วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

Routing Protocol

Routing Protocol

คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับNetwork Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย

การทำงานของ Router
Router เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย (network)
Router หน้าที่หลักของคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย

การเชื่อมต่อของ Router
การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายผ่านทาง WAN หรือโครงข่ายสาธารณะ เช่น ISDN หรือ การเช่าคู่สาย 64K ขึ้นไป เราเรียกว่า WAN Router
การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายชนิดติดตั้งบนแลน เราเรียกว่า Local Router บางครั้งจะถูกเรียกว่า Internal Router

การจัดวางตำแหน่งของ Router
การจัดวาง Router ที่เชื่อมต่อกันบน WAN คือการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ 80/20 %
80% คือ ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อสารกันได้ภายในเครือข่ายเดียวกัน
20% คือ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่จะข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายได้
ในกรณีที่มีเครือข่าย หลายเครือข่ายติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และต้องการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างกัน ท่านจะต้องพิจารณาใช้ Switching Hub แบบ Layer 3 หรือ พิจารณาเพื่อติดตั้ง Router ในรูปแบบของเซิร์ฟเวอร์นั่นคือการติดตั้งการ์ดแลนหลายชุดบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง
ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ไม่เกิน 200 เมตร ท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTP

อัตราความเร็วที่ต้องการ
อัตราความเร็ว หมายถึง ความเร็วของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายในระดับของข้อมูลข่าวสาร โดยคิดอัตราเมกกะบิตต่อวินาที หรือที่เรียกว่าค่า Throughput
ถ้าปริมาณข้อมูลข่าวสารมีขนาดเล็กหรือปานกลางวิ่งที่ความเร็วไม่เกิน 100 Mbps และมีราคาถูก ท่านควรเลือกใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์
ถ้าข้อมูลข่าวสารวิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายมีมาก (มากในระดับ 80% ขึ้นไป) เลือกใช้ความเร็วระดับ Gigabit โดยติดตั้งการ์ดแลนทั้งสองบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมต่อเข้ากับ Switches Hub ที่ติดตั้ง Gigabit Modules ทั้ง 2 ด้านบนเครือข่าย

การเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่าย
การเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ควรเลือกใช้ Layer 3 Switching Hub แทน เนื่องจากอัตราความเร็ว รวมทั้งปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ข้ามไปมาหลายเครือข่ายสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ประเภทของสื่อสัญญาณที่ใช้
สื่อสัญญาณที่ใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงข้อจำกัดของการเชื่อมต่อเครือข่าย
ใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์และใช้การ์ดแลนแบบ 100Base-FX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic แบบ 2 Core (2 Strand) ขนาด 62.5/125 ความยาวคลื่นขนาด 850 nm ท่านสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทาง 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน
Layer 3 Switches Hub และเป็นระบบ 100Base-FX มีระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ต่างก็ใช้ Switching Hub มาเชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร แต่ถ้าใช้ระบบ 1000Base-FX เชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลถึง 6-10 กิโลเมตร

ปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย
Router ที่ทำจาก Server เหมาะสำหรับ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
Router ที่ทำจาก Switches แบบ Layer 3 เหมาะสำหรับ การสื่อสารข้อมูลที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย 80% อีก 20% เป็นการสื่อสารภายใน

Layer 3 Switches
Router ที่ทำงานบน WAN ตัว Layer 3 Switches Hub ให้การสนับสนุนโปรโตคอลเลือกเส้นทาง มากมายหลายแบบ
ให้การสนับสนุนโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ RIP Version 1,2 รวมทั้ง OSPF (Open Short Path First)
เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่มีเครือข่ายมาก กระจายไปตามจุดหรืออาคารต่างๆขององค์กร
มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Collapse back Bone

Routing Protocol : โปรโตคอลเลือกเส้นทาง
หัวใจหลักของ Router คือการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ในการคำนวณและจัดหาเส้นทาง ที่ดีที่สุด ที่เร็วที่สุด ไปสู่ปลายทางในรูปแบบของ Software
โปรโตคอลเลือกเส้นทาง แบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ใหญ่ ได้ 2 แบบ ดังนี้
ระดับขั้น Interior Domain
- Distance Vector ซึ่งเป็น Routing Protocol ที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางเป็นตัวกำหนด
- Link State ซึ่งอาศัยสถานะ การเชื่อมต่อเป็นตัวกำหนด
ระดับขั้น Exterior
- เป็น โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ที่นำมาใช้เพื่อเชื่อมกลุ่มของ Router จำนวนมากหลายๆกลุ่มเข้าด้วยกัน ได้แก่ BGP

Routing Information Protocol (RIP)
เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Distance Vector ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายขนาด เล็กไปจนถึงขนาดกลาง
เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางมาตรฐานที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายใด
มี RIP Version 1 ที่ได้รับมาตรฐาน RFC 1058
เป็นโปรโตคอลที่เรียบง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดตั้ง

คุณลักษณะการทำงานของ RIP
RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop
RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที
การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่
การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น

การทำงานขั้นพื้นฐานของ RIP Version 1
มีการ Boot Router ขึ้น เส้นทางที่ Router จะต้องให้ความสนใจเป็นลำดับแรกได้แก่ เส้นทางที่เชื่อมต่อกับ เครือข่ายปลายทางโดยตรง
ทำการ แพร่กระจายข่าวสารเกี่ยวกับเครือข่ายที่มันรู้จักไปทั่วเครือข่ายทุกเครือข่าย ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง
RIP จะรับฟังการแพร่ข่าวสาร โดยข่าวสารที่ใช้แพร่กระจายไปทั่ว (Broadcast) นี้ เป็นข่าวสารเพื่อการปรับปรุงเส้นทาง
การรับฟังการแพร่ข่าวสารไปทั่วของ Router เพื่อนบ้าน จะทำให้ Router ที่กำลังรับฟังอยู่ สามารถล่วงรู้เส้นทาง ไปสู่เครือข่าย อื่นๆ ที่ตนเองไม่รู้มาก่อน
RIP ใช้ค่า Metric ประเภท Hop โดยอาศัยค่าที่แสดงจำนวน Hop เป็นหลักเกณฑ์ จำนวนของ Hop ที่ Router นับได้ต้องไม่เกิน 15 Router ตลอดเส้นทางที่จะเดินทางผ่าน
Router ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน จะถือว่า ต่างก็เป็น Hop หนึ่งในตารางเส้นทางของตนเอง


การใช้ค่า Metric ของ RIP
จำนวนของ Hop ที่ใช้เดินทางไปสู่ปลายทาง หมายถึง จำนวนของ Router ที่ Packet จะต้องเดินทางผ่าน ไปสู่เครือข่ายปลายทาง
เส้นทางเดินที่ดีที่สุด ไม่ได้หมายความว่า Router จะได้เส้นทางที่ดีที่สุด เสมอไป
ตัวอย่าง เช่น เพื่อให้ Router A เดินทางไปสู่ Router B ตัว RIP จะเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อความเร็ว 56K แทนที่จะเลือก เส้นทางความเร็วสูงกว่า อย่างเช่น 1.5 Mbps เนื่องจากว่า Router A เห็นว่า การเดินทางไปสู่ B โดยผ่าน Router C เป็นการใช้ 2 Hop โดยไม่สนใจว่า การเดินทางอ้อมผ่านทาง Router C จะมีความรวดเร็วกว่า

การเกิดปัญหา Routing Loop
Triggered Update หมายถึงการปรับปรุงตารางเส้นทางทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวหรือถึงเวลาการปรับปรุงเสียก่อน)
การเกิดปัญหา Routing Loop
RIP คือการที่ Router ไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจภาพรวมของเครือข่ายทั้งหมด
เป็นเรื่องของ Packet ที่วิ่งกลับไปกลับมาระหว่าง Router 2 ตัวหรือมากกว่า โดยไม่สามารถหลุดออกไปจากวงจรสะท้อนกลับไปกลับมานี้ได้ บางครั้งฝรั่งเรียกลักษณะนี้ว่า Count to Infinity

URL


Routing Protocol - วิกิพีเดีย
Routing Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router ...
th.wikipedia.org/wiki/Routing_Protocol - แคช - ใกล้เคียง

PPT] Routing Protocal
รูปแบบไฟล์: Microsoft Powerpoint - ดูในรูปแบบ HTML
BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อ Router และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมนDomain ...
wiki.nectec.or.th/.../SompongWankham_Deliverabe?...Routing... - ใกล้เคียง

ไม่มีความคิดเห็น: