วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ISDN คืออะไร
Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน
การใช้งาน นอกเหนือจากการนำมาใช้ Internet ด้วยความเร็วสูงแล้ว เรายังสามารถนำ ISDN มาใช้ในลักษณะของ Video Conferrent หมายถึง การประชุมระหว่างประเทศ หรือจังหวัด โดยสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน
บริการของ ISDN แบ่งได้ 2 ประเภท
Individual เหมาะสำหรับตามบ้าน หรือองค์กรที่ไม่มีระบบ LAN หรือ หมายถึงผู้ใช้งานคนเดียว
Corporate หรือ LAN เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน internet ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน
ขั้นตอนการขอใช้บริการ ISDN
ขอติดตั้งบริการ ISDN จากองค์การโทรศัพท์
ซื้ออุปกรณ์ ISDN modem หรือ ISDN Router
สมัครสมาชิกกับ บริษัทที่ให้บริการ internet หรือ ISP
เพิ่มเติม
กรณีใช้งาน ISDN ร่วมกับโทรศัพท์ ความเร็วจะถูกลดลงเหลือ 64 kbps
ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน ครั้งละ 3 บาท
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การหมุนโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา
ISDN (Integrated Service Digital Network) คือบริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิตอลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ เสียง และข้อมูล ด้วยความเร็ว 128 Kbps ขึ้นไป ข้อดีของการใช้ ISDN คือความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารของผู้ใช้บริการไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ (Conversion) ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน (Noise) ก็จะลดลงด้วย ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้องไว้ใจได้สูงกว่าแบบเดิม
ลักษณะการใช้งานเหมือนกับการหมุนโทรศัพท์ธรรมดาปกติ คือเสียครั้งละ 3 บาท ก่อนจะใช้คุณต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่เบอร์ของ ISP ที่เป็น ISDN ด้วยจึงจะได้ความเร็วของ ISDN ตามที่กำหนด
รูปแบบการใช้บริการ ISDN มี 2 แบบ คือ
1. แบบ BRI (Basic Rate Interface) หรือทางองค์การโทรศัพท์เขาเรียกว่า BAI (Basic Access Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการด้วยคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาจากชุมสาย ISDN จนถึงอุปกรณ์ปลายทาง คู่สายเพียง 1 คู่สาย สามารถที่จะรองรับอุปกรณ์ปลายทางชนิดต่าง ๆ ได้สูงสูด 8 อุปกรณ์และสามารถใช้งานได้ 2 อุปกรณ์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เนื่องจากภายในคู่สาย ISDN แบบ BRI นี้จะประกอบไปด้วยช่องสัญญาณ 2 ช่องโดยแต่ละช่องสามารถให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุดถึง 128 Kbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
2. แบบ PRI (Primary Rate Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการโดยการวางเคเบิลแบบไฟเบอร์ออฟติคไปยังตู้สาขาแบบ ISDN (ISDN PABX) ของผู้เช่าเคเบิลเส้นหนึ่งจะช่องสัญญาณอยู่ 30 ช่อง แต่ละช่องให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ซึ่งแต่ละช่องสามารถที่จะรวมสัญญาณเข้าด้วยกันทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุด คือ 2.048 Mbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
Proxy Server ด้วยรูปแบบข้างต้น ระบบของท่านจะต้องทำการติดตั้ง Proxy Serverเพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อไปยัง Internet โดย Webpage ต่างๆ ที่ถูกเรียกขึ้นมาใช้จะถูกเก็บไว้ใน Proxy Server และเมื่อ User มีการเรียกใช้ Webpage นั้น Webpageดังกล่าวจะปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาถึงข้อมูลจาก Internet มาใหม่
Mail Server การมี mail server ภายในองค์กรเอง เพื่อความคล่องตัวในการจัดการกับ mailbox ของผู้ใช้แต่ละคน โดยสามารถเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูลของผู้ใช้ e-mai lภายในองค์กรของท่าน และเนื่องจากระบบท่านเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา การรับส่ง mail จึงสามารถทำได้ทันที
DNS Server สำหรับดูแลอินเทอร์เน็ตโดเมนขององค์กร และให้บริการแก่ผู้ใช้ภายในองค์กร
Web Server เพื่อให้บริการข้อมูลบน web site ขององค์กร โดยท่านจะใช้ server ของท่านเองเพื่อความคล่องตัว
สิ่งที่ระบบขององค์กรต้องการ
1. ISDN Moderm
2. ISDN 1 คู่สาย
3. ISDN Router หรือ Computer เพื่อทำเป็น Proxy Server
สิ่งที่ เอเน็ต จัดเตรียมให้
1. โทรศัพท์ 1 คู่สาย และ Access Server 1 Post สำหรับการเชื่อมต่อจากท่าน
2. IP Address สำหรับ Server ของท่านที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล
3. จดทะเบียนอินเทอร์เน็ตโดเมนสำหรับองค์กรท่าน (คิดค่าจดทะเบียน)
การส่งข้อมูลและอุปกรณ์พื้นฐาน
ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์นำมาเปิดให้บริการกันเป็นจำนวนมาก (ในประเทศไทยยังอยู่ในวงจำกัด เฉพาะบางชุมสาย และจังหวัดใหญ่ หรือบริเวณที่เป็นแหล่งธุรกิจเท่านั้น : ผู้แปล) ISDN เป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่กำหนดโดย CCITT โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายดิจิตอลออกไปให้กว้างไกลทั่วโลก การเชื่อมต่อทุกขั้นตอนจากผู้ใช้บริการไปยังชุมสายผู้ให้บริการ สายสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสาย และจากตู้ชุมสายไปถึงผู้รับใช้สัญญาณแบบดิจิตอลทั้งหมด จึงไม่มีความจำเป็นต้องแปลงรูปแบบสัญญาณไปมาอีกต่อไป ดังนั้นบริการของ ISDN จึงเป็นบริการในแบบดิจิตอลชนิดครบวงจรโดยแท้จริง นอกจากนี้บริการ ISDN
ยังให้แบนด์วิดธ์ในการรับ/ส่งข้อมูลที่ดีกว่าระบบโรศัพท์แบบเก่าๆ และสามารถให้บริการข้อมูลเสียงหรือแม้แต่ข้อมูลรูปแบบอื่นๆ (เช่น คอมพิวเตอร์, เพลง และวิดีโอ) ไปพร้อมๆ กัน ข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของโปรโตคอล ISDN คือสามารถต่อติดได้รวดเร็วกว่า (ประมาณ 5-6 เท่า) หากเปรียบเทียบกับระบบโทรศัพท์ธรรมดา
ISDN ประกอบไปด้วยโปรดตคอลที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ BRI (Basic Rate Interface) และ PRI (Primart Rate Interface) ซึ่งจะต้องเลือกไว้ก่อนที่จะติดตั้ง โปรโตคอล PRI พอจะนำไปเปรียบเทียบได้กับ T1 สำหรับโปรโตคอล BRI นั้นเป็นมาตรฐานที่ถูกนำไปใช้งานมากกว่า ซึ่งจะประกอบไปด้วย 3 ช่องสัญญาณที่แยกจากกันคือ
ช่อง D (Data) ขนาด 16Kbps เพื่อส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณควบคุมของระบบ ISDN และข้อมูลของสัญญาณ
ช่อง B (Bearer) ขนาด 64 Kbps ซึ่งใช้ในการรับ/ส่งข้อมูลทั้งเสียงและข้อมูลอื่นๆ
ช่อง B อีกหนึ่งช่องที่ขนาด 64 Kbps เพื่อใช้ในการรับ/ส่งทั้งเสียงและข้อมูลอื่นๆ
บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ในแถบอเมริกาเหนือนั้นยังคงรองรับวิธีการเก่าๆ เพื่อสนับสนุนการใช้งาน ISDN อย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้ในบางครั้งการใช้ช่องสัญญาณ B สามารถทำงานได้ที่ความเร็วเพียง 56 Kbps แทนที่จะเป็น 64 Kbps เนื่องจากมาตรฐานที่ใช้ในการบีบอัดข้อมูลบน ISDN เอง ดังนั้นข้อมูลทิ่วิ่งอยู่บนระบบ ISDN ในปัจจุบันจึงยังไม่กำหนดให้มีการบีบอัดแต่อย่างใด ช่อง B ทั้งสองช่องนั้นสามารถถูกนำไปใช้ในการส่งข้อมูล ทั้งที่เป็นเสียงหรือข้อมูลอื่นได้พร้อมๆ กัน หรืออาจจะนำไปใช้ในการส่งข้อมูลเดียวกันไปยังปลายทางคนละแห่งกันก็ได้ หรือแม้แต่จะรวมสองช่องสัญญาณเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการสื่อสารกับสถานที่เดียวกันเพื่อให้ได้แบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้น การดำเนินการดังกล่าวนี้เรียกว่า Inverse Multiplexing โดยกระบวนการนี้เป็นมาตรฐานที่ต่อยอดมาจากโปรโตคอล PPP (Point-to-Point Protocol) ที่เรียกว่า Mulltilink PPP (เรื่องของโปรโตคอล PPP จะมีการกล่าวถึงใน บทที่ 3 )
อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมเด็ม ISDN) ที่สนับสนุนการทำงานในลักษณะนี้มีไม่มากนัก ผู้ผลิตโมเด็ม ISDN หลายรายต่างใช้วิธีการที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองในการทำ Inverse Multiplexing ซึ่งก็ส่งผลให้การใช้ Terminal Adapter (ก็คือ โมเด็มแบบ ISDN นั่นเอง แท้จริงแล้วควรเรียกว่า TA น่าจะเป็นชื่อที่ถูฏต้องมากกว่า เพราะระบบ ISDN นั้นไม่ต้องทำกระบวนการ Modulate/Demodulate อีก : ผู้แปล) เพื่อให้เกิดการสื่อสารทั้งสองฝั่งต้องใช้โมเด็มของบริษัทเดียวกัน การให้บริการ ISDN นั้นเปิดให้บริการเป็นบางพื้นที่ ระบบ ISDN ยังคงอาศัยสายทองแดงที่ใช้กับโทรศัพท์ทั่วไป เจ้าหน้าที่ของโทรศัพท์จะต้องมาตรวจสอบคุณภาพสายก่อนการติดตั้ง หากพบว่าคุณภาพใช้ได ้ก็จะนำอุปกรณ์มาติดยังจุดของผู้ใช้บริการและที่ชุมสายโทรศัพท์ ทั้งนี้มีช้อที่น่าสังเกตคืออุปกรณ์ที่ติดตั้ง ต้องมีการป้อนทั้งสัญญาณและพลังงานไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งหากมีปัญหาทงด้านระบบไฟฟ้าก็จะไม่สามารถใช้งานบริการ ISDN ได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงหรือข้อมูล ผู้ใช้บริการจะไม่สามารถติดต่อได้หากไม่มีระบบโทรศัพท์แบบเก่ารองรับเหตุการณ์ที่เกิดนี้
ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์เปิดให้บริการISDN อยู่ 2 ประเภท คือ
1. บริการแบบ BAI (Basic Access Interface = 2B+D) บริการแบบนี้ ทศท. จะให้บริการโดยเดินสายตรงด้วยคู่สายทองแดงปกติ (สายทองแดง 2 เส้นเหมือนกับการให้บริการโทรศัพท์ระบบธรรมดา)ไปยังผู้ใช้บริการ โดยใน 1 คู่สาย BAI นี้ ผู้ใช้บริการสามารถเดิน สายภายในเพื่อติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายเดียวกันได้สูงสุดถึง 8 อุปกรณ์ และสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารในคู่สาย ISDN เดียว กันได้พร้อมกัน 2 เครื่องในเวลาเดียวกัน ที่ความเร็วเครื่องละ 64 Kbps โดยอาศัยช่องสัญญาณ B ที่มีอยู่ในคู่สาย ISDN 2 ช่อง สัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกัน ตัวอย่างเช่น ในคู่สาย ISDN เดียวกันมีการติดตั้งโทรศัพท์ไว้ 2 เครื่อง เครื่องที่ 1 โทร ออกไปปลายทางที่เชียงใหม่เครื่องที่ 2 สามารถโทรออกหรือรับสายที่เรียกเข้ามาจากเครื่องปลายทางที่อยู่ที่หาดใหญ่ได้ เป็นต้น บริการ BAI นี้เหมาะสำหรับผู้ใช้บริการตามบ้านพักอาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางขนาดใหญ่ สถาบันองค์กรหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ต้องการจำนวนอุปกรณ์สื่อสารที่ติดต่อกับบุคคลภายนอกจำนวนไม่มากนัก
2. บริการแบบ PRI(Primary Rate Interface = 30 B+D) บริการแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่สถาบันองค์กรหน่วยงาน ราชการรัฐวิสาหกิจที่ต้องการช่องสัญญาณสื่อสารจำนวนมาก ทศท. จะให้บริการโดยเดินคู่สายความเร็วระดับ 2.048 Mbps ให้แก่ ผู้ใช้บริการ โดยลักษณะของคู่สาย PRI ที่ ทศท. จะนำมาให้ บริการแก่ผู้ใช้บริการจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้คือ
2.1สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ในขณะนี้ ทศท.มีการสร้างข่ายสายใยแก้วนำแสงตามย่านธุรกิจต่างๆ หลายเส้นทาง ลูกค้ารายใดที่ขอใช้บริการ PRI และอยู่ในแนว เส้นทางสายไฟเบอร์ออพติดของทศท. ที่สร้างไว้ ก็มี โอกาสที่ได้ใช้บริการ PRI ที่เป็นสายไฟเบอร์ออพติดได้ หรือ
2.2สายทองแดง(Copper Cable) ในกรณีที่ลูกค้าที่ขอใช้บริการ PRI แต่ไม่อยู่ในแนวเส้นทางสายไฟเบอร์ออพติคของ ทศท. ที่สร้างไว้ ทศท. ก็จะให้บริการเป็นแบบสายทองแดงแทน โดยจะเชื่อมต่อกับลูกค้าโดยมาต่อผ่านอุปกรณ์พิเศษที่ เรียกว่าอุปกรณ์ HDSL แล้วนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของลูกค้าที่รองรับคู่สาย PRI ได้ ลูกค้าก็ยังสามารถได้ใช้บริการ สื่อสารความเร็วสูงระดับ 2.048 Mbps ได้เหมือนกับลูกค้าที่ได้ใช้บริการ PRI แบบสายไฟเบอร์ออพติค
คู่สาย PRI ที่ลูกค้าใช้บริการอยู่นี้จะมีช่องสัญญาณ B ถึง 30 ช่องสัญญาณ ที่ความเร็วช่องสัญญาณละ 64 Kbps แต่ละช่องสัญญาณ เป็นอิสระต่อกันผู้ใช้บริการสามารถนำคู่สาย PRI มาต่อเข้าตู้สาขาอัตโนมัติ(ISDN PABX) ของผู้ใช้บริการทำให้อุปกรณ์สื่อสารที่ติด ตั้งหลังตู้สาขาสามารถติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ 30 เครื่องพร้อมกันหรือนำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Remote Access Server (ใน กรณีผู้ใช้บริการเป็น InternetService Provider หรือองค์กรหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องการรองรับการ Access จาก User ทางไกล เป็นจำนวนมาก) รองรับการ Access จาก User ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้พร้อมกันถึง 30 Users ที่ความเร็ว 64 Kbps หรืออาจจะ นำมาเชื่อมต่อเข้ากับ Router ความเร็วสูง2.048 Mbps เพื่อเชื่อมการติดต่อระหว่าง Netwok ที่เชื่อมต่อกันระหว่าง LAN (Local Area Network) ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเข้าหากันได้ เช่น LAN ของสำนักงานใหญ่รองรับการติดต่อจาก LAN ที่อยู่ที่สาขาพร้อม ๆ กัน หลายสาขา หรืออาจจะนำมาต่อผ่านอุปกรณ์ Video Conference ความเร็วสูงระดับ 2.048 Mbps ได้เช่นกัน
หมาเหตุ: สำหรับช่องสัญญาณ D ที่มีอยู่ในทั้งบริการ BAI และ PRI เป็นช่องสัญญาณที่ทำหน้าที่ขอใช้บริการโดยส่งสัญญาณ Signalling ติดต่อกับชุมสาย และควบคุมการใช้งานของช่องสัญญาณ B ปัจจุบันผู้ใช้บริการ ISDN ไม่สามารถใช้งานช่องสัญญาณ D นี้ได้
FTTH (Fiber To The Home)
Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”
ความต้องการของการสื่อสารข้อมูลในตลาดบ้านที่อยู่อาศัยนั้นสูงขึ้น เริ่มต้นจาก Dial up , DSL Services และบริการอื่นที่ส่งถึงลูกค้าโดยตรง ความจุของช่องสัญญาณใน DSL ไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน เนื่องจาก Application ใหม่ ๆ ต้องการ Bandwidth สูง และต้องการ Bit Rate คงที่ จึงมีการพัฒนา High Bandwidth ให้กับลูกค้าที่อยู่ตามบ้าน มีการมองหาทางที่จะสร้าง Broadband โดย HdyGrial ได้นำเสนอ 2 แนวคิดคือ
1. FTTH (Fiber To The Home)ไปยังบ้านลูกค้าโดยตรงเพื่อรองรับ เสียง VDO และ Data ซึ่งเรียกว่า Triple-play ในสายสัญญาณเส้นทางเดียวกันแต่เนื่องจากยังไม่ Clear ส่งผลให้เกิดความคิดแข่งกัน ซึ่งเกิดความไม่แน่นอนใน Rate ของข้อมูลที่จะส่งให้ลูกค้า
2. นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ เช่น vDSL2 และ WiMax มีความเป็นไปได้มากกว่า แต่ยังไม่แน่นอนในทางปฏิบัติ แต่มีความเป็นไปได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถให้ Bandwidth สูงเทียบเท่า Fiber ทำได้ แต่ vDSL2 และ WiMax ยังให้ Rate ที่สูงกว่าเดิม บางเทคโนโลยีสามารถใชักับ FTTx โดยมองไปข้างหน้ามากที่สุด แต่ก็ยังแพงที่สุดเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Point to Point (P2P Fiber) ไปยังลูกค้าแต่ละคน และยังต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์ในการกระจาย Network Active นั้น ยิ่งกระจายมาก ยิ่งทำให้เสียงค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบัน Passive Optic Network (PON) โดยการกระจายนั้นมีเพียง Passive element เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของ FTTX ค่าบำรุงรักษาในปัจจุบันมากจากการบำรุงรักษาเครือข่าย Copper ซึ่จะถูกลงจากการออกแบบที่ดี
เทคโนโลยีที่ใช้ใน FTTH ในรูปแบบ PON Passive Optic Network นั้น สรุปได้ดังนี้
1. BPON และ GPON เทคโนโลยีนี้ใช้พื้นฐาน Fame ข้อมูลในรูปแบบ ATM Cell-Base โดยชื่อแรกที่ให้กำเนิดคือ ATM PON (APON) และถูกเปลี่ยนในเวลาต่อมาเป็น Broadband PON (BPON) โดยที่ BPON นั้นให้ความสำคัญกับการไม่จำกัดจำนวน ATM Traffic โดยมีความเร็วสูงสุดคือ 622 Mbps
2. GPON เทคโนโลยีที่ได้พัฒนาต่อมาโดย IEEE และมีมาตรฐานออกมาคือ IEEE8.2.3ah โดยใช้พื้นฐานการทำงานของ Ethernet โดยพัฒนาความเร็วสูงสุดเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ 1.25 Gbps
3. DWM-PON เป็นเทคโนโลยีแบ่งคลื่นความยาวของแสงในการแบ่งกระจายไปยังเครื่องปลายทาง ซึ่งข้อดีคือ มีความเร็วสูงสามารถรองรับได้มากกว่า 1.25 Gbps แต่ข้อจำกัด คือสามารถกระจายไปยังเครื่องลูกจข่ายได้ไม่เกิน 10 เครื่อง ในแต่ละเครือข่าย อีกทั้งอุปกรณ์ยังมีราคาแพงมาก
ซึ่งได้นำเสนอการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีเดิม กับ ข้อดีของ DWM-PON ซึ่งสามารถรองรับความเร็วได้ในระดับดีเยี่ยม และยังสามารถใช้โครงข่ายเดิม ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกระจายโครงข่ายไปยังเครื่อง User ได้
เครือข่าย X.25 แพ็กเจสวิตช์ (X.25 Packet Switched Network)
###การติดต่อสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย X.25 จะถูกกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐาน CCITT Recommendation X.25 เพื่อให้บริษัทผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ยึดถือเป็นมาตรฐานเดียวกันในการส่ง – รับข้อมูลผ่านเครือข่าย ทำให้เครือข่าย X.25 ได้รับความนิยมแพร่หลาย
องค์ประกอบที่สำคัญของเครือข่าย X.25 แพ็กเกจสวิตช์ ได้แก่
1. สถานีแพ็กเกจสวิตช์หรือโหนด เพื่อเก็บกักและส่งต่อข้อมูล รวมทั้งตรวจสอบความผิดพลาดของ ข้อมูล
2. อุปกรณ์แยกหรือรวมแพ็กเกจ (X.25 PAD) เพื่อแยกข้อมูลออกเป็นแพ็กเกจ หรือรวมแพกเกจข้อมูล รวมทั้งทำหน้าที่เป็นคอนเวอร์เตอร์(Converter) คือ จัดการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลของข้อมูลที่ต่าง ชนิดกันให้เป็นโปรโตคอลชนิดเดียวกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
3. ศูนย์กลางควบคุมแพกเกจ (NCC) หรือ Network Packet Control Center เป็นศูนย์กลางซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของแพ็กเกจสวิตช์ของเครือข่าย ซึ่งได้แก่บริษัทผู้ให้บริการการสื่อสารข้อมูลชนิด นี้
4. แพ็กเกจคอนเซนเตรเตอร์ ทำหน้าที่เป็นมัลติเพล็กซ์ และดีมัลติเพล็กซ์สัญญาณของแพ็กเกจข้อมูลที่ มาจากแหล่งต้นทางให้ผ่านรวมกันไปในสายเดียวกันรวมทั้งยังสามารถตรวจสอบความผิดพลาด ของข้อมูล และจัดการแปลงโปรโตคอลของข้อมูลให้เป็นแบบเดียวกันได้อีกด้วย
5. โปรโตคอล X.25 เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่าย X.25 การทำงาน ของโปรโตคอล X.25 จะทำการติดต่อสื่อสารอยู่ใน 3 เลเยอร์ล่างสุดของสถาปัตยกรรมรูปแบบ
OSI การติดต่อสื่อสารเหนือเลเยอร์ชั้น Network จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมซอฟต์แวร์การสื่อสาร ระหว่าง Application – to – Application หรือ User to Application โปรโตคอลเครือข่าย X.25 จะใช้การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสชนิด HDLC (High-Level Data Link Control) ในเฟรมของ HDLC จะใช้ CRC-16 (Cyclic Redundan Check) เป็นเทคนิคในการตรวจสอบ และแก้ไข
ความผิดพลาดของข้อมูล ส่วนหัวและส่วนท้ายของเฟรมจะบ่งบอกข่าวสารเกี่ยวกับข้อมูลรวมทั้งเส้นทางการส่ง ข้อมูลผ่านเครือข่ายด้วย เฟรมส่งข้อมูล HDLC ของเครือข่าย X.25 เครือข่าย X.25 นอกจากจะใช้มาตรฐาน CCITT X.25 กำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในเครือ ข่าย X.25 แล้ว ยังมีมาตรฐานอื่นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย X.25 อีก เช่น CCITT X.3 , CCITT X.28 และ CCITT X.29
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ข้อสอบ 30 ข้อ เรื่อง Internet Protocol Version 6 (IPv6)
1. (IPV6) ย่อมาจากอะไร
ก. Internet Protocol Vertion6
ข. Vertion6
ค. Internet Protocol
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ก. Internet Protocol Vertion6
2.โพรโตคอลดังกล่าวทั้งหมดกี่ฉบับ
ก. 1ฉบับ
ข. 2ฉบับ
ค. 3ฉบับ
ง.4ฉบับ
เฉลย ง.4ฉ3.CATNIP ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
4.TUBA ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
5. SIPP ย่อมาจากอะไร
ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
ค.(Simple Internet Protocol Plus)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ค.(Simple Internet Protocol Plus)
6.แนวทางในการพัฒนาIPV6 อย่างเป็นทางการไว้ในเอกสาร RFC 1752 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
ก.นโยบายการแบ่งสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส
ข.ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกคืนชุดหมายเลขไอพีรุ่นที่ 4 ที่มีการใช้ประโยชน์ต่ำกว่าเกณฑ์กลับคืนมา
ค.ให้ใช้หลักการแบ่งสรรหมายเลขไอพีคลาส A ที่เหลืออยู่แบบ CIDR
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
7.โครงการ IP ng Area (คณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งโดย Internet Engineering Task Force, IETF ในปีค.ศ.ใด
ก.1991
ข.1992
ค.1993
ง.1994
เฉลย ค.1993
8.คณะทำงาน IP ng ถูกก่อตั้งขึ้นโดยใคร
ก.Steve Deering และ Ross Callon
ข.adda
ค.Ping
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก.Steve Deering และ Ross Callon
9.คณะทำงาน Address autoconfiguration ถูกก่อตั้งและนำทีมโดยใครบ้าง
ก. Ross Callon
ข. Steve Deering
ค. Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ค. Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson
10.โครงการ IPng Area จะสิ้นสุดลงเมื่อปลายพ.ศ.ใด
ก.ปลายปี 1994
ข.ปลายปี 1997
ค.ปลายปี 1995
ง.ปลายปี 1990
เฉลย ค.ปลายปี 1995
11.คุณลักษณะเฉพาะของ IPng APIs คืออะไรบ้าง
ก.ต้องสนับสนุน Authentication header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง
ข.ต้องสนับสนุน Privacy header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง
ค.ต้องมีการพัฒนาโครงร่างของระบบ Firewall สำหรับ IPng
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
12.และในช่วงกลางปี 1994 เช่นกัน IPng ได้รับการกำหนดหมายเลขรุ่นโดยหน่วยงานใด
ก.ไม่มีข้อถูก
ข.Internet Assigned Numbers Authority(IANA)
ค.อเมริกา
ง.หน่วยงานจากญี่ปุ่น
เฉลย ข.Internet Assigned Numbers Authority(IANA)
13.จากข้อ12.ได้รับเป็นรุ่นที่เท่าไหร่
ก.ให้เป็นรุ่นที่ 6 อันเป็นที่มาของ IPv6
ข.ให้เป็นรุ่นที่ 4 อันเป็นที่มาของ IPv4
ค.ให้เป็นรุ่นที่ 5 อันเป็นที่มาของ IPv5
ง.ให้เป็นรุ่นที่ 7 อันเป็นที่มาของ IPv7
เฉลย ก.ให้เป็นรุ่นที่ 6 อันเป็นที่มาของ IPv6
14. เอกสาร RFC1752 ชุดนี้ได้ถูกยอมรับและดำเนินการต่อโดยคณะทำงานภายใต้ IETF ที่ชื่อว่า อะไร
ก. Internet
ข. Engineering
ค.Internet Engineering Steering Group (IESG)
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ค.Internet Engineering Steering Group (IESG)
15. IP Address มีอยู่กี่ลักษณะ
ก.สองลักษณะด้วยกัน
ข.สามลักษณะ
ค.สี่ลักษณะ
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ก.สองลักษณะด้วยกัน
16. IP Address มีลักษณะบ้าง
ก. Static IP
ข. IP Address
ค. Dynamic IP
ง. Static IPและ Dynamic IP
เฉลย ง. Static IPและ Dynamic IP
17. หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ
ก.หน่ายงานจากต่างประเทศ
ข.หน่วยงานภายในประเทศไทย
ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
18. IPv6 ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนกี่บิต
ก.128 บิต
ข.84 บิต
ค.32 บิต
ง. 16 บิต
เฉลย ก.128 บิต
19.จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4 คืออะไร
ก.ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ข.เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
ค.สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
20.เฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างอะไรบ้าง
ก.ตำแหน่งที่ตัดออก
ข.ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน
ค.ตำแหน่งที่เพิ่ม
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
21 Internet Protocol Vertion6 (Ipv6) มีขนาดเท่าใด
ก. มีขนาด 126 bit
ข. มีขนาด 128 bit
ค. มีขนาด 129 bit
ง. มีขนาด 127 bit
เฉลย ข. มีขนาด 128 bit
22.ข้อเสียของ Ipv6 คืออะไร
ก.การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี
ข.ประเทศไทยยังมีการติดตั้งเครือข่าย IPv6 ไม่มากนัก จะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มหรือกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆเท่านั้น
ค.ในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงไม่ตื่นตัวหรือสนใจที่จะใช้ IPv6 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
23.ข้อดีของ Ipv6 ข้อใดผิด
ก.การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อย
ไปและถูกวิธี
ข.มีหมายเลข IP Address มากกว่าเดิมมาก ทำให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้
ค.มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
ง.มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ ( Mobile IP )
เฉลย ก.การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี
24. ลักษณะทั่วไปของ IPv6 ข้อใดถูก
ก.มีความสามารถมากขึ้นในการ Routing, Security, Quality of Services (QoS) ภายใน IP Header
ข.สนับสนุน Real Time Services
ค.สนับสนุนการ Assign หมายเลข IP Address โดยอัตโนมัติ ในขณะที่ IPv4 ต้องพึ่งโปรโตคอลอื่นๆ เช่น DHCP เป็นต้น
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
25.ข้อใดไม่ถูกต้องของตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมาของ IPv6 เมื่อเทียบกับ IPv4
ก. Type of Service ของ IPv4 ถูกแทนที่ด้วย Traffic Class ซึ่งใช้ระบุว่า packet นี้อยู่ใน class ไหนและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่ เพื่อที่ router จะได้จัด QoS DiffServ ในการส่ง packet ให้เหมาะสม
ข. Flow label ใช้ระบุ end-to-end traffic flow ระหว่างต้นทางกับปลายทาง ใน application หนึ่งๆสามารถสร้าง flow ได้หลายๆ อัน อย่างเช่น video conference เราสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้ แม้ว่าจะเปิด socket ในการทำงานเพียง socket เดียว
ค. Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ค. Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้
26. IPv6 address ถูกแบ่งออกเป็นกี่กลุ่มใหญ่ๆ
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
เฉลย ค. 3
27.จากข้อที่ 26 มีอะไรบ้าง
