วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ (X.25 Packet Switched Network)

***เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครือข่าย X.25 เป็นเครือข่ายสาธารณะประเภท WAN (Wide Area Network) สำหรับการส่งข้อมูลดิจิตอลทางไกล มีความสามารถในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลได้ เครือข่าย X.25 เป็นเครือข่ายการส่งข้อมูลดิจิตอลสาธารณะที่ได้รับความนิยมมาก หลักในการส่งข้อมูลจะใช้หลัก การเดียวกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตช์ ข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการจะส่งให้แก่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ไกลออกไป จะถูกแบ่งออกเป็น บล็อกข้อมูลขนาดเล็กเรียกว่า แพ็กเกจ แต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยส่วนหัวซึ่งจะบอกข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับ ข้อมูลรวมทั้งตำแหน่งของปลายทางของข้อมูล เครือข่ายจะทำการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสด้วยโปรโตคอลควบ คุมการจัดการข้อมูล และเส้นทางของข้อมูลซึ่งเป็นโปรโตคอลแบบซิงโครนัส เช่น SDLC หรือ HDLC เป็นต้น ข้อมูลจะถูกส่งผ่านเครือข่ายด้วยความเร็วสูง และสามารถไปถึงปลายทางได้ในเวลาไม่ถึง 1 วินาที แต่ละโหนด ที่ข้อมูลถูกส่งผ่านเข้าไปจะเป็น Store – and – Forward เพื่อกักเก็บข้อมูลไว้ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูลที่ผิด พลาดทำให้โหนดปลายทางสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาถูกต้องเป็นลำดับเช่นเดียวกับที่ออกมาจากต้น ทาง
###การติดต่อสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย X.25 จะถูกกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน CCITT Recommendation X.25 เพื่อให้บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ยึดถือเป็นมาตรฐานเดียวกันในการส่ง – รับข้อมูลผ่านเครือข่าย ทำให้เครือข่าย X.25 ได้รับความนิยมแพร่หลาย

องค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่าย X.25 แพ็กเกจสวิตช์ ได้แก่
1. สถานีแพ็กเกจสวิตช์หรือโหนด เพื่อเก็บกักและส่งต่อข้อมูล รวมทั้งตรวจสอบความผิดพลาดของ ข้อมูล
2. อุปกรณ์แยกหรือรวมแพ็กเกจ (X.25 PAD) เพื่อแยกข้อมูลออกเป็นแพ็กเกจ หรือรวมแพกเกจข้อมูล รวมทั้งทำหน้าที่เป็นคอนเวอร์เตอร์(Converter) คือ จัดการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลของข้อมูลที่ต่าง ชนิดกันให้เป็นโปรโตคอลชนิดเดียวกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
3. ศูนย์กลางควบคุมแพกเกจ (NCC) หรือ Network Packet Control Center เป็นศูนย์กลางซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของแพ็กเกจสวิตช์ของเครือข่าย ซึ่งได้แก่บริษัทผู้ให้บริการการสื่อสารข้อมูลชนิด นี้
4. แพ็กเกจคอนเซนเตรเตอร์ ทำหน้าที่เป็นมัลติเพล็กซ์ และดีมัลติเพล็กซ์สัญญาณของแพ็กเกจข้อมูลที่ มาจากแหล่งต้นทางให้ผ่านรวมกันไปในสายเดียวกันรวมทั้งยังสามารถตรวจสอบความผิดพลาด ของข้อมูล และจัดการแปลงโปรโตคอลของข้อมูลให้เป็นแบบเดียวกันได้อีกด้วย
5. โปรโตคอล X.25 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่าย X.25 การทำงาน ของโปรโตคอล X.25 จะทำการติดต่อสื่อสารอยู่ใน 3 เลเยอร์ล่างสุดของสถาปัตยกรรมรูปแบบ
OSI การติดต่อสื่อสารเหนือเลเยอร์ชั้น Network จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมซอฟต์แวร์การสื่อสาร ระหว่าง Application – to – Application หรือ User to Application โปรโตคอลเครือข่าย X.25 จะใช้การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสชนิด HDLC (High-Level Data Link Control) ในเฟรมของ HDLC จะใช้ CRC-16 (Cyclic Redundan Check) เป็นเทคนิคในการตรวจสอบ และแก้ไข
ความผิดพลาดของข้อมูล ส่วนหัวและส่วนท้ายของเฟรมจะบ่งบอกข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลรวมทั้งเส้นทางการส่ง ข้อมูลผ่านเครือข่ายด้วย เฟรมส่งข้อมูล HDLC ของเครือข่าย X.25 เครือข่าย X.25 นอกจากจะใช้มาตรฐาน CCITT X.25 กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือ ข่าย X.25 แล้ว ยังมีมาตรฐานอื่นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย X.25 อีก เช่น CCITT X.3 , CCITT X.28 และ CCITT X.29

ไม่มีความคิดเห็น: