วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ISDN คืออะไร

ISDN คืออะไร
Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน
การใช้งาน นอกเหนือจากการนำมาใช้ Internet ด้วยความเร็วสูงแล้ว เรายังสามารถนำ ISDN มาใช้ในลักษณะของ Video Conferrent หมายถึง การประชุมระหว่างประเทศ หรือจังหวัด โดยสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน

บริการของ ISDN แบ่งได้ 2 ประเภท

Individual เหมาะสำหรับตามบ้าน หรือองค์กรที่ไม่มีระบบ LAN หรือ หมายถึงผู้ใช้งานคนเดียว

Corporate หรือ LAN เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน internet ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน


ขั้นตอนการขอใช้บริการ ISDN
ขอติดตั้งบริการ ISDN จากองค์การโทรศัพท์
ซื้ออุปกรณ์ ISDN modem หรือ ISDN Router
สมัครสมาชิกกับ บริษัทที่ให้บริการ internet หรือ ISP
เพิ่มเติม
กรณีใช้งาน ISDN ร่วมกับโทรศัพท์ ความเร็วจะถูกลดลงเหลือ 64 kbps
ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน ครั้งละ 3 บาท
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การหมุนโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา

ISDN (Integrated Service Digital Network) คือบริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิตอลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ เสียง และข้อมูล ด้วยความเร็ว 128 Kbps ขึ้นไป ข้อดีของการใช้ ISDN คือความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารของผู้ใช้บริการไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ (Conversion) ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน (Noise) ก็จะลดลงด้วย ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้องไว้ใจได้สูงกว่าแบบเดิม

ลักษณะการใช้งานเหมือนกับการหมุนโทรศัพท์ธรรมดาปกติ คือเสียครั้งละ 3 บาท ก่อนจะใช้คุณต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่เบอร์ของ ISP ที่เป็น ISDN ด้วยจึงจะได้ความเร็วของ ISDN ตามที่กำหนด

รูปแบบการใช้บริการ ISDN มี 2 แบบ คือ

1. แบบ BRI (Basic Rate Interface) หรือทางองค์การโทรศัพท์เขาเรียกว่า BAI (Basic Access Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการด้วยคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาจากชุมสาย ISDN จนถึงอุปกรณ์ปลายทาง คู่สายเพียง 1 คู่สาย สามารถที่จะรองรับอุปกรณ์ปลายทางชนิดต่าง ๆ ได้สูงสูด 8 อุปกรณ์และสามารถใช้งานได้ 2 อุปกรณ์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เนื่องจากภายในคู่สาย ISDN แบบ BRI นี้จะประกอบไปด้วยช่องสัญญาณ 2 ช่องโดยแต่ละช่องสามารถให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุดถึง 128 Kbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

2. แบบ PRI (Primary Rate Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการโดยการวางเคเบิลแบบไฟเบอร์ออฟติคไปยังตู้สาขาแบบ ISDN (ISDN PABX) ของผู้เช่าเคเบิลเส้นหนึ่งจะช่องสัญญาณอยู่ 30 ช่อง แต่ละช่องให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ซึ่งแต่ละช่องสามารถที่จะรวมสัญญาณเข้าด้วยกันทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุด คือ 2.048 Mbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่

Proxy Server ด้วยรูปแบบข้างต้น ระบบของท่านจะต้องทำการติดตั้ง Proxy Serverเพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อไปยัง Internet โดย Webpage ต่างๆ ที่ถูกเรียกขึ้นมาใช้จะถูกเก็บไว้ใน Proxy Server และเมื่อ User มีการเรียกใช้ Webpage นั้น Webpageดังกล่าวจะปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาถึงข้อมูลจาก Internet มาใหม่

Mail Server การมี mail server ภายในองค์กรเอง เพื่อความคล่องตัวในการจัดการกับ mailbox ของผู้ใช้แต่ละคน โดยสามารถเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูลของผู้ใช้ e-mai lภายในองค์กรของท่าน และเนื่องจากระบบท่านเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา การรับส่ง mail จึงสามารถทำได้ทันที

DNS Server สำหรับดูแลอินเทอร์เน็ตโดเมนขององค์กร และให้บริการแก่ผู้ใช้ภายในองค์กร

Web Server เพื่อให้บริการข้อมูลบน web site ขององค์กร โดยท่านจะใช้ server ของท่านเองเพื่อความคล่องตัว