ก.Unicast
ข. Multicast
ค. Anycast
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
28. IPv6 นั้นมี รูปแบบของ IP Address อยู่ทั้งหมดกี่ประเภทหลักๆ
ก.2
ข.4
ค.6
ง.8
เฉลย ค.6
29. IPv6 "Internet Protocol Version 6" ซึ่งจะเป็น Internet protocol ออกแบบและคิดค้นโดย
ก.Microsoft
ข.IETF
ค. CATNIP
ง. SIPP
เฉลย ข.IETF
30. Dual stacks หมายถึง
ก.การใช้งาน IPv4 และ IPv6 stack ควบคู่กันไปภายในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน
ข.การปรับเปลี่ยนเครือข่ายจาก IPv4 สู่ IPv6
ค.สำหรับการให้บริการเชื่อมต่อ กันระหว่างเครื่องที่ใช้และติดตั้งหมายเลข IPv6 เพียงอย่างเดียว
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ก.การใช้งาน IPv4 และ IPv6 stack ควบคู่กันไปภายในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
IPv6 (IP Address version6)
มี Address ประมาณ 1 พันล้าน addresses
ประมาวลผลได้เร็วกว่า IPv4
มีการรองรับการจัดการ เพื่อให้สามารถส่งขอ้มูลได้รวดเร็ว ทำให้สื่อสารแบบ Real time ได้
IPv6 Addressing
มีขนาด 16 ไบต์ หรือ 128 บิต ในการเขียน Address ของ IPv6 จะใช้เลขฐาน 16 โดยแบ่งบิตข้อมูลออกเป็น 8 ส่วนๆ ละ 2 ไบต์ ดังนั้นต้องใช้ตัวเลข 4 หลักสำหรับแต่ละส่วน แล้วใช้ ":" (Gap) คั่นระหว่างส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเขียน Address แบบย่อ โดยย่อส่วนที่มีเลข 0 ต่อเนื่องกัน เช่น
- 1080:0000:0000:0000:0000:008:200C:417A สามารถอ่านเขียนย่อโดยใช้ 0 ตัวเดียว แทน 0000
- 1080::0008:0800:200C:417A เลขศูนย์ที่ติดกันต่อเนื่องเป็นชุด สามารถใช้สัญลักษณ์ "::" แทนเลขศูนย์ทั้งชุดได้
Transition from IPv4 to IPv6
การเปลี่ยนแปลงจาก IPv4 เป็น IPv6 ไม่สามารถทำได้ในทันที ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จุงค่อยๆทำ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการใช้งาน
IETF กำหนดมาตรฐานในการเปลี่ยนจาก IPv4 เป็น IPv6 ไว้ 3 วิธี ดังนี้
1. Dual Stack เนื่องจาก Protocol ของการใช้ stack คู่นี้จะทำให้ Host สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งสองอย่าง ในการเลือกว่าจะส่ง Packet ออกไปให้กลับ Host ปลายทางโดยใช้ IP เวอร์ชั่นไหนนั้น Host ต้นทางจะส่งPacket ไปยัง DNS (Domain Name System) ก่อน ถ้าตอบ IPv4 กลับมา แสดงว่า Host ต้นทางจะต้องส่ง Packet เป็น IPv4 เป็นต้น
2. Tunneling คือ Host ทั้ง 2 ตัวใช้ IPv6 ต้องการสื่อสารกัน แต่ต้องส่ง Packet ผ่าน IPv4 ดังนั้น Packet นั้นจะต้องใช้ Address ของ IPv4ด้วย ทำให้ Packet IPv6 ต้อง Encapsulate เป็น Packet IPv 4 ก่อน เมื่อออกจากเครือข่าย IPv4 จึงทำการ Decapsulate ให้เป็น Packet IPv6 เหมือนเดิม
3. Header Translation จำเป็นเมื่อ Internet ได้มีการเปลี่ยนเป็น IPv6 แต่ยังมีบางเครื่องที่ใช้ IPv4 ต้องเปลี่ยนโครงสร้างของ Header ทั้งหมด โดยใช้วแปลง Header ทำหน้าที่ในการแปลง Header ของ IPv6 ให้เป็น IPv4
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย
IPv4 ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น 192.168.1.1 หรือ 203.97.45.200 มาจากเลขฐานสอง(มีเลข 1 กับเลข 0 เท่านั้น) จำนวน 32 บิท ตัวอย่าง
110000001010100000000001000000001
ถ้าเป็น IP แบบนี้ IP เดียว คงจะพอจำได้ แต่เวลาอ้างถึง IP คงจะบอกกัน หนึ่ง หนึ่ง ศูนย์ ศูนย์.......... เป็นที่ลำบาก ทั้งคนบอกและคนฟัง เพื่อให้สื่อถึงกันได้ง่ายขึ้น จึงใช้วิธีเปลี่ยนเป็นเลขฐานสิบ ที่เราคุ้นเคย แต่ถ้าเปลี่ยนทีเดียวทั้ง 32 บิท เป็นเลขฐานสิบแล้ว ก็ยังเป็นจำนวนสูงมาก ยากที่จะจดจำเช่นกัน จึงใช้แบ่งเลขฐานสอง 32 บิทที่ว่าเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 8 บิท 4 ช่วง จากนั้นก็แปลงเลขฐานสอง 8 บิทเป็นเลขฐานสิบแต่ละช่วงคั่นด้วย "." อธิบายมากไป อาจจะงงเปล่า ๆ ดูตัวอย่างดีกว่า
11000000 10101000 00000001 000000001 = 192.168.1.1
สำหรับท่านที่ไม่เคยเรียนวิธีการแปลงฐานเลข อาจจะงง ได้เลข 192.168.1.1 มาอย่างไร มาดูวิธีการแปลงฐานเลข กันสักหน่อยดีไหม สูตรการแปลงฐานเลข (จำไม่ได้เหมือนกัน นึก ๆ เอา ถ้าผิดขออภัย)
N*B(x-1)
เมื่อ
N คือจำนวนเลขที่เราเห็น 0 หรือ 1 สำหรับเลขฐานสอง ถ้าเป็นฐานอื่น ก็จะมีเลชมากกว่านี้ เช่น ฐานแปด ก็จะมีเลข 0 - 7
B คือฐานเลข ในที่นี้ เท่ากับ 2 เพราะเป็นฐานสอง ถ้าฐานแปด B ก็จะเท่ากับแปด
X เป็นหลักที่เลข N อยู่
ว่าไปแล้วผมก็ชักมึน ๆ ไม่รู้ว่าสูตรจริง ๆ เป็นแบบนี้เปล่า มาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า
11000000 = 1*27 + 1*26 + 0*25+ 0*24 + 0*23 + 0*22 + 0*21 + 0*20
________= 128 + 64 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0
________= 192
10101000 = 1*27 + 0*26 + 1*25+ 0*24 + 1*23 + 0*22 + 0*21 + 0*20
________= 128 + 0 + 32 + 0 + 8 + 0 + 0 + 0
________= 168
00000001 = 0*27 + 0*26 + 0*25+ 0*24 + 0*23 + 0*22 + 0*21 + 1*20
________= 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 1
________= 1
พอว่าเรื่องการแปลงฐานเลข ทำให้นึกได้ เมื่อก่อนนี้ ไม่เข้าใจเลย เช่น เวลา Network admin ให้มาว่า เน็ตเวอร์กคุณคือ 203.46.246.64/28 นะ เราก็พอรู้ว่า /28 น่ะคือ netmask แล้วมันคือ netmask เท่าไร หาได้อย่างไร ตอนหลังจึงทราบว่า 28 มาจาก mask ตัวเลข 1 ไป 28 บิท(ของ 32 บิท) ที่เหลือเป็น 0 หมด เขียนเป็นเลขฐานสอง 8 บิท 4 ชุดได้ว่า
11111111 11111111 11111111 11110000 พอรู็ว่าเป็นแบบนี้ ก็แปลงเป็นฐานสิบจากวิธีการข้างบนได้ว่า 255.255.255.240 จึงหายสงสัยไปได้
IPv6 addresses หน้าตาเป็นอย่างไร ?
IPv4 คือเลขฐานสอง จำนวน 32 บิท ซึ่งก็ยากแก่การจำแล้ว มาดู IPv6 กันบ้าง ประกอบด้วยเลขฐานสอง จำนวน 128 บิท ครับท่าน ถ้าจะคิดว่า จะเป็น IPs ต่าง ๆ กันได้กี่ IPs ก็หาได้จาก
2^128-1: 340282366920938463463374607431768211455
คงเป็นไปไม่ได้ ที่ใครจะจำ 128 บิท IPs ได้ ถึงแม้จะแปลงเป็นเลขฐานสิบแล้วก็ตาม เพราะเป็นเลขถึง 39 หลัก ดังนั้นผู้ค้นคิด จึงตัดสินใจใช้เลขฐาน 16 แทน เพราะ 4 บิทของเลขฐานสอง แปลงเป็นเลขฐาน 16 ได้ 1 หลักพอดี คือ 0-9 จากนั้นก็ใช้ a-f แทน 10-15 (ถ้าใครไม่รู้จักเลขฐาน 16 ก็คือหนึ่งหลักมีเลขเริ่มต้นจาก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 a b c d e f) ดังนั้นเลข ip ก็จะเป็นเลขฐาน 16 จำนวน 32 หลัก (128/4)
ffffffffffffffffffffffffffffffff
ซึ่งก็ยังจำและเขียนยากอยู่ดี หรือว่าเขียน ตกไปหนึ่งตัว ก็จะทำให้ผิดความจริงไปได้ เพื่อให้สังเกตุเห็นได้ง่าย ผู้ค้นคิดจึงกำหนดให้ใช้ ":" ขั้น แต่ละ 16 บิท(ฐานสอง) หรือ 4 หลักของเลขฐาน 16 ได้ผลเป็น
ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff
ตัวอย่าง IPv6 address
3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566
เลข 0 ที่นำหน้า ของแต่ละ 16 บิท สามารถละไว้(ไม่ต้องเขียน)ได้
3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566 -> 3ffe:ffff:100:f101:210:a4ff:fee3:9566
ในแต่ละ 16 บิทบล็อค ถ้ามีแต่เลข 0 สามารถแทนด้วย "::" แต่ห้ามเขียนแบบนี้ ":::"
3ffe:ffff:100:f101:0:0:0:1 -> 3ffe:ffff:100:f101::1
การลดรูปมากที่สุด ก็คือ localhost address
0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001 -> ::1
IPv4 แล้วทำไมถึงเป็น IPv6 ทำไมไม่เป็น IPv5
4 บิทแรกของ IP header จะถูกกันไว้เป็นตัวบอกเวอร์ชั่นของ IP ดังนั้นเวอร์ชั่นของ IP ที่จะเป็นได้คือ 0 - 15
4 ถูกนำมาใช้แล้ว สำหรับ IPv4 ในปัจจุบัน
5 สำรองไว้ใช้สำหรับ Stream Protocol (STP, RFC 1819 / Internet Stream Protocol Version 2) ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ยังไม่ได้นำมาใช้งาน
ดังนั้นเลขที่เหลือตัวต่อไปก็คือ 6 ด้วยเหตุนี้ จึงเป็น IPv6
URL
Http://Limux.sra.cattelecom.com/new/Ipv6.HTML
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552
Routing Protocol
คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับNetwork Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย
การทำงานของ Router
Router เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย (network)
Router หน้าที่หลักของคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย
การเชื่อมต่อของ Router
การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายผ่านทาง WAN หรือโครงข่ายสาธารณะ เช่น ISDN หรือ การเช่าคู่สาย 64K ขึ้นไป เราเรียกว่า WAN Router
การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายชนิดติดตั้งบนแลน เราเรียกว่า Local Router บางครั้งจะถูกเรียกว่า Internal Router
การจัดวางตำแหน่งของ Router
การจัดวาง Router ที่เชื่อมต่อกันบน WAN คือการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ 80/20 %
80% คือ ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อสารกันได้ภายในเครือข่ายเดียวกัน
20% คือ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่จะข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายได้
ในกรณีที่มีเครือข่าย หลายเครือข่ายติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และต้องการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างกัน ท่านจะต้องพิจารณาใช้ Switching Hub แบบ Layer 3 หรือ พิจารณาเพื่อติดตั้ง Router ในรูปแบบของเซิร์ฟเวอร์นั่นคือการติดตั้งการ์ดแลนหลายชุดบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง
ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ไม่เกิน 200 เมตร ท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTP
อัตราความเร็วที่ต้องการ
อัตราความเร็ว หมายถึง ความเร็วของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายในระดับของข้อมูลข่าวสาร โดยคิดอัตราเมกกะบิตต่อวินาที หรือที่เรียกว่าค่า Throughput
ถ้าปริมาณข้อมูลข่าวสารมีขนาดเล็กหรือปานกลางวิ่งที่ความเร็วไม่เกิน 100 Mbps และมีราคาถูก ท่านควรเลือกใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์
ถ้าข้อมูลข่าวสารวิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายมีมาก (มากในระดับ 80% ขึ้นไป) เลือกใช้ความเร็วระดับ Gigabit โดยติดตั้งการ์ดแลนทั้งสองบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมต่อเข้ากับ Switches Hub ที่ติดตั้ง Gigabit Modules ทั้ง 2 ด้านบนเครือข่าย
การเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่าย
การเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ควรเลือกใช้ Layer 3 Switching Hub แทน เนื่องจากอัตราความเร็ว รวมทั้งปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ข้ามไปมาหลายเครือข่ายสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อสัญญาณที่ใช้
สื่อสัญญาณที่ใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงข้อจำกัดของการเชื่อมต่อเครือข่าย
ใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์และใช้การ์ดแลนแบบ 100Base-FX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic แบบ 2 Core (2 Strand) ขนาด 62.5/125 ความยาวคลื่นขนาด 850 nm ท่านสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทาง 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน
Layer 3 Switches Hub และเป็นระบบ 100Base-FX มีระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ต่างก็ใช้ Switching Hub มาเชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร แต่ถ้าใช้ระบบ 1000Base-FX เชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลถึง 6-10 กิโลเมตร
ปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย
Router ที่ทำจาก Server เหมาะสำหรับ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
Router ที่ทำจาก Switches แบบ Layer 3 เหมาะสำหรับ การสื่อสารข้อมูลที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย 80% อีก 20% เป็นการสื่อสารภายใน
Layer 3 Switches
Router ที่ทำงานบน WAN ตัว Layer 3 Switches Hub ให้การสนับสนุนโปรโตคอลเลือกเส้นทาง มากมายหลายแบบ
ให้การสนับสนุนโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ RIP Version 1,2 รวมทั้ง OSPF (Open Short Path First)
เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่มีเครือข่ายมาก กระจายไปตามจุดหรืออาคารต่างๆขององค์กร
มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Collapse back Bone
Routing Protocol : โปรโตคอลเลือกเส้นทาง
หัวใจหลักของ Router คือการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ในการคำนวณและจัดหาเส้นทาง ที่ดีที่สุด ที่เร็วที่สุด ไปสู่ปลายทางในรูปแบบของ Software
โปรโตคอลเลือกเส้นทาง แบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ใหญ่ ได้ 2 แบบ ดังนี้
ระดับขั้น Interior Domain
- Distance Vector ซึ่งเป็น Routing Protocol ที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางเป็นตัวกำหนด
- Link State ซึ่งอาศัยสถานะ การเชื่อมต่อเป็นตัวกำหนด
ระดับขั้น Exterior
- เป็น โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ที่นำมาใช้เพื่อเชื่อมกลุ่มของ Router จำนวนมากหลายๆกลุ่มเข้าด้วยกัน ได้แก่ BGP
Routing Information Protocol (RIP)
เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Distance Vector ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายขนาด เล็กไปจนถึงขนาดกลาง
เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางมาตรฐานที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายใด
มี RIP Version 1 ที่ได้รับมาตรฐาน RFC 1058
เป็นโปรโตคอลที่เรียบง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดตั้ง
คุณลักษณะการทำงานของ RIP
RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop
RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที
การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่
การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น
การทำงานขั้นพื้นฐานของ RIP Version 1
มีการ Boot Router ขึ้น เส้นทางที่ Router จะต้องให้ความสนใจเป็นลำดับแรกได้แก่ เส้นทางที่เชื่อมต่อกับ เครือข่ายปลายทางโดยตรง
ทำการ แพร่กระจายข่าวสารเกี่ยวกับเครือข่ายที่มันรู้จักไปทั่วเครือข่ายทุกเครือข่าย ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง
RIP จะรับฟังการแพร่ข่าวสาร โดยข่าวสารที่ใช้แพร่กระจายไปทั่ว (Broadcast) นี้ เป็นข่าวสารเพื่อการปรับปรุงเส้นทาง
การรับฟังการแพร่ข่าวสารไปทั่วของ Router เพื่อนบ้าน จะทำให้ Router ที่กำลังรับฟังอยู่ สามารถล่วงรู้เส้นทาง ไปสู่เครือข่าย อื่นๆ ที่ตนเองไม่รู้มาก่อน
RIP ใช้ค่า Metric ประเภท Hop โดยอาศัยค่าที่แสดงจำนวน Hop เป็นหลักเกณฑ์ จำนวนของ Hop ที่ Router นับได้ต้องไม่เกิน 15 Router ตลอดเส้นทางที่จะเดินทางผ่าน
Router ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน จะถือว่า ต่างก็เป็น Hop หนึ่งในตารางเส้นทางของตนเอง
การใช้ค่า Metric ของ RIP
จำนวนของ Hop ที่ใช้เดินทางไปสู่ปลายทาง หมายถึง จำนวนของ Router ที่ Packet จะต้องเดินทางผ่าน ไปสู่เครือข่ายปลายทาง
เส้นทางเดินที่ดีที่สุด ไม่ได้หมายความว่า Router จะได้เส้นทางที่ดีที่สุด เสมอไป
ตัวอย่าง เช่น เพื่อให้ Router A เดินทางไปสู่ Router B ตัว RIP จะเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อความเร็ว 56K แทนที่จะเลือก เส้นทางความเร็วสูงกว่า อย่างเช่น 1.5 Mbps เนื่องจากว่า Router A เห็นว่า การเดินทางไปสู่ B โดยผ่าน Router C เป็นการใช้ 2 Hop โดยไม่สนใจว่า การเดินทางอ้อมผ่านทาง Router C จะมีความรวดเร็วกว่า
การเกิดปัญหา Routing Loop
Triggered Update หมายถึงการปรับปรุงตารางเส้นทางทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวหรือถึงเวลาการปรับปรุงเสียก่อน)
การเกิดปัญหา Routing Loop
RIP คือการที่ Router ไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจภาพรวมของเครือข่ายทั้งหมด
เป็นเรื่องของ Packet ที่วิ่งกลับไปกลับมาระหว่าง Router 2 ตัวหรือมากกว่า โดยไม่สามารถหลุดออกไปจากวงจรสะท้อนกลับไปกลับมานี้ได้ บางครั้งฝรั่งเรียกลักษณะนี้ว่า Count to Infinity
URL
Routing Protocol - วิกิพีเดีย
Routing Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router ...
th.wikipedia.org/wiki/Routing_Protocol - แคช - ใกล้เคียง
PPT] Routing Protocal
รูปแบบไฟล์: Microsoft Powerpoint - ดูในรูปแบบ HTML
BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อ Router และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมนDomain ...
wiki.nectec.or.th/.../SompongWankham_Deliverabe?...Routing... - ใกล้เคียง
วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552
ข้อสอบ 20 ข้อเรื่องเราเตอร์
1.เราเตอร์จะมองและแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า อะไร
ก. network C
ข. Segment
ค. routing table
ง. static route
ตอบข้อ ข เซกเมนต์ (Segment) พร้อมทั้งกำหนดตัวเลขแอดเดรส (Address) เพื่อให้เป็นตำแหน่งที่อยู่ การกำหนดแอดเดรสของเครือข่ายแต่ละเซกเมนต์และคอมพิวเตอร์แต่ละตัวนั้นจะช่วยให้เราเตอร์
2.การแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกเป็นกี่ประเภท
ก.1
ข.3
ค.2
ง.4
ตอบข้อ ค 2 ประเภทคือ interior routing protocol และ exterior routing protocol
