของเฟรมจะไปถึงปลายสาย ทำให้ฝ่ายส่งทราบว่าเกิดการชนก่อนที่จะส่งเฟรมจบ แล้วตัดเฟรมได้ถูกต้อง หรือให้ทราบว่าข้อมูลส่งครบโดยไม่มีการชน
Checksum ฟิลด์รวมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้เทคนิคของ CRC (Cyclic Redundancy Check)
CSMA/CD
carrier sense ก่อนส่งจะฟังสายดูก่อนว่าว่างหรือไม่ ถ้าว่างก็ส่งได้เลย ถ้าไม่ว่างก็สุ่มเวลาแล้วส่งใหม่collision detection ถ้าสายถูกใช้อยู่ จะรอฟังจนกว่าสายจะว่างจึงจะส่งใหม่ ถ้าสายว่างแล้วส่งพร้อมกันจะทำให้เกิดการชนกัน สามารถตรวจพบได้จากระดับสัญญาณไฟฟ้าที่สูงขึ้น แผงอะแดปเตอร์จะส่ง jam signal ไปให้ทุกโหนดทราบว่ามีการชน เพื่อหยุดการส่งข้อมูลและสุ่มเวลาที่จะส่งใหม่อีกครั้ง ถ้าไม่มีการชน จะส่งข้อมูลแบบ Broadcast ส่งไปทุกเครื่องในเครื่อข่าย เครื่องจะอ่าน header ของไฟล์ที่เป็นของตนเองเท่านั้น
หลังจากการชนครั้งแรกแต่ละโหนดจะสร้างตัวเลขสุ่มที่มีค่า 0 หรือ 1(เลขสุ่ม 21 ค่า) โหนดจะส่งออกไปในช่วงเวลาที่สุ่มได้หากสุ่มได้ค่าเดียวกันจะเกิดการชนครั้งที่ 2 โหนดจะสร้างเลขสุ่มที่มีค่า 0,1,2 หรือ 3(เลขสุ่ม 22 ค่า) แล้วส่งใหม่อีกครั้ง หากชนกันถึง 16 ครั้ง อินเตอร์เฟสของบอร์ดจะรายงานไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขในระดับสูง เรียกวิธีนี้ว่าBinary Exponential Backoff แต่เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในแลนมีจำนวนมากขึ้นจะเกิดการชนกันมากขึ้น วิธีแก้ คือ เพิ่มอัตราการส่งเป็น 100 Mbpsหรือ ใช้อุปกรณ์สวิสต์ฮับ (switching hub) ซึ่งประกอบไปด้วยการ์ดเสียบจำนวน 4 –32 แผ่นแต่และแผ่นมีหัวต่อ 1 – 8 ตัว แต่ละหัวสามารถต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ส่งข้อมูลแบบ 10Base-T การ์ดเสียบเหล่านี้จะส่งข้อมูลผ่าน สายสื่อสารหลักความเร็วสูง(high-speed backbone)ที่มีอัตราส่ง 1 Gbps เมื่อสถานีส่งเฟรมข้อมูลเข้ามายังสวิสต์ การ์ดเสียบจะตรวจสอบว่าเฟรมข้อมูลนั้นต้องการส่งให้สถานีที่เชื่อมโยงเข้ากับการ์ดเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ เฟรมข้อมูลจะถูกสำเนาส่งไปยังสถานีนั้น ถ้าไม่ใช่ เฟรมจะถูกส่งผ่านแบ็กเพลนไปยังการ์ดปลายทางเพื่อส่งข้อมูลแก่ถานีปลายทาง แต่ถ้าสองสถานีบนการ์ดเดียวกันส่งข้อมูลเข้าด้วยกันมีวิธีแก้ 2 แบบ คือ
1.หัวต่อของการ์ดเดียวกันจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นแลน 802.3 วงหนึ่ง ซึ่งมีการควบคุมการส่งข้อมูลของสถานีบนการ์ดนั้นเป็นแบบโปรโตคอล CSMA/CD ดังนั้นบนการ์ดหนึ่งจะส่งข้อมูลได้สถานีเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง
2.แต่ละพอร์ตข้อมูลเข้าของการ์ดจะมีบัฟเฟอร์รับและส่งข้อมูล ซึ่งเฟรมข้อมูลที่เข้ามาจะถูกเก็บไว้ในบัฟเฟอร์ ดังนั้นทุกพอร์ตของการ์ดจะสามารถรับข้อมูลเข้ามาและส่งออกในเวลาเดียวกัน เป็นการทำงานแบบฟูลดูเพล็กซ์(Full Duplex) สวิสต์ฮับแบบนี้เมื่อมีเฟรมข้อมูลเข้ามาแล้ว จะตวจสอบว่าต้องการส่งให้พอร์ตอื่นในการ์ดเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะส่งข้อมูลไปปลายทางโดยตรง ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บลงในคนละบัฟเฟอร์กับข้อมูลที่รับมาจากสถานีของพอร์ตนั้น ถ้าไม่ใช่ จะส่งข้อมูลผ่านแบล็กเพลนไปยังการ์ดปลายทาง เนื่องจากแต่ละพอร์ตมีบัฟเฟอร์จึงไม่มีการชนกันของเฟรมข้อมูล เมื่อหลายสถานีบนการ์ดเดียวกันส่งข้อมูลพร้อมกัน
###URL เนื้อหา###
http://www.geocities.com/seeis_224/Internet12.htm
http://rbu.rbru.ac.th/~bangkom/mnlan.htm
******ข้อสอบ 7 ข้อ******
1. Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ?
ก. ARCnet
ข. Token Ring
ค. Ethernet
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป
2. มาตรฐาน ARCnet มีความเร็วการรับส่งข้อมูลกี่ Mbps ?
ก. 16 Mbps
ข. 10 Mbps
ค. 2.5 Mbps
ง. 100 Mbps
ตอบ ค. 2.5 Mbps มาตรฐาน ARCnetจะมีความเร็วการรับส่งข้อมูล2.5 Mbps ชนิดของสายสัญญาณ Coaxial , UTPและจะมีรูปแบบของ Topology เป็น Star , Bus
3. เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้กี่รูปแบบ ?
ก. 8 รูปแบบ
ข. 6 รูปแบบ
ค. 4 รูปแบบ
ง. 2 รูปแบบ
ตอบ ง. 2 รูปแบบ เพราะเพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Server-based networking)
2. เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to - Peer networking)
4.เครือข่าย Server-Based มีข้อดีอย่างไร ?
ก. มีประสิทธิภาพสูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicated Server
ข. การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า
ค. สามารถกระจายโปรแกรมประยุกต์ไปไว้ยังเครื่องต่างๆ เพื่อลดการจราจรในเครือข่ายได้
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
เครือข่าย Server-Based มีข้อดีคือ
-มีประสิทธิภาพสูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicated Server-การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า
5. ระบบปฏิบัติการเครือข่ายใดที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ก. ISO
ข. IEEE
ค. NOS
ง. OSI
ตอบ ค. NOS คือ Network Operating System (NOS) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง
6. ระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษใด?
ก. 1970
ข. 1980
ค. 1960
ง. 1950
ตอบ ก. 1970
IEEE 802.3 และ Ethernet ระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ถูกพัฒนา ขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970
7. NOS หมายถึง
ก. Network Operating Server
ข. Network Operating System
ค. Networking Operating Server
ง. Networking Operating System
ตอบ ข. Network Operating System (NOS) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โทโปโลยี(Topology)
รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
***โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
***2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
***3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
***4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
***5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน
ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
****1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
****2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client
ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
- การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
- การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
- การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
- เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้
URL เนื้อหา
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ข้อสอบ 5 ข้อ
1. เพื่อเป็นการลดข้อเสีย และเพิ่มข้อดีของโทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใด
ก. STAR
ข. BUS
ค. RING
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
2. จงบอกข้อดีของโทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ก. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
ข. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
ค. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) มีข้อดีดังต่อไปนี้คือ
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
3. ประเภทของระบบเครือข่าย Lan แบ่งตามลักษณะการทำงานได้กี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท
ตอบ ก. 2 ประเภท คือ
1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ
4. โทโปโลยีรูปแบบใดที่สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ก. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ข. โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
ค. โทโปโลยีแบบ MESH
ง. โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
ตอบ ค.โทโปโลยีแบบ MESH เพราะเป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
5.จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีกี่ข้อ
ก. 3 ข้อ
ข. 4 ข้อ
ค. 5 ข้อ
ง. 6 ข้อ
ตอบ ค. 5 ข้อ
1. การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
2. การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
3. การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
4. เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
5. มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
URL
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
***โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
***2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
***3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
***4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
***5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน
ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
****1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
****2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client
ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
- การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
- การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
- การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
- เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้
URL เนื้อหา
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ข้อสอบ 5 ข้อ
1. เพื่อเป็นการลดข้อเสีย และเพิ่มข้อดีของโทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใด
ก. STAR
ข. BUS
ค. RING
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
2. จงบอกข้อดีของโทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ก. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
ข. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
ค. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) มีข้อดีดังต่อไปนี้คือ
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
3. ประเภทของระบบเครือข่าย Lan แบ่งตามลักษณะการทำงานได้กี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท
ตอบ ก. 2 ประเภท คือ
1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ
4. โทโปโลยีรูปแบบใดที่สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ก. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ข. โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
ค. โทโปโลยีแบบ MESH
ง. โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
ตอบ ค.โทโปโลยีแบบ MESH เพราะเป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
5.จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีกี่ข้อ