สิ่งที่ระบบขององค์กรต้องการ
1. ISDN Moderm
2. ISDN 1 คู่สาย
3. ISDN Router หรือ Computer เพื่อทำเป็น Proxy Server
สิ่งที่ เอเน็ต จัดเตรียมให้
1. โทรศัพท์ 1 คู่สาย และ Access Server 1 Post สำหรับการเชื่อมต่อจากท่าน
2. IP Address สำหรับ Server ของท่านที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล
3. จดทะเบียนอินเทอร์เน็ตโดเมนสำหรับองค์กรท่าน (คิดค่าจดทะเบียน)
การส่งข้อมูลและอุปกรณ์พื้นฐาน

ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์นำมาเปิดให้บริการกันเป็นจำนวนมาก (ในประเทศไทยยังอยู่ในวงจำกัด เฉพาะบางชุมสาย และจังหวัดใหญ่ หรือบริเวณที่เป็นแหล่งธุรกิจเท่านั้น : ผู้แปล) ISDN เป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่กำหนดโดย CCITT โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายดิจิตอลออกไปให้กว้างไกลทั่วโลก การเชื่อมต่อทุกขั้นตอนจากผู้ใช้บริการไปยังชุมสายผู้ให้บริการ สายสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสาย และจากตู้ชุมสายไปถึงผู้รับใช้สัญญาณแบบดิจิตอลทั้งหมด จึงไม่มีความจำเป็นต้องแปลงรูปแบบสัญญาณไปมาอีกต่อไป ดังนั้นบริการของ ISDN จึงเป็นบริการในแบบดิจิตอลชนิดครบวงจรโดยแท้จริง นอกจากนี้บริการ ISDN
ยังให้แบนด์วิดธ์ในการรับ/ส่งข้อมูลที่ดีกว่าระบบโรศัพท์แบบเก่าๆ และสามารถให้บริการข้อมูลเสียงหรือแม้แต่ข้อมูลรูปแบบอื่นๆ (เช่น คอมพิวเตอร์, เพลง และวิดีโอ) ไปพร้อมๆ กัน ข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของโปรโตคอล ISDN คือสามารถต่อติดได้รวดเร็วกว่า (ประมาณ 5-6 เท่า) หากเปรียบเทียบกับระบบโทรศัพท์ธรรมดา
ISDN ประกอบไปด้วยโปรดตคอลที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ BRI (Basic Rate Interface) และ PRI (Primart Rate Interface) ซึ่งจะต้องเลือกไว้ก่อนที่จะติดตั้ง โปรโตคอล PRI พอจะนำไปเปรียบเทียบได้กับ T1 สำหรับโปรโตคอล BRI นั้นเป็นมาตรฐานที่ถูกนำไปใช้งานมากกว่า ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ช่องสัญญาณที่แยกจากกันคือ

ช่อง D (Data) ขนาด 16Kbps เพื่อส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณควบคุมของระบบ ISDN และข้อมูลของสัญญาณ
ช่อง B (Bearer) ขนาด 64 Kbps ซึ่งใช้ในการรับ/ส่งข้อมูลทั้งเสียงและข้อมูลอื่นๆ
ช่อง B อีกหนึ่งช่องที่ขนาด 64 Kbps เพื่อใช้ในการรับ/ส่งทั้งเสียงและข้อมูลอื่นๆ
บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ในแถบอเมริกาเหนือนั้นยังคงรองรับวิธีการเก่าๆ เพื่อสนับสนุนการใช้งาน ISDN อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้ในบางครั้งการใช้ช่องสัญญาณ B สามารถทำงานได้ที่ความเร็วเพียง 56 Kbps แทนที่จะเป็น 64 Kbps เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้ในการบีบอัดข้อมูลบน ISDN เอง ดังนั้นข้อมูลทิ่วิ่งอยู่บนระบบ ISDN ในปัจจุบันจึงยังไม่กำหนดให้มีการบีบอัดแต่อย่างใด ช่อง B ทั้งสองช่องนั้นสามารถถูกนำไปใช้ในการส่งข้อมูล ทั้งที่เป็นเสียงหรือข้อมูลอื่นได้พร้อมๆ กัน หรืออาจจะนำไปใช้ในการส่งข้อมูลเดียวกันไปยังปลายทางคนละแห่งกันก็ได้ หรือแม้แต่จะรวมสองช่องสัญญาณเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการสื่อสารกับสถานที่เดียวกันเพื่อให้ได้แบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้น การดำเนินการดังกล่าวนี้เรียกว่า Inverse Multiplexing โดยกระบวนการนี้เป็นมาตรฐานที่ต่อยอดมาจากโปรโตคอล PPP (Point-to-Point Protocol) ที่เรียกว่า Mulltilink PPP (เรื่องของโปรโตคอล PPP จะมีการกล่าวถึงใน บทที่ 3 )

อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมเด็ม ISDN) ที่สนับสนุนการทำงานในลักษณะนี้มีไม่มากนัก ผู้ผลิตโมเด็ม ISDN หลายรายต่างใช้วิธีการที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองในการทำ Inverse Multiplexing ซึ่งก็ส่งผลให้การใช้ Terminal Adapter (ก็คือ โมเด็มแบบ ISDN นั่นเอง แท้จริงแล้วควรเรียกว่า TA น่าจะเป็นชื่อที่ถูฏต้องมากกว่า เพราะระบบ ISDN นั้นไม่ต้องทำกระบวนการ Modulate/Demodulate อีก : ผู้แปล) เพื่อให้เกิดการสื่อสารทั้งสองฝั่งต้องใช้โมเด็มของบริษัทเดียวกัน การให้บริการ ISDN นั้นเปิดให้บริการเป็นบางพื้นที่ ระบบ ISDN ยังคงอาศัยสายทองแดงที่ใช้กับโทรศัพท์ทั่วไป เจ้าหน้าที่ของโทรศัพท์จะต้องมาตรวจสอบคุณภาพสายก่อนการติดตั้ง หากพบว่าคุณภาพใช้ได ้ก็จะนำอุปกรณ์มาติดยังจุดของผู้ใช้บริการและที่ชุมสายโทรศัพท์ ทั้งนี้มีช้อที่น่าสังเกตคืออุปกรณ์ที่ติดตั้ง ต้องมีการป้อนทั้งสัญญาณและพลังงานไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งหากมีปัญหาทงด้านระบบไฟฟ้าก็จะไม่สามารถใช้งานบริการ ISDN ได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงหรือข้อมูล ผู้ใช้บริการจะไม่สามารถติดต่อได้หากไม่มีระบบโทรศัพท์แบบเก่ารองรับเหตุการณ์ที่เกิดนี้

ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์เปิดให้บริการISDN อยู่ 2 ประเภท คือ

1. บริการแบบ BAI (Basic Access Interface = 2B+D) บริการแบบนี้ ทศท. จะให้บริการโดยเดินสายตรงด้วยคู่สายทองแดงปกติ (สายทองแดง 2 เส้นเหมือนกับการให้บริการโทรศัพท์ระบบธรรมดา)ไปยังผู้ใช้บริการ โดยใน 1 คู่สาย BAI นี้ ผู้ใช้บริการสามารถเดิน สายภายในเพื่อติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายเดียวกันได้สูงสุดถึง 8 อุปกรณ์ และสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารในคู่สาย ISDN เดียว กันได้พร้อมกัน 2 เครื่องในเวลาเดียวกัน ที่ความเร็วเครื่องละ 64 Kbps โดยอาศัยช่องสัญญาณ B ที่มีอยู่ในคู่สาย ISDN 2 ช่อง สัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกัน ตัวอย่างเช่น ในคู่สาย ISDN เดียวกันมีการติดตั้งโทรศัพท์ไว้ 2 เครื่อง เครื่องที่ 1 โทร ออกไปปลายทางที่เชียงใหม่เครื่องที่ 2 สามารถโทรออกหรือรับสายที่เรียกเข้ามาจากเครื่องปลายทางที่อยู่ที่หาดใหญ่ได้ เป็นต้น บริการ BAI นี้เหมาะสำหรับผู้ใช้บริการตามบ้านพักอาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางขนาดใหญ่ สถาบันองค์กรหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ต้องการจำนวนอุปกรณ์สื่อสารที่ติดต่อกับบุคคลภายนอกจำนวนไม่มากนัก

2. บริการแบบ PRI(Primary Rate Interface = 30 B+D) บริการแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่สถาบันองค์กรหน่วยงาน ราชการรัฐวิสาหกิจที่ต้องการช่องสัญญาณสื่อสารจำนวนมาก ทศท. จะให้บริการโดยเดินคู่สายความเร็วระดับ 2.048 Mbps ให้แก่ ผู้ใช้บริการ โดยลักษณะของคู่สาย PRI ที่ ทศท. จะนำมาให้ บริการแก่ผู้ใช้บริการจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้คือ

2.1สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ในขณะนี้ ทศท.มีการสร้างข่ายสายใยแก้วนำแสงตามย่านธุรกิจต่างๆ หลายเส้นทาง ลูกค้ารายใดที่ขอใช้บริการ PRI และอยู่ในแนว เส้นทางสายไฟเบอร์ออพติดของทศท. ที่สร้างไว้ ก็มี โอกาสที่ได้ใช้บริการ PRI ที่เป็นสายไฟเบอร์ออพติดได้ หรือ

2.2สายทองแดง(Copper Cable) ในกรณีที่ลูกค้าที่ขอใช้บริการ PRI แต่ไม่อยู่ในแนวเส้นทางสายไฟเบอร์ออพติคของ ทศท. ที่สร้างไว้ ทศท. ก็จะให้บริการเป็นแบบสายทองแดงแทน โดยจะเชื่อมต่อกับลูกค้าโดยมาต่อผ่านอุปกรณ์พิเศษที่ เรียกว่าอุปกรณ์ HDSL แล้วนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของลูกค้าที่รองรับคู่สาย PRI ได้ ลูกค้าก็ยังสามารถได้ใช้บริการ สื่อสารความเร็วสูงระดับ 2.048 Mbps ได้เหมือนกับลูกค้าที่ได้ใช้บริการ PRI แบบสายไฟเบอร์ออพติค

คู่สาย PRI ที่ลูกค้าใช้บริการอยู่นี้จะมีช่องสัญญาณ B ถึง 30 ช่องสัญญาณ ที่ความเร็วช่องสัญญาณละ 64 Kbps แต่ละช่องสัญญาณ เป็นอิสระต่อกันผู้ใช้บริการสามารถนำคู่สาย PRI มาต่อเข้าตู้สาขาอัตโนมัติ(ISDN PABX) ของผู้ใช้บริการทำให้อุปกรณ์สื่อสารที่ติด ตั้งหลังตู้สาขาสามารถติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ 30 เครื่องพร้อมกันหรือนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Remote Access Server (ใน กรณีผู้ใช้บริการเป็น InternetService Provider หรือองค์กรหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องการรองรับการ Access จาก User ทางไกล เป็นจำนวนมาก) รองรับการ Access จาก User ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้พร้อมกันถึง 30 Users ที่ความเร็ว 64 Kbps หรืออาจจะ นำมาเชื่อมต่อเข้ากับ Router ความเร็วสูง2.048 Mbps เพื่อเชื่อมการติดต่อระหว่าง Netwok ที่เชื่อมต่อกันระหว่าง LAN (Local Area Network) ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเข้าหากันได้ เช่น LAN ของสำนักงานใหญ่รองรับการติดต่อจาก LAN ที่อยู่ที่สาขาพร้อม ๆ กัน หลายสาขา หรืออาจจะนำมาต่อผ่านอุปกรณ์ Video Conference ความเร็วสูงระดับ 2.048 Mbps ได้เช่นกัน

หมาเหตุ: สำหรับช่องสัญญาณ D ที่มีอยู่ในทั้งบริการ BAI และ PRI เป็นช่องสัญญาณที่ทำหน้าที่ขอใช้บริการโดยส่งสัญญาณ Signalling ติดต่อกับชุมสาย และควบคุมการใช้งานของช่องสัญญาณ B ปัจจุบันผู้ใช้บริการ ISDN ไม่สามารถใช้งานช่องสัญญาณ D นี้ได้

FTTH (Fiber To The Home)