3.ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล ใดเอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล
ก. routing table
ข. static route
ค. network C
ง. Segment
ตอบข้อ ก routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก
4.ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย มีไม่เกิน กี่เมตร
ก.500 เมตร
ข.100 เมตร
ค.250 เมตร
ง.200 เมตร
ตอบข้อ ง 200 เมตร ท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTP
5.ในกรณีที่ท่านต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ท่านควรพิจารณาเลือกใช้ layerใด
ก. Layer 4 Switching Hub
ข. Layer 2 Switching Hub
ค. Layer 3 Switching Hub
ง. Layer 1 Switching Hub
ตอบข้อ ค Layer 3 Switching Hub แทน เนื่องจากอัตราความเร็ว รวมทั้งปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ข้ามไปมาหลายเครือข่ายสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
6.โดยทั่วไปหากวิ่งที่ 100 Mbps แต่ละพอร์ตของ Switches จะสามารถส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบของเฟรมได้มากถึงกี่เฟรมต่อวินาที
ก.190,000 เฟรมต่อวินาที
ข.148,000 เฟรมต่อวินาที
ค.145,000 เฟรมต่อวินาที
ง.140,000 เฟรมต่อวินาที
ตอบข้อ ข 148,000 เฟรมต่อวินาที โดยหากเทียบกันกับ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์แล้ว Layer 3 Switching จะเร็วกว่ากันมาก
7.ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องพีซีทั่วไป โดยระบบปฏิบัติการของ Router เราเรียกว่า
ก. Cisco IOS
ข. Layer
ค. Cisco
ง. Switching
ตอบข้อ ก Cisco IOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่จะทำให้ท่านสามารถ จัดตั้งค่า Configuration รวมทั้งการบริหารจัดการ Router รวมทั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อกับ Router ของ Cisco ได้โดยสะดวก
8.ข้อใดเป็นคำสั่งที่ใช้แสดงการจัด Configuration ของระบบ Hardware
ก.show Version
ข. show Memory
ค. show Protocols
ง. show Processes
ตอบข้อ ก show Versionเป็นคำสั่งที่ใช้แสดงการจัด Configuration ของระบบ Hardware เช่น Version ของ Software ที่ใช้ใน Router ชื่อของ Configuration File อันเป็นต้นฉบับ รวมทั้ง Boot Images
9.เครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายส่งข้อมูลแบบ coaxial cable ได้ Router มีการทำงานในระดับชั้นที่เท่าใด
ก.2
ข.3
ค.4
ง.5
ตอบข้อ ข ระดับชั้นที่ 3 ของ OSI คือ Network Layer และสามารถรับส่งข้อมูลที่เป็นกลุ่มข้อมูลหรือ Frame จากต้นทางไปยังปลายทางได้
10. คำสั่งที่ใช้เคลียร์ หน้าที่การทำงานต่างๆออกทั้งหมดคือ
ก. Connect
ข. Clock
ค. Clear
ง. Configure
ตอบข้อ ค Clear
11.หมายเลข IP address ที่มีให้ใช้งานใกล้จะหมด เนื่องจาก IPv4 มีขนาด กี่บิต
ก. 30 บิต
ข. 32 บิต
ค. 33 บิต
ง. 34 บิต
ตอบข้อ ข 32 บิต ทำให้สามารถกำหนดค่า IP address ได้ไม่เพียงพอสำหรับอนาคต ทำให้ไม่สามารถขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อีกต่อไป
12.ในการติดต่อโดยโปรโตคอล IPv6 สามารถกำหนดลักษณะการทำงานได้กี่แบบ
ก.2
ข.5
ค.3
ง.7
ตอบข้อ ค 3 แบบ คือ unicast, multicast และ ancycast
13. คำสั่งใดใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
ก. Ping
ข. rlogin
ค. mtrace
ง. resume
ตอบข้อ ก Ping
14. อุปกรณ์ Router มีหน้าที่ทำอะไร
ก.ส่งข้อมูล
ข.รับข้อมูล
ค.เชื่อมโยงเครือข่ายที่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน
ง.จัดเก็บข้อมูล
ตอบข้อ ค เชื่อมโยงเครือข่ายที่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะต่างหรือเหมือนกันในด้านกายภาพก็ตาม
15.หมายเลข IP address ทุกค่าจะมีรูปแบบที่เขียนให้เข้าใจเหมือนกันคือ เป็นตัวเลขกี่ชุด
ก.2 ชุด
ข.3 ชุด
ค.6 ชุด
ง.4 ชุด
ตอบข้อ ง 4 ชุดคั่นด้วยจุด เพื่อให้อ่านและจกจำได้ง่าย IP address มีขนาด 32 บิต เช่น 204.283.255.20 เป็นต้น
16.เครือข่ายที่มีหมายเลขไอพีแอดเดรส 192.168.30.0 ออกเป็นเครือข่ายย่อยๆ (Subnet) จำนวน กี่เครือข่าย
ก.5 เครือข่าย
ข.6 เครือข่าย
ค.7 เครือข่าย
ง.8 เครือข่าย
ตอบข้อ ข 6 เครือข่าย จากนั้นนำมาเชื่อมต่อกัน เพื่อการสื่อสารกันด้วย Router
17.ปริมาณข้อมูลข่าวสารมีขนาดเล็กหรือปานกลางวิ่งที่ความเร็วไม่เกินกี่ mbps
ก.100 mbps
ข.150 mbps
ค.300 mbps
ง.200 mbps
ตอบข้อ ก 100 Mbps และมีราคาถูก ท่านควรเลือกใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์เช่นกัน
18.ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ต่างก็ใช้ Switching Hub มาเชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลกี่กิโลเมตร
ก.4 กิโลเมตร
ข.3 กิโลเมตร
ค.2 กิโลเมตร
ง.1 กิโลเมตร
ตอบข้อ ค 2 กิโลเมตร (หากกำหนดให้ Switches ทั้งหมดทำงานเป็น Full Duplex)
19.รูปแบบการเชื่อมต่อแบบนี้ท่านไม่จำเป็นต้องใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) แต่ท่านสามารถใช้ วิธีการ Routing แบบ ที่เรียกว่าว่าอะไร
ก. Static
ข. Hybrid
ค. Spoke
ง. Hub
ตอบข้อ ก Static แทน ซึ่งวิธีนี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง อีกทั้ง Router ที่ใช้มีขนาดเล็ก ราคาถูก ติดตั้งง่าย
20.การเชื่อมต่อแบบ Mesh สามารถมีได้กี่รูปแบบ
ก. 3 รูปแบบ
ข. 2 รูปแบบ
ค. 4 รูปแบบ
ง. 5 รูปแบบ
ตอบข้อ ข 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบ Partial หรือ Semi Mesh และแบบ Full Mesh
ข้อสอบ 60 ข้อ
แบบทดสอบระบบการสื่อสารข้อมูล 60 ข้อRouter
1.ข้อใดคือ 11001010.00011101.00111001.00000010
ก.202.50.5.3
ข.202.53.3.2
ค.202.29.57.2
ง.202.29.5.2
เฉลย ง. มาจาก 128+64+8+2.16+8+4+1.32+16+8+1.2 จะได้ = 202.29.5.2
2.ข้อใดคือ 01111101.00011000.10011011.01000010
ก.125.20.155.66
ข.125.24.155.66
ค.125.50.15.66
ง.120.25.55.58
เฉลย ข มาจาก 64+32+16+8+4+1.16+8.128+16+8+2+1. 128+2=125.24.155.66
3.42.58.5.29 คือ IP Class อะไร
ก.A
ข.B
ค.C
ง.D
เฉลย A เพราะ IP Class A เริ่มที่ 0-126 หรือ 127
4. IP Class A รองรับได้กี่ hosts
ก.2^24hosts
ข.2^16 hosts
ค.2^14 hosts
ง.2^8 hosts
เฉลย ก จากNetwork mask Class A = 255.0.0.0= 255.00000000.00000000.00000000 หา hostsโดยนำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2=2^24
5. .IP Private Class C รองรับได้กี่ hosts
ก.2^10 hosts
ข.2^16 hosts
ค.2^14 hosts
ง.2^8 hosts
เฉลย ง จากNetwork mask Class C = 255.255.255.0= 255.255.255.00000000 หา hostsโดยนำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2=2^8
6.คลาสของ Network ข้อใดคือ Class A
ก.N.N.N.H
ข.N.H.H.H
ค.N.H.N.H
ง.H.H.H.N
เฉลย ข เพราะ Network mask Class A = 255.0.0.0 = 255 คือหมายเลข Subnet markแทนด้วยN 0 คือ hostsแทนด้วย H
7.คลาสของ Network ข้อใดคือ Class C
ก.N.N.N.H
ข.N.H.H.H
ค.N.H.N.H
ง.H.H.H.N
เฉลย ก Network mask Class C = 255.255.255.0 = 255 คือหมายเลข Subnet markแทนด้วยN 0 คือ hostsแทนด้วย H
8. Private IP Addresses Class B คือ
ก.192.168.0.0 through 192.168.255.255
ข.172.16.0.0 through 172.16.255.255
ค.10.0.0.0 through 10.255.255.255
ง.172.16.0.0 through 173.31.255.255
เฉลย ค 10.0.0.0 through 10.255.255.255
9. Broadcast Address Class C คือ
ก.192.168.0.0 through 192.168.255.255
ข.172.16.0.0 through 172.16.255.255
ค.10.0.0.0 through 10.255.255.255
ง.172.16.0.0 hrough 173.31.255.255
เฉลย ง 172.16.0.0 through 173.31.255.255
10. ข้อใดคือ Private IP Address
ก.12.0.0.1
ข.172.20.14.36
ค.168.172.19.39
ง.172.33.194.30
เฉลย ข 172.20.14.36
11. Subnet mask ของ / 17 คือ
ก.255.255.128.0
ข.255.248.0.0
ค.255.255.192.0
ง.255.255.248.0
เฉลย ก 255.255.128.0
จาก Subnet mask ของ / 17 คือ 11111111.11111111.10000000.00000000
12. Subnet mask ของ / 25 คือ
ก.255.255.128.0
ข.255.255.255.128
ค.255.255.255.0
ง.255.255.255.240
เฉลย ข 255.255.255.128
จาก Subnet mask ของ / 25 คือ 11111111.11111111.11111111.10000000
13. Subnet mask ของ / 20 คือ
ก.255.255.240.0
ข.255.240.0.0
ค.255.255.255.240
ง.255.192.0.0
เฉลย ก.255.255.240.0
จาก Subnet mask ของ / 20 คือ 11111111.11111111.11110000.00000000
14. Network maskของ Class B คือ
ก.255.0.0.0
ข.255.255.0.0
ค.255. 255.255.0
ง.ถูกเฉพาะข้อ ข
เฉลย ข. 255.255.0.0
จาก Network maskของ Class B คือ 11111111.11111111.00000000.00000000
15. Network maskของ Class C คือ
ก.255.0.0.0
ข.255.255.0.0
ค.255. 255.255.0
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ค 255. 255.255.0
จาก Network maskของ Class C คือ 11111111.11111111.11111111.00000000
16.สัญลักษณ์ของการ mask คือ
ก. #
ข.\
ค..
ง. /
เฉลย ง /
17.CIDR คือ
ก. การจัดสรร Subnet แบบไม่แบ่งคลาส
ข.การจัดสรร IP แบบไม่แบ่งคลาส
ค.การหาเส้นทางแบบไม่แบ่งคลาส
ง.การจับรอดแคแบบสัญญาณข้อมูลแบบไม่แบ่งคลาส
เฉลย ก. การจัดสรร Subnet แบบไม่แบ่งคลาส
18.การแบ่ง subnetแบบ mask 3bit ของ Class C มี CIDR เท่ากับ
ก./21
ข./25
ค./27
ง./29
เฉลย ค/27
จาก การแบ่ง subnetแบบ mask 3bit ของ Class C มี CIDR เท่ากับ 11111111.11111111.11111111.11100000
19.การแบ่ง subnetแบบ mask 5bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
ก./15
ข./17
ค./19
ง./21
เฉลย ง /21
จาก การแบ่ง subnetแบบ mask 5bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
11111111.11111111.11111000.00000000
20.การแบ่ง subnetแบบ mask 8bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
ก./16
ข./20
ค./24
ง./27
เฉลย ค/24 จาก การแบ่ง subnetแบบ mask 8bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ11111111.11111111.11111111.00000000
21.การแบ่ง subnetแบบ mask 5 bit ของ Class A มี CIDR เท่ากับ
ก./13
ข./21
ค./30
ง.ผิดทุกข้อ
เฉลย ก คือ Class A =11111111.11111000.00000000.00000000 1 bits = 13 ตัว
22. จำนวน Host ของการ mask 4 bit ของ Class C เท่ากับเท่าใด
ก. 2024 Hosts
ข. 254 Hosts
ค.18 Hosts
ง. 14 Hosts
เฉลย ง การ Mask 4 bit ของ Class C = 11111111.11111111.11111111.11110000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2 = 2^4-2 = 14 Host และรองรับได้ไม่เกิน 14 Host
23.จำนวน Host ของการ mask 5 bit ของ Class C เท่ากับเท่าใด
ก. 2 Hosts
ข. 6 Hosts
ค.14 Hosts
ง. 30 Hosts
เฉลย ข การ Mask 5 bit ของ Class C = 11111111.11111111.11111111.11111000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2 = 2^3-2 = 6 Host และรองรับได้ไม่เกิน 6 Host
24.จำนวน Subnet ของการ mask 4 bit ของ Class A เท่ากับเท่าใด
ก. 2 Subnets
ข. 6 Subnets
ค. 14 Subnets
ง. 30 Subnets
เฉลย ค คือ Mask 4 bit ของ Class A = 11111111.11110000.00000000.00000000 นำ 4 bit มายกกำลังด้วยเลขฐาน2 = 2^4 – 2 = 14
25.จำนวน Subnet ของการ mask 6 bit ของ Class B เท่ากับเท่าใด
ก.14 Subnets
ข.30 Subnets
ค.62 Subnets
ง.126 Subnets
เฉลย ค คือ Mask 6 bit ของ Class B = 11111111.11111111.11111100.00000000 นำ 6 bit มายกกำลังด้วยเลขฐาน2 = 2^6 – 2 = 62
26.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.224
ก. 28 Hosts
ข.32 Hosts
ค.30 Hosts
ง. 62 Hosts
เฉลย ค 255.255.255.224 = 11111111.11111111.11111111.11100000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลัง ด้วยเลขฐาน2 = 2^5-2 = 30 Host และรองรับได้ไม่เกิน 30 Host
27.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
ก.28 Hosts
ข.32 Hosts
ค.30 Hosts
ง.62 Hosts
เฉลย ง คือ 255.255.255.192 = 11111111.11111111.11111111.11000000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลัง ด้วยเลขฐาน2 = 2^6-2 = 62 Host และรองรับได้ไม่เกิน 62 Host
28.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.240
ก. 4049 Hosts
ข. 512 Hosts
ค.1024 Hosts
ง.128 Hosts
เฉลย ก คือ
29.ต้องการใช้ Subnet จำนวน 29 Subnet จะยืม (mask) จาก คลาส A เท่าไหร่
ก.3
ข.4
ค.5
ง.6
เฉลย ค Mask 5 bit ของ Class A = 11111111.11111000.00000000.00000000 นำ 5 bit มายกกำลังด้วยเลขฐาน2 = 2^5 – 2 = 30 ซึ่งใกล้เคียงกว่า
30.จากข้อที่ 29 Subnet mask ที่แสดงคือ
ก.255.192.0.0
ข.255.255.255.248
ค.255.255.248.0
ง.255.248.0.0
เฉลย ง Mask 5 bit ของ Class A = 11111111.11111000.00000000.00000000 = 128+64+32+16+8+4+2+1.128+64+32+16+8 = 255.248.0.0
31.ข้อใดไม่ใช่ Subnetwork ID สำหรับเครื่องที่ใช้ IP Address หมายเลข 200.10.68/28
ก.200.10.5.56
ข.200.10.5.32
ค.200.10.5.64
ง.200.10.5.0
เฉลย ก.200.10.5.56
subnet id > ip > network id
.0 >> ip >> .15 .16 >> ip >> .31 .32 >> ip >> .47 .48 >> ip >> .63 .64 >> ip >> .79
32.ข้อใดคือ Network Address ของหมายเลข 172.16.0.0/19
ก.8 Subnet; 2,046 Hosts
ข.8 Subnet; 8,192 Hosts
ค.7 Subnet; 30 Hosts
ง.7 Subnet; 62 Hosts
เฉลย ข. 2^13 = 8192
33.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address หมายเลข 172.16.210.0/22
ก.172.16.208.0
ข.172.16.254.0
ค.172.16.107.0
ง.172.16.254.192
เฉลย
34.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 201.100.5.68/28
ก.201.100.5.31
ข.201.100.5.64
ค.201.100.5.65
ง.201.100.51
เฉลย ข. 201.100.5.64
subnet id > ip > network id
.0 >> ip >> .15
.16 >> ip >> .31
.32 >> ip >> .47
.48 >> ip >> .63
.64 >> ip >> .79
35.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 172.16.112.1/25
ก.172.16.112.0
ข.172.16.0.0
ค.172.16.96.0
ง.172.16.255.0
เฉลย ก.172.16.112.0
การกำหนด IP Address 192.168.1.1/28 จงคำนวณหา Subnetwork ID IP Usage และBroadcast แล้วตอบคำถาม
36.หมายเลขใดไม่สามารถใช้ได้
ก.192.168.1.13
ข.192.168.1.226
ค.192.168.1.31
ง.192.168.1.253
เฉลย ค.192.168.1.31
37.หมายเลขใดเป็น subnetwork ID ของ Subnet ที่ 00001000
ก.192.168.1.13
ข.192.168.1.16
ค.192.168.1.31
ง.192.168.1.32
เฉลย ง.192.168.1.32
38.หมายเลขใดเป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 000010000
ก.192.168.1.13
ข.192.168.1.226
ค.192.168.1.31
ง.192.168.1.253
เฉลย ค.192.168.1.31
39.หมายเลขใดเป็น subnetwork ID ของ Subnet ที่ 001100000
ก.192.168.1.63
ข.192.168.1.45
ค.192.168.1.48
ง.192.168.1.111
เฉลย ค.192.168.1.48
กำหนด IP Address 192.168.1.1/28 จงคำนวณหา Sub Network ID , IP Usage และBroadcast แล้วตอบคำถาม
จาก /28
11111111.11111111.11111111.11110000
Subnet = 8
Hosts = 14 ( 2 ^4 = 16 -2 = 14 Hosts )
Net ID IP Usage Broadcast ID
0 1-14 15
16 17-30 31
32 33-46 47
48 49 -62 63
64 63-78 79
80 81-94 95
96 97 - 110 111
ตารางที่ 1 แสดงการหาค่า Sub Network ID , IP Usage และ Broadcast ID ของ /28
40.หมายเลขใดเป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 001100000
ก.192.168.1.63
ข.192.168.1.45
ค.192.168.1.48
ง.192.168.1.100
เฉลย ก. 192.168.1.63 อธิบาย
(อ้างอิงจากตารางที่ 1)
41.หมายเลขใดเป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 001100000
ก.192.168.1.50
ข.192.168.1.96
ค.192.168.1.81
ง.192.168.1.10
เฉลย ก. 192.168.1.50อธิบาย
(อ้างอิงจากตารางที่ 1)
กำหนด IP Address 192.168.1.1/27 จงคำนวณหา Subnetwork ID , IP Usage และBroadcast แล้วตอบคำถาม
จาก /27
255.255.255.224
Subnet = 6
Hosts = 30 ( 2 ^5 = 30 Hosts )
Net ID IP Usage Broadcast ID
0 1-30 31
32 33-62 63
64 65-94 95
96 97-126 127
128 129-158 159
160 161-190 191
192 193-223 223
224 225-254 255
ตารางที่ 2 แสดงการหาค่า Sub Network ID , IP Usage และ Broadcast ID ของ /27
42.ข้อใดไม่เข้าพวก
ก.192.168.1.1
ข.192.168.1.95
ค.192.168.33
ง.192.168.1.124
เฉลย ข . 192.168.1.95 อธิบาย
เพราะ ข้อ ก, ค , ง เป็น IP Usage แต่ ข้อ ข. เป็น Broadcast ID ซึ่งแตกต่างจากกลุ่ม
(อ้างอิงจากตารางที่ 2)
43.ข้อใดไม่เข้าพวก
ก.192.168.1.0
ข.192.168.1.96
ค.192.168.32
ง.192.168.1.159
เฉลย ง. 192.168.1.159 อธิบาย
เพราะข้อ ก ,ข ,ค เป็น Net ID แต่ข้อ ง. เป็น Broadcast ID ซึ่งแตกต่างจากกลุ่ม
(อ้างอิงจากตารางที่ 2)
44.หมายเลขใดไม่สามารถใช้ได้
ก.192.168.1.193
ข.192.168.1.161
ค.192.168.1.127
ง.192.168.1.60
เฉลย ค. 192.168.1.127 อธิบาย
เพราะ ข้อ ค. เป็น Broadcast ID
45.ข้อใดคือ IP Usage ของ Sub Network IP 192.168.1.96
ก.192.168.1.0 – 192.168.1.31
ข.192.168.1.65.192.168.1.94
ค.192.168.1.97- 192.168.1.126
ง.192.168.1.95- 192.168.1.127
เฉลย ค. 192.168.1.97- 192.168.1.126 (อ้างอิงจากตารางที่ 2)
จงใช้ภาพข้างล่างนี้ตอบคำถามข้อ 46-50
กำหนดให้ IP Private Network Class C 192.168.1.1
46. Net_D ควรใช้ / อะไร
ก./26
ข./27
ค./28
ง./29
เฉลย ข้อ ข. /27 อธิบาย
จากโจทย์ Net_D รองรับ 25 Hosts
/27 เขียน Suubnet mask ได้ 11111111.11111111.11111111.11100000
Host = 2^5 = 32 – 2 = 30 Host (ซึ่งใกล้เคียงและสามารถรองรับ Net_D ได้)
47. จาก Network ข้างต้น ใช้ Subnetwork อะไรจึงรองรับได้ทุก Network
ก. /26
ข./27
ค./28
ง./29
เฉลย ข้อ ก. /26 อธิบาย
จากโจทย์ Network รองรับได้สูงสุดที่ 50 Hosts
/26 เขียน Subnet mask ได้ 11111111.11111111.11111111.11000000
Host = 2^6 = 64 – 2 = 62 Host ( ซึ่งใกล้เคียงและสามารถรองรับ Network ได้ทั้งหมด)
48. Net_ C มี หมายเลข Subnet mask อะไร
ก.255.255.255.192
ข.255.255.255.254
ค.255.255.255.248
ง.255.255.255.252
เฉลย ข้อ ง.255.255.255.252 อธิบาย
จากโจทย์ Net_ C รองรับได้ 2 Hosts
Subnet mask 255.255.255.252 หรือ 11111111.11111111.11111111.11111100
Host = 2^2 = 4 – 2 = 2 Host ( ซึ่งสามารถรองรับ Net_C ได้)
49. Net_ B มีหมายเลข Subnet mask อะไร
ก.255.255.255.192
ข.255.255.255.254
ค.255.255.255.248
ง.255.255.255.252
เฉลย ข้อ ก.255.255.255.192 อธิบาย
จากโจทย์ Net_B รองรับได้ 50 Hosts
Subnet mask 255.255.255.192 หรือ 11111111.11111111.11111111.11000000
Host = 2^6 = 64 – 2 = 62 Host (ซึ่งใกล้เคียงและสามารถรองรับ Net_B ได้)
50.หากใช้ /26 หมายเลข Sub Network IP ของ Network สุดท้ายคือ
ก.192.168.1.128
ข.192.168.1.192
ค.192.168.1.191
ง.192.168.1.255
เฉลย ข.192.168.1.192
51.จากภาพด้านบนเกิดการใช้คำสั่งใด
ก. Arp-a
ข.Net stat
ค.NSlookup
ง.tracert
เฉลย netstat
52จากภาพด้านบนเกิดหารใช้คำสั่งใด
ก. Arp-a
ข. Net stat
ค. NSlookup
ง. Ipconfig/all
เฉลย Arp –a
ที่มา http://dbsql.sura.ac.th/know/nt/chap8.htm
53.จากภาพด้านบนเกิดหารใช้คำสั่งใด
ก. .tracert-a
ข. Net stat
ค. NSlookup
ง. Ipconfig/all
เฉลย nslookup
ที่มา http://monetz.myfri3nd.com/blog/2008/05/07/entry-7
54.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู Computer Name คือ
ก. ipconfig
ข.nslookup
ค.hostname
ง.tracert
เฉลย hostname
ที่มา http://www.geocities.com/naphasoan/do9.html
55.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู IP และ subnet mask คือ
ก.ipconfig
ข.nslookup
ค.hostname
ง.tracert
เฉลย ipconfig
ที่มา http://www.siamfocus.com/content.php?slide=14&content=37
56.การตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางกับปลายทางคือ
ก.ipconfig
ข.nslookup
ค.hostname
ง.tracert
เฉลย tracert
ที่มา http://optimalcom.blogspot.com/2009/06/dos-network.html
57.Destination Host Unreachable หมายความว่า
ก.ติดตั้งIP ที่ Host ไม่ถูกต้อง
ข.ติดตั้ง Card LAN ไม่ถูกต้อง
ค.Host ไม่ถูกเชื่อมต่อกับเครื่อง PING
ง. Host ไม่ถูกเชื่อมต่อกับระบบ
เฉลย ติดตั้ง ip ไม่ตถูกต้อง
ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=48733.0
58. Tracert คือ
ก.การหาเส้นทางการเชื่อมต่อจากต้นทางไปปลายทาง
ข.การหาเส้นทางการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
ค.การตรวจสอบระบบสถานะของระบบเครือข่าย
ง.ตรวจสอบความผิดพลาดของ Packet
เฉลย ก.
