*****อินเตอร์เน็ตคอมพิวเตอร์ต่ออยู่เป็นล้านเครื่อง หลายท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่าการที่เราส่งอีเมล์ไปยังปลายทางจะไปได้อย่างไร หรือเมื่อเราต้องการ LOGIN เข้าเครื่องอื่นที่อยู่บนเครือข่าย ระบบเครือข่ายรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นอยู่ที่ใด รหัสหมายเลข IP ประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องหมายเลขรหัสนี้เรียกว่า IP number ตัวเลข IP แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกันตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์กรนำไปปฎิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องทำการขอหมายเลขประจำเครือข่าย เพื่อมากำหนดส่วนขยายต่อสำหรับเครื่องเอาเอง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ SUN ที่ทำหน้าที่เป็นเกทเวย์สำหรับเมล์ของเครือข่ายนนทรี ชื่อ nontri มีหมายเลข IP เป็นตัวเลขประจำเครื่องนี้มีขนาด 32 บิต แบ่งเป็น 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต แต่เมื่อเรียกรหัสหมายเลข IP นี้ ใช้ตัวเลขฐานสิบแบ่งเป็น 4 ตัว โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวดังนั้นจากตัวเลข 32 บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น 158.108.2.71ตัวเลขไบนารี 32 หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยากแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกตัอง แต่เมื่อกำหนดเลข 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์มีขนาด 0-255 เมื่อดูแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น เครือข่ายก็มีหลายเลขประจำด้วย การแบ่งเลขหมาย IP ออกเป็น 4 ฟิลด์นั้น ความจริงแล้วตัวเลขที่ประกอบอยู่นั้นเป็นตัวเลขของเครือข่ายประกอบอยู่ด้วย เช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 เครือข่ายของบริษัท IBM ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลก ใช้รหัส 9 ส่วนของบริษัท AT+ T ใช้เลขรหัส IP เป็น 12 ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 192.150.249 เป็นต้น เนื่องจากขนาดของเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดการแบ่งคลาสของเครือข่ายออกเป็นสามคลาสคือ คลาส A. คลาส B. คลาส C. คลาส A. กำหนดตัวเลขเพียงฟิลด์แรกฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องอยู่ในเครือข่าย คลาส B. กำหนดตัวเลขของฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่องสองฟิลด์ คลาส C. กำหนดตัวเลขสามฟิลด์จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว เมื่อพิจารณาตัวเลข IP ใด ๆ หากตัวเลขขึ้นต้นระหว่าง 1-126 ก็จะเป็นคลาส A. ถ้าขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B. และขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C. (ดูตามตารางที่ 1) การให้หมายเลขเครือข่ายนี้ทางองค์กรบริหารเครือข่ายเป็นผู้กำหนดให้เป็นที่น่าสังเกตุว่า การกำหนดเลขจะกำหนดให้เรียงกันไป ใครขอมาก่อนก็จะให้เลขน้อยเรียงตามลำดับเวลาที่จอและเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะ หมายเลข IP คงจะเต็มพิกัดครบทุกคราสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่าก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว
*****ใช้ชื่อดีกว่าเพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่นแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่น nontri.ku.ac.th ซึ่งแทนหมายเลข 158.108.162 หรือเครื่อง maspar ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบขนานก็ใช้ชื่อ maspar.cpe.ku.ac.th โดยใช้แทนรหัส 158.108.162 ดังนั้นเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีการตั้งชื่อเครื่องเพื่อให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อมีการแบ่งเป็นลำดับขั้น ตัวที่อยู่ขวามือสุด คือชื่อย่อประเทศ เช่น th หมายถึงประเทศไทย เรามีชื่อย่ออยู่มากดังตารางที่ 3
ตารางที่ 2 เป็นรหัสเครือขายที่ต่ออยู่ในประเทศไทย
*****นอกจากนี้มีการแบ่งโซน เพื่อใช้ในการจัดกลุ่มบริหารเครือข่าย การแบ่งกลุ่มโซนแสดงดังตารางที่ 4 สำหรับชื่อลำดับต่อมาเป็นชื่อโดเมนของเครือข่ายหรือชื่อเครือข่ายนั้นเองซึ่งเครือข่ายนี้จะต้องแจ้งลงทะเบียนไว้ โดเมนและการบริหารโดเมนเพื่อให้ระบบการเชื่อมโยงเป็นไปอย่างมีระบบ จึงมีการกำหนดชื่อเครือข่ายเช่น เครือข่าย 158.108 มีชื่อเครือข่าย ku. ac.th และจัดเป็นหนึ่งโดเมนซึ่งมีเครือข่ายย่อยภายในได้อีก เช่น 158.108.1 เป็นเครือข่ายของศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง 158.108.2 เป็นเครือข่ายของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 158.108.3 เป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้นแต่ละเครือข่ายจะมีชื่อกำกับอีกก็ได้ เช่น เป็น cpc.du.ac.th, cpe.ku.ac.th sci.ku.ac.th เป็นต้น ในการบริหารโดเมนนั้น ภายในระบบจะมี DNS-Domain Name System เป็นฐานข้อมูลและระบบการจัดการชื่อในเครือข่ายให้เป็นระบบ เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อมีเอกสารจะส่งมาจากต่างประเทศมีการจ่าหน้าเป็น cc2.cpe.ku.ac.th ส่วนของ th จะถูกแกะก่อน โดยส่วนที่อยู่ที่ uunet ที่สหรัฐอเมริกาจะบอกเส้นทางส่งต่อมาที่ประเทศไทย หลังจากนั้นทางประเทศไทยในส่วน ac จะดำเนินการแกะที่จุฬาลงกรณ์บอกเส้นทางให้วิ่งมาที่เกษตรศาสตร์ ที่เกษตรศาสตร์จะดูแลโดเมนคือเครือข่ายย่อยและระบบเครื่องภายในเครือข่ายเอง
ตารางที่ 3 ชื่อย่อประเทศที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต
*****การบริหาร DNS นี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเมื่อมีการต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายเครื่องที่ต่อเข้าระบบจะต้องบอกว่า ฐานข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูลเองอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นหากมีการย้ายเครื่องไปยังเครือข่ายอื่น ก็สามารถปรับปรุงได้เองอย่างอัตโนมัติเช่นกัน
ตารางที่ 4 การแบ่งกลุ่มโซน
*****การอ้างอิงยูสเซอร์ในการติดต่อกับยูสเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ใด บนเครือข่ายจะใช้ชื่อยูสเซอร์ของผู้นั้นตามด้วยชื่อเครื่อง แต่คั่นกันด้วยเครื่องหมาย @ เช่นถ้าต้องการติดต่อกับยูสเซอร์ ชื่อ ipcctv บนเครื่อง gmail.com ก็ใช้แอดเดรสดังนี้ ipcctv@gmail.com ดังนั้นในเครื่องหนึ่งอาจมียูสเซอร์ได้เป็นร้อยเป็นพัน ระบบยูสเซอร์บนเครือข่ายจึงเป็นระบบที่ค่อนข้างชัดเจน ผู้ใช้อยู่ที่ใดถ้า login เข้ามาในยูสเซอร์ของตนก็สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ระบบการตั้งชื่อยูสเซอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน ในกรณีที่ผู้ใช้อยู่บนเครื่องเดียวกัน
URL
http://www.vecthai.com/forums/index.php?topic=316.msg429
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น