***FTTH (Fiber To The Home)
Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”

ความต้องการของการสื่อสารข้อมูลในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยนั้นสูงขึ้น เริ่มต้นจาก Dial up , DSL Services และบริการอื่นที่ส่งถึงลูกค้าโดยตรง ความจุของช่องสัญญาณใน DSL ไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน เนื่องจาก Application ใหม่ ๆ ต้องการ Bandwidth สูง และต้องการ Bit Rate คงที่ จึงมีการพัฒนา High Bandwidth ให้กับลูกค้าที่อยู่ตามบ้าน มีการมองหาทางที่จะสร้าง Broadband โดย HdyGrial ได้นำเสนอ 2 แนวคิดคือ

1. FTTH (Fiber To The Home)ไปยังบ้านลูกค้าโดยตรงเพื่อรองรับ เสียง VDO และ Data ซึ่งเรียกว่า Triple-play ในสายสัญญาณเส้นทางเดียวกันแต่เนื่องจากยังไม่ Clear ส่งผลให้เกิดความคิดแข่งกัน ซึ่งเกิดความไม่แน่นอนใน Rate ของข้อมูลที่จะส่งให้ลูกค้า

2. นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ เช่น vDSL2 และ WiMax มีความเป็นไปได้มากกว่า แต่ยังไม่แน่นอนในทางปฏิบัติ แต่มีความเป็นไปได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถให้ Bandwidth สูงเทียบเท่า Fiber ทำได้ แต่ vDSL2 และ WiMax ยังให้ Rate ที่สูงกว่าเดิม บางเทคโนโลยีสามารถใชักับ FTTx โดยมองไปข้างหน้ามากที่สุด แต่ก็ยังแพงที่สุดเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Point to Point (P2P Fiber) ไปยังลูกค้าแต่ละคน และยังต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์ในการกระจาย Network Active นั้น ยิ่งกระจายมาก ยิ่งทำให้เสียงค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบัน Passive Optic Network (PON) โดยการกระจายนั้นมีเพียง Passive element เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของ FTTX ค่าบำรุงรักษาในปัจจุบันมากจากการบำรุงรักษาเครือข่าย Copper ซึ่จะถูกลงจากการออกแบบที่ดี

เทคโนโลยีที่ใช้ใน FTTH ในรูปแบบ PON Passive Optic Network นั้น สรุปได้ดังนี้

1. BPON และ GPON เทคโนโลยีนี้ใช้พื้นฐาน Fame ข้อมูลในรูปแบบ ATM Cell-Base โดยชื่อแรกที่ให้กำเนิดคือ ATM PON (APON) และถูกเปลี่ยนในเวลาต่อมาเป็น Broadband PON (BPON) โดยที่ BPON นั้นให้ความสำคัญกับการไม่จำกัดจำนวน ATM Traffic โดยมีความเร็วสูงสุดคือ 622 Mbps

2. GPON เทคโนโลยีที่ได้พัฒนาต่อมาโดย IEEE และมีมาตรฐานออกมาคือ IEEE8.2.3ah โดยใช้พื้นฐานการทำงานของ Ethernet โดยพัฒนาความเร็วสูงสุดเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ 1.25 Gbps

3. DWM-PON เป็นเทคโนโลยีแบ่งคลื่นความยาวของแสงในการแบ่งกระจายไปยังเครื่องปลายทาง ซึ่งข้อดีคือ มีความเร็วสูงสามารถรองรับได้มากกว่า 1.25 Gbps แต่ข้อจำกัด คือสามารถกระจายไปยังเครื่องลูกจข่ายได้ไม่เกิน 10 เครื่อง ในแต่ละเครือข่าย อีกทั้งอุปกรณ์ยังมีราคาแพงมาก
ซึ่งได้นำเสนอการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีเดิม กับ ข้อดีของ DWM-PON ซึ่งสามารถรองรับความเร็วได้ในระดับดีเยี่ยม และยังสามารถใช้โครงข่ายเดิม ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกระจายโครงข่ายไปยังเครื่อง User ได้

เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ (X.25 Packet Switched Network)

***เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครือข่าย X.25 เป็นเครือข่ายสาธารณะประเภท WAN (Wide Area Network) สำหรับการส่งข้อมูลดิจิตอลทางไกล มีความสามารถในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลได้ เครือข่าย X.25 เป็นเครือข่ายการส่งข้อมูลดิจิตอลสาธารณะที่ได้รับความนิยมมาก หลักในการส่งข้อมูลจะใช้หลัก การเดียวกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตช์ ข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการจะส่งให้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ไกลออกไป จะถูกแบ่งออกเป็น บล็อกข้อมูลขนาดเล็กเรียกว่า แพ็กเกจ แต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยส่วนหัวซึ่งจะบอกข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับ ข้อมูลรวมทั้งตำแหน่งของปลายทางของข้อมูล เครือข่ายจะทำการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสด้วยโปรโตคอลควบ คุมการจัดการข้อมูล และเส้นทางของข้อมูลซึ่งเป็นโปรโตคอลแบบซิงโครนัส เช่น SDLC หรือ HDLC เป็นต้น ข้อมูลจะถูกส่งผ่านเครือข่ายด้วยความเร็วสูง และสามารถไปถึงปลายทางได้ในเวลาไม่ถึง 1 วินาที แต่ละโหนด ที่ข้อมูลถูกส่งผ่านเข้าไปจะเป็น Store – and – Forward เพื่อกักเก็บข้อมูลไว้ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูลที่ผิด พลาดทำให้โหนดปลายทางสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาถูกต้องเป็นลำดับเช่นเดียวกับที่ออกมาจากต้น ทาง
###การติดต่อสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย X.25 จะถูกกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน CCITT Recommendation X.25 เพื่อให้บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ยึดถือเป็นมาตรฐานเดียวกันในการส่ง – รับข้อมูลผ่านเครือข่าย ทำให้เครือข่าย X.25 ได้รับความนิยมแพร่หลาย

องค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่าย X.25 แพ็กเกจสวิตช์ ได้แก่
1. สถานีแพ็กเกจสวิตช์หรือโหนด เพื่อเก็บกักและส่งต่อข้อมูล รวมทั้งตรวจสอบความผิดพลาดของ ข้อมูล
2. อุปกรณ์แยกหรือรวมแพ็กเกจ (X.25 PAD) เพื่อแยกข้อมูลออกเป็นแพ็กเกจ หรือรวมแพกเกจข้อมูล รวมทั้งทำหน้าที่เป็นคอนเวอร์เตอร์(Converter) คือ จัดการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลของข้อมูลที่ต่าง ชนิดกันให้เป็นโปรโตคอลชนิดเดียวกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
3. ศูนย์กลางควบคุมแพกเกจ (NCC) หรือ Network Packet Control Center เป็นศูนย์กลางซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของแพ็กเกจสวิตช์ของเครือข่าย ซึ่งได้แก่บริษัทผู้ให้บริการการสื่อสารข้อมูลชนิด นี้
4. แพ็กเกจคอนเซนเตรเตอร์ ทำหน้าที่เป็นมัลติเพล็กซ์ และดีมัลติเพล็กซ์สัญญาณของแพ็กเกจข้อมูลที่ มาจากแหล่งต้นทางให้ผ่านรวมกันไปในสายเดียวกันรวมทั้งยังสามารถตรวจสอบความผิดพลาด ของข้อมูล และจัดการแปลงโปรโตคอลของข้อมูลให้เป็นแบบเดียวกันได้อีกด้วย
5. โปรโตคอล X.25 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่าย X.25 การทำงาน ของโปรโตคอล X.25 จะทำการติดต่อสื่อสารอยู่ใน 3 เลเยอร์ล่างสุดของสถาปัตยกรรมรูปแบบ
OSI การติดต่อสื่อสารเหนือเลเยอร์ชั้น Network จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมซอฟต์แวร์การสื่อสาร ระหว่าง Application – to – Application หรือ User to Application โปรโตคอลเครือข่าย X.25 จะใช้การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสชนิด HDLC (High-Level Data Link Control) ในเฟรมของ HDLC จะใช้ CRC-16 (Cyclic Redundan Check) เป็นเทคนิคในการตรวจสอบ และแก้ไข
ความผิดพลาดของข้อมูล ส่วนหัวและส่วนท้ายของเฟรมจะบ่งบอกข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลรวมทั้งเส้นทางการส่ง ข้อมูลผ่านเครือข่ายด้วย เฟรมส่งข้อมูล HDLC ของเครือข่าย X.25 เครือข่าย X.25 นอกจากจะใช้มาตรฐาน CCITT X.25 กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือ ข่าย X.25 แล้ว ยังมีมาตรฐานอื่นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย X.25 อีก เช่น CCITT X.3 , CCITT X.28 และ CCITT X.29