ก. 3 ข้อ
ข. 4 ข้อ
ค. 5 ข้อ
ง. 6 ข้อ
ตอบ ค. 5 ข้อ
1. การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
2. การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
3. การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
4. เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
5. มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
URL
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ระบบการสื่อสารข้อมูล
URL เนื้อหา
http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htmhttp://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson1_6.php
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12964.html
การสื่อสารข้อมูลได้มีการศึกษาและพัฒนาวิธีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานนับตั้งแต่มนุษย์ถ้ำได้คิดค้นวิธีการวาดภาพบนผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของเผ่าพันธุ์ตนเอง ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือได้พัฒนาวิธีการส่งข่าวสารโดยการใช้สัญญาณควันเพื่อเตือนภัยร้ายแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นแก่พวกพ้อง แม้วิธีการจะแตกต่างกันออกไปตามเผ่าพันธุ์และระยะเวลา แต่ก็มีสิ่งที่เหมือนกันคือ จะต้องใช้อุปกรณ์หรือวิธีการใด ๆ ทางกายภาพสำหรับส่งข่าวสาร และวิธีการแปลงรูปแบบของข่าวสารให้สามารถส่งผ่านอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ได้ให้กลายเป็นกลุ่มควันในลักษณะต่าง ๆ กัน วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในยุคใหม่ทำให้โลก ซึ่งเคยเป็นพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลดูเหมือนว่ามีขนาดเล็กลงเนื่องจากความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล แต่เดิมทีต้องรออ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับวันรุ่งขึ้นเพื่อทราบข่าวการจลาจลที่เกิดขึ้นในวันที่ผ่านมา สมัยนี้สามารถทราบข่าวสารที่เกิดขึ้นทุกหนแห่งในโลกนี้ในทันทีที่ข่าวสารนั้นเกิดขึ้นผ่านทางสื่อโทรทัศน์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นความต้องการพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้อีกต่อไป1.1 ความหมายของการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
ก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับระบบการสื่อสารข้อมูล ควรจะทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “การสื่อสารข้อมูล” ให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างให้พิจารณาดังต่อไปนี้ สุริยัน ศรีสวัสดิ์กุล (2540 ,5) ได้กล่าวว่า การสื่อสารเป็นการส่งข้อความหรือข้อมูลใด ๆ จากจุด ๆ หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายของการส่งนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบใดก็ตามจะต้องประกอบด้วยแหล่งกำเนิดซึ่งเป็นแหล่งสร้างหรือให้ข้อมูลข่าวสาร จากนั้นจะต้องส่งผ่านเข้าไปยัง ตัวกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหนะนำเอาข้อมูลหรือข่าวสารนั้นไปยังผู้รับ พิพัฒน์ หิรัณย์จณิชชากร (2542 ,7) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูลเป็นแขนงหนึ่งของระบบ การสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารเป็นการส่งข้อมูล (Data) หรือข่าวสาร (Information) จากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่ง ข่าวสารที่ถูกส่งออกไปอาจจะเป็นเสียง ข้อความจะอยู่ในลักษณะของข้อมูลฐานสองที่ถูกเข้ารหัสเป็นรหัสแอสกี หรือรหัสที่เหมาะสมแก่การถ่ายทอด โดยผ่านวงจรสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นระบบการส่งทางคลื่นไฟฟ้า หรือคลื่นแสงก็ได้ ฉัตรชัย สุมามาลย์ (2544 ,17) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูลโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์จากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งโดยการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งหรือการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับแหล่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งข้อมูลไปมาถึงกันได้ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในต่างท้องที่กันได้ปกติ การสื่อสารข้อมูลนั้นคอมพิวเตอร์มักจะอยู่ใกล้กัน เช่น อยู่ในห้องเดียวกัน ในอาคาร เดียวกัน หรือการติดต่อกันโดยใช้สายเคเบิล เป็นต้น สัลยุทธ์ สว่างวรรณ (2544,15) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือนำส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านสื่อชนิดใด ๆ ก็ได้ ข้อมูลอาจเป็นข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่ต้องการถ่ายทอด และการสื่อสารเกิดขึ้นระหว่างอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป จากคำจำกัดความดังกล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่าการสื่อสารข้อมูลหมายถึงการถ่ายทอดข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร การถ่ายทอดข้อมูลจะเกิดประสิทธิภาพ สูงสุดก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปแบบที่เหมาะแก่การถ่ายทอด ซึ่งจะเป็นลักษณะที่เหมาะสมแก่ผู้ส่งและผู้รับข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว การสื่อสารจึงเป็นการเจาะถึงการส่งข่าวสารที่ถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้เพื่อจัดการนำส่งผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารทั้งในรูปแบบดิจิทัลหรือแบบแอนะล็อก (Analog) ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทอดข้อมูลจะต้องสามารถ ตรวจสอบและแก้ไขได้
1.2 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ระบบการสื่อสารข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ซึ่งให้ข่าวสาร สารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลโดยตรง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของตนเข้ากับระบบการสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปให้ยังปลายทาง ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการไหลของข้อมูลและบุคลากร ผู้ดำเนินงานจะช่วยส่งเสริมในการปฏิบัติการและจัดการในส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2544, 22) 1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น
ภาพที่ 1.2 แสดงตัวอย่างการสื่อสารด้วยอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 8
1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น 1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ 1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ 1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง 1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง 1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น 1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้
ภาพที่ 1. 3 แสดงองค์ประกอบการสื่อสารข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 7
ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว
ข้อสอบ 10 ข้อ
1. การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์แบบโทโปโลยีแบบบัส (BUS)มีข้อดีอย่างไร
ก.อาจเกิดข้อผิดพลาดน้อย
ข.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก
ค.การส่งจะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง
ง.การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย
ตอบ ข.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก.5 ประเภท
ข.4 ประเภทค.3 ประเภท
ง.2 ประเภท
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1. สัญญาณอะนาลอก
2. สัญญาณดิจิตอล
3.การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 6 ประเภท
ง. 8 ประเภท
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.การสื่อสารแบบขนาน (Parallel Transimission) การส่งแบบขนานนั้นจะทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต เช่น ส่ง 10011110 ทั้ง 8 บิต ออกไปพร้อมกันโดยผ่านสายส่งข้อมูลที่มี 8 เส้น
2.การสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Tranmission) การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป เช่นถ้าข้อมูลคือ 10011110 เลข 0 ทางขวามือสุดเป็นบิตที่ 1 เรียงลำดับไปจนครบ 8 บิต โดยการส่งนั้นจะใช้สายส่งเส้นเดียวเท่านั้น
4.การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบกี่องค์ประกอบ
ก. 5 ประกอบ
ข. 6 ประกอบ
ค. 7 ประกอบ
ง. 8 ประกอบ
ตอบ การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. ระบบคอมพิวเตอร์
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ
3. ซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4. เกณฑ์วิธี(Protocol) คือข้อกำหนดหรือระเบียบวิธีสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้นๆ
5. สื่อนำข้อมูล(Media) เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
5.องค์กร Corporation for Open System (COS) จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. 2527
ข. พ.ศ. 2528
ค. พ.ศ. 2529
ง. พ.ศ. 2530
ตอบ ค. พ.ศ. 2529 องค์กร Corporation for Open System (COS) เพื่อทำให้มาตรฐานสากล ISO เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น องค์กร COS จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 สมาชิกขององค์กรเป็นตัวแทนจากบริษัทและองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม มีหน้าที่ในการแนะนำให้คนทั่วไปรู้จักและนำมาตรฐาน ISO ไปใช้งาน
6. ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของ DLE ได้ถูกต้อง
ก. ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
ข. เริ่มส่งข้อมูลใหม่หลังจากหยุดการทำงานของ DC3
ค. เกิดมีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลให้ยกเลิกได้
ง. หยุดการส่งข้อมูลชั่วคราว
ตอบ ก. ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
DLE หมายถึง Data Link Escape ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
7. เครือข่ายสวิตชิ่งแบ่งตามลักษณะของข้อมูลได้กี่แบบ
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6
ตอบ ก. 3 แบบ 1. แบบเซอร์กิตสวิตช์
2. แบบแมสเสดสวิตช์
3. แบบเพ็กเก็ตสวิตช์8. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่ออะไร
ก. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ทั้ง ทุกลำดับชั้น และ ลำดับชั้นเดียว
ข. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ใน ลำดับชั้นเดียว
ค. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้น
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้นบนแบบจำลอง OSI
9. การกำหนดชั้นฟิสิคอลแอดเดรด อยู่ในลำดับชั้นใด
ชั้นเน็ตเวิร์ก
ชั้นทรานสปอร์ต
ชั้นฟิสิคัล
ชั้นดาตาลิ้งก์
ตอบ ง. เนื่องจากว่าเฟรมจะมีการส่งไปทั่วบนเครือข่ายจึงจำเป็นต้องรู้ว่าเฟรมนี้ถูกส่งมาจากที่ใดและให้ส่งไปที่ใดดังนั้นลำดับชั้นดาตาลิ้งก์จะมาบวกเฮดเดอร์
10. การสื่อสารข้อมูลสามารถใช้ได้เป็นกี่แบบ
ก. 1 แบบ
ข. 2 แบบ
ค. 3 แบบ
ง. 4 แบบ
ตอบ ค. 3 แบบ การสื่อสารข้อมูลสามารถใช้ได้ 3 แบบ
1. Intranet : ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร
2.Extranet : สามารถใช้ติดต่อภายนอกองค์กรได้แต่ใช้ได้เพียงไม่กี่เครื่องสามารถรับข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
3.Internert : สามารถใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htmhttp://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson1_6.php
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12964.html
การสื่อสารข้อมูลได้มีการศึกษาและพัฒนาวิธีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานนับตั้งแต่มนุษย์ถ้ำได้คิดค้นวิธีการวาดภาพบนผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของเผ่าพันธุ์ตนเอง ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือได้พัฒนาวิธีการส่งข่าวสารโดยการใช้สัญญาณควันเพื่อเตือนภัยร้ายแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นแก่พวกพ้อง แม้วิธีการจะแตกต่างกันออกไปตามเผ่าพันธุ์และระยะเวลา แต่ก็มีสิ่งที่เหมือนกันคือ จะต้องใช้อุปกรณ์หรือวิธีการใด ๆ ทางกายภาพสำหรับส่งข่าวสาร และวิธีการแปลงรูปแบบของข่าวสารให้สามารถส่งผ่านอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ได้ให้กลายเป็นกลุ่มควันในลักษณะต่าง ๆ กัน วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในยุคใหม่ทำให้โลก ซึ่งเคยเป็นพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลดูเหมือนว่ามีขนาดเล็กลงเนื่องจากความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล แต่เดิมทีต้องรออ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับวันรุ่งขึ้นเพื่อทราบข่าวการจลาจลที่เกิดขึ้นในวันที่ผ่านมา สมัยนี้สามารถทราบข่าวสารที่เกิดขึ้นทุกหนแห่งในโลกนี้ในทันทีที่ข่าวสารนั้นเกิดขึ้นผ่านทางสื่อโทรทัศน์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นความต้องการพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้อีกต่อไป1.1 ความหมายของการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
ก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับระบบการสื่อสารข้อมูล ควรจะทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “การสื่อสารข้อมูล” ให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างให้พิจารณาดังต่อไปนี้ สุริยัน ศรีสวัสดิ์กุล (2540 ,5) ได้กล่าวว่า การสื่อสารเป็นการส่งข้อความหรือข้อมูลใด ๆ จากจุด ๆ หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายของการส่งนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบใดก็ตามจะต้องประกอบด้วยแหล่งกำเนิดซึ่งเป็นแหล่งสร้างหรือให้ข้อมูลข่าวสาร จากนั้นจะต้องส่งผ่านเข้าไปยัง ตัวกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหนะนำเอาข้อมูลหรือข่าวสารนั้นไปยังผู้รับ พิพัฒน์ หิรัณย์จณิชชากร (2542 ,7) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูลเป็นแขนงหนึ่งของระบบ การสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารเป็นการส่งข้อมูล (Data) หรือข่าวสาร (Information) จากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่ง ข่าวสารที่ถูกส่งออกไปอาจจะเป็นเสียง ข้อความจะอยู่ในลักษณะของข้อมูลฐานสองที่ถูกเข้ารหัสเป็นรหัสแอสกี หรือรหัสที่เหมาะสมแก่การถ่ายทอด โดยผ่านวงจรสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นระบบการส่งทางคลื่นไฟฟ้า หรือคลื่นแสงก็ได้ ฉัตรชัย สุมามาลย์ (2544 ,17) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูลโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์จากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งโดยการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งหรือการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับแหล่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งข้อมูลไปมาถึงกันได้ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในต่างท้องที่กันได้ปกติ การสื่อสารข้อมูลนั้นคอมพิวเตอร์มักจะอยู่ใกล้กัน เช่น อยู่ในห้องเดียวกัน ในอาคาร เดียวกัน หรือการติดต่อกันโดยใช้สายเคเบิล เป็นต้น สัลยุทธ์ สว่างวรรณ (2544,15) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือนำส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านสื่อชนิดใด ๆ ก็ได้ ข้อมูลอาจเป็นข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่ต้องการถ่ายทอด และการสื่อสารเกิดขึ้นระหว่างอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป จากคำจำกัดความดังกล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่าการสื่อสารข้อมูลหมายถึงการถ่ายทอดข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร การถ่ายทอดข้อมูลจะเกิดประสิทธิภาพ สูงสุดก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปแบบที่เหมาะแก่การถ่ายทอด ซึ่งจะเป็นลักษณะที่เหมาะสมแก่ผู้ส่งและผู้รับข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว การสื่อสารจึงเป็นการเจาะถึงการส่งข่าวสารที่ถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้เพื่อจัดการนำส่งผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารทั้งในรูปแบบดิจิทัลหรือแบบแอนะล็อก (Analog) ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทอดข้อมูลจะต้องสามารถ ตรวจสอบและแก้ไขได้
1.2 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ระบบการสื่อสารข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ซึ่งให้ข่าวสาร สารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลโดยตรง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของตนเข้ากับระบบการสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปให้ยังปลายทาง ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการไหลของข้อมูลและบุคลากร ผู้ดำเนินงานจะช่วยส่งเสริมในการปฏิบัติการและจัดการในส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2544, 22) 1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น
ภาพที่ 1.2 แสดงตัวอย่างการสื่อสารด้วยอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 8
1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น 1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ 1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ 1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง 1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง 1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น 1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้
ภาพที่ 1. 3 แสดงองค์ประกอบการสื่อสารข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 7
ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว
ข้อสอบ 10 ข้อ
1. การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์แบบโทโปโลยีแบบบัส (BUS)มีข้อดีอย่างไร
ก.อาจเกิดข้อผิดพลาดน้อย
ข.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก
ค.การส่งจะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง
ง.การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย
ตอบ ข.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก.5 ประเภท
ข.4 ประเภทค.3 ประเภท
ง.2 ประเภท
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1. สัญญาณอะนาลอก
2. สัญญาณดิจิตอล
3.การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 6 ประเภท
ง. 8 ประเภท
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.การสื่อสารแบบขนาน (Parallel Transimission) การส่งแบบขนานนั้นจะทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต เช่น ส่ง 10011110 ทั้ง 8 บิต ออกไปพร้อมกันโดยผ่านสายส่งข้อมูลที่มี 8 เส้น
2.การสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Tranmission) การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป เช่นถ้าข้อมูลคือ 10011110 เลข 0 ทางขวามือสุดเป็นบิตที่ 1 เรียงลำดับไปจนครบ 8 บิต โดยการส่งนั้นจะใช้สายส่งเส้นเดียวเท่านั้น
4.การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบกี่องค์ประกอบ
ก. 5 ประกอบ
ข. 6 ประกอบ
ค. 7 ประกอบ
ง. 8 ประกอบ
ตอบ การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. ระบบคอมพิวเตอร์
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ
3. ซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4. เกณฑ์วิธี(Protocol) คือข้อกำหนดหรือระเบียบวิธีสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้นๆ
5. สื่อนำข้อมูล(Media) เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
5.องค์กร Corporation for Open System (COS) จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. 2527
ข. พ.ศ. 2528
ค. พ.ศ. 2529
ง. พ.ศ. 2530
ตอบ ค. พ.ศ. 2529 องค์กร Corporation for Open System (COS) เพื่อทำให้มาตรฐานสากล ISO เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น องค์กร COS จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 สมาชิกขององค์กรเป็นตัวแทนจากบริษัทและองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม มีหน้าที่ในการแนะนำให้คนทั่วไปรู้จักและนำมาตรฐาน ISO ไปใช้งาน
6. ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของ DLE ได้ถูกต้อง
ก. ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
ข. เริ่มส่งข้อมูลใหม่หลังจากหยุดการทำงานของ DC3
ค. เกิดมีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลให้ยกเลิกได้
ง. หยุดการส่งข้อมูลชั่วคราว
ตอบ ก. ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
DLE หมายถึง Data Link Escape ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
7. เครือข่ายสวิตชิ่งแบ่งตามลักษณะของข้อมูลได้กี่แบบ
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6
ตอบ ก. 3 แบบ 1. แบบเซอร์กิตสวิตช์
2. แบบแมสเสดสวิตช์
3. แบบเพ็กเก็ตสวิตช์8. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่ออะไร
ก. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ทั้ง ทุกลำดับชั้น และ ลำดับชั้นเดียว
ข. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ใน ลำดับชั้นเดียว
ค. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้น
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้นบนแบบจำลอง OSI
9. การกำหนดชั้นฟิสิคอลแอดเดรด อยู่ในลำดับชั้นใด
ชั้นเน็ตเวิร์ก
ชั้นทรานสปอร์ต
ชั้นฟิสิคัล
ชั้นดาตาลิ้งก์
ตอบ ง. เนื่องจากว่าเฟรมจะมีการส่งไปทั่วบนเครือข่ายจึงจำเป็นต้องรู้ว่าเฟรมนี้ถูกส่งมาจากที่ใดและให้ส่งไปที่ใดดังนั้นลำดับชั้นดาตาลิ้งก์จะมาบวกเฮดเดอร์
10. การสื่อสารข้อมูลสามารถใช้ได้เป็นกี่แบบ
ก. 1 แบบ
ข. 2 แบบ
ค. 3 แบบ
ง. 4 แบบ
ตอบ ค. 3 แบบ การสื่อสารข้อมูลสามารถใช้ได้ 3 แบบ
1. Intranet : ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร
2.Extranet : สามารถใช้ติดต่อภายนอกองค์กรได้แต่ใช้ได้เพียงไม่กี่เครื่องสามารถรับข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
3.Internert : สามารถใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)