ที่มา http://optimalcom.blogspot.com/2009/06/dos-network.html
59. การเข้าหน้า cmd ทำอย่างไรในครั้งแรก
ก.Start>run>cmd
ข.start>run>command
ค.start>allprogram>accessories>command prompt
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง
60.ARP (Address Resolution Protocol)หรือหมายเลข LAN card มีกี่ ไบต์
ก.6 Byte
ข.16 Byte
ค.8 Byte
ง.32 Byte
เฉลย ก
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
IEEE 802.3 Bus topology
มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่า “มีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ” ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps และใช้สายส่งชนิดต่างๆดังนี้
10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบ BNC ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว Tการทำงาน ตัวรับส่งสัญญาณจะอยู่บนอินเตอร์เฟสบอร์ดของแต่ละโหนด ใช้รับส่งสัญญาณที่โหนดของตนเองซึ่งต่างกับ 10Base5ที่อาจมีการใช้ตัวรับส่งสัญญาณร่วมกันระหว่างหลายสถาน10Base5 หรือ Thick Ethernet เป็นสายสีเหลืองและมีเครื่องหมายกาทุก 2.5 เมตร แสดงจุดที่จะเจาะเพื่อเกาะTransciever (ตัวรับส่งสัญญาณของแลนการ์ด)การทำงาน ทรานซีฟเวอร์หรือตัวรับส่งสัญญาณจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจสอบสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสาย หากตรวจพบว่ามีการชนกันของสัญญาณในสาย ตัวรับส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณพิเศษลงในสายเพื่อให้ตัวรับส่งสัญญาณรู้ด้วยว่ามีการชนกันของสัญญาณ สายของตัวรับส่งสัญญาณซึ่งยาวได้ถึง 50 เมตร จะเป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลตลอดจนสัญญาณควบคุมส่งไปมาระหว่างตัวส่งสัญญาณกับอินเตอร์เฟสบอร์ด สำหรับอินเตอร์เฟสบอร์ดจะมีชิปควบคุมซึ่งจะรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องของเฟรม พร้อมกับคำนวณผลรวมตรวจสอบแล้วส่งออกไป ส่วนการรับข้อมูล ชิปจะตรวจหาขอบเขตของเฟรมและคำนวณผลรวมตรวจสอบเพื่อตรวจความถูกต้องของข้อมูล อินเตอร์เฟต สบอร์ดบางตัวจะมับัฟเฟอร์สำหรับเก็บเฟรมข้อมูลเข้าออก และอาจมี DMA ( Direct Memory Access)ในการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างบอร์ดกับคอมพิวเตอร์ สายทั้งสอง มีปัญหาที่สำคัญคือ หากสายเคเบิลขาดหรือหัวต่อหลวมจะทำให้สัญญาณไฟฟ้าภายในสะท้อนอยู่ในสาย ทำให้การทำงานของระบบเสียหาย เราสามารถตรวจสอบคุณภาพของาสายได้โดยการส่งสัญญาณออกไปแล้ววัดระยะเวลาที่ส่งไปกับสะท้อนกลับมาถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าสายนั้นเสียหายแล้ว จึงมีการคิดค้นสายแบบใหม่คือ10Base-T ใช้สายคู่ตีเกลียวแบบเดียวกับสายโทรศัพท์ สายจากโหนดจะต่อเข้ากับ Hub ทำให้สามารถเพิ่มหรือลดโหนดในขณะทำงานอยู่ได้ หากสายขาดก็สามารถตรวจหาได้ง่าย ปกติจะส่งข้อมูลผ่านสายยาวถึงฮับได้ 100 เมตร แต่หากใช้สายคู่ตีเกลียวแบบ category 5 ส่งได้ถึง 150 เมตร 10Base-F ใช้เส้นใยแก้วนำแสงจึงทำให้ราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะหัวต่อและตัวหยุดสัญญาณ(Terminator) Terminator ใช้ติดที่ปลายสายเคเบิลเพื่อดูดสัญญาณไม่ให้ออกไปกระทบกับอากาศเพราะจะเกิดการสะท้อนกลับมารบกวนสัญญาณที่ส่งอยู่ ทนทานต่อคลื่นรบกวน ใช้เป็นแบ็กโบนเชื่อมระหว่างตึกหรือระหว่างฮับที่อยู่ห่างกัน ในกรณีที่ต้องการจะต่อแลนให้กว้างออกไปอีก สัญญาณที่ส่งจะเพี้ยนหรือเบาลงเนื่องจากระยะทางที่ไกลจึงต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ตัวทวนสัญญาณ (repeater)ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณที่ส่งมาแล้วทำการสร้างสัญญาณเดิมขึ้นมาใหม่แล้วทำการส่งต่อไป แต่เครื่อง 2 เครื่องต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 2.5 กิโลเมตร มีรีพีทเตอร์ไม่เกิน 4 ตัว ในเส้นทางเดียวกัน
การเข้ารหัสสัญญาณไฟฟ้าของแลน 802.3
เพื่อให้ฝั่งรับสามารถรับข้อมูล 1 หรือ 0 ได้ถูกต้องโดยไม่ต้องใช้สัญญาณจังหวะนาฬิกาจากภายนอกเข้ามาช่วย แลนแบบ 802.3 ใช้วิธีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ แมนเชสเตอร์ (Manchester Encoding) วิธีนี้ช่วงเวลาของแต่ละบิตถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเท่าๆกัน ในการแทนค่า 1 นั้นระดับไฟฟ้าของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงจากสูงมาต่ำ และการแทนค่า 0 ระดับไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากต่ำไปสูง ระดับไฟฟ้าสูงมีค่า 0.85 โวลต์ และระดับไฟฟ้าต่ำมีค่า –0.85 โวลต์ เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าระดับไฟฟ้าที่ตรงกลางของแต่ละบิต จึงทำให้ฝั่งรับสามารถทำงานสอดคล้องกับฝั่งส่งได้โดยง่าย
และยังมีการเข้ารหัสแบบดิฟเฟอเรนเชียลแมนเชสเตอร์(Differential ManchesterEncoding) ซึ่งมีการเปลี่ยนเฟสของสัญญาณทุกครั้งเมื่อบิตข้อมูลมีค่าเป็น 0 ส่งผลให้สัญญาณข้อมูลทนต่อคลื่นรบกวนได้มากว่าเดิม แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากกว่า
Format for CSMA/CD Bus Frames
Preamble มีบิต 10101010 เพื่อให้สัญญาณนาฬิกาของฝั่งรับสอดคล้องกับฝั่งส่งข้อมูล นั่นคือฝ่ายรับจะสามารถสร้างสัญญาณนาฬิกาเพื่อรับข้อมูลจากรูปแบบ 10101010...101010ของไบต์เริ่มต้นได้
Start of frame มีบิต 10101011 บอกจุดเริ่มต้นของเฟรม
Destination and Source Address ในแอดเดรสปลายทางจะมีบิตสูงสุดใช้บ่งบอกการทำงาน คือ ถ้ามีค่าเป็น 0 ใช้บอกว่าเป็นแอดเดรสของผู้รับทั่วไป ถ้าเป็น 0 ใช้ระบุแอดเดรสเฉพาะกลุ่มเดียวกัน เป็นการส่งแบบ multicast (ผู้รับหลายคนรับข้อมูลชุดเดียวกันจากผู้ส่งคนเดียวกันได้) แต่ถ้าแอดเดรสปลายทางเป็น 1 หมด หมายถึงส่งข้อมูลให้ทุกโหนดในเครือข่ายนั้นๆ
Length of data บอกขนาดของข้อมูล Data ข้อมูลจริงที่ส่ง
Pad ใช้ถูกใช้เมื่อข้อมูลที่ส่งมีขนาดน้อยกว่า 46 ไบต์ ฟิลด์นี้จะถูกขยายให้พอดีกับขนาดที่ขาดไปจาก 64 ไบต์ เพื่อมิให้เฟรมสั้นเกินไป เพราะว่าถ้าเกิดการชนกัน มันจะตัดเฟรมที่กำลังส่งอยู่จึงทำให้เฟรมนั้นเสียไปและผู้ส่งก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเกิดการชน คิดว่าข้อมูลส่งถึงปลายทางเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงมีการกำหนดความยาวของเฟรมที่ดีต้องไม่ต่ำกว่า 64 ไบต์ นับจากที่อยู่ผู้รับเป็นต้นไป เพื่อแยกเฟรมดีกับเฟรมที่เสียหาย และยังป้องกันไม่ให้โหนดจบการส่งข้อมูลก่อนที่บิตแรกของเฟรมจะไปถึงปลายสาย ทำให้ฝ่ายส่งทราบว่าเกิดการชนก่อนที่จะส่งเฟรมจบ แล้วตัดเฟรมได้ถูกต้อง หรือให้ทราบว่าข้อมูลส่งครบโดยไม่มีการชน
Checksum ฟิลด์รวมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้เทคนิคของ CRC (Cyclic Redundancy Check)
CSMA/CD
carrier sense ก่อนส่งจะฟังสายดูก่อนว่าว่างหรือไม่ ถ้าว่างก็ส่งได้เลย ถ้าไม่ว่างก็สุ่มเวลาแล้วส่งใหม่collision detection ถ้าสายถูกใช้อยู่ จะรอฟังจนกว่าสายจะว่างจึงจะส่งใหม่ ถ้าสายว่างแล้วส่งพร้อมกันจะทำให้เกิดการชนกัน สามารถตรวจพบได้จากระดับสัญญาณไฟฟ้าที่สูงขึ้น แผงอะแดปเตอร์จะส่ง jam signal ไปให้ทุกโหนดทราบว่ามีการชน เพื่อหยุดการส่งข้อมูลและสุ่มเวลาที่จะส่งใหม่อีกครั้ง ถ้าไม่มีการชน จะส่งข้อมูลแบบ Broadcast ส่งไปทุกเครื่องในเครื่อข่าย เครื่องจะอ่าน header ของไฟล์ที่เป็นของตนเองเท่านั้น
หลังจากการชนครั้งแรกแต่ละโหนดจะสร้างตัวเลขสุ่มที่มีค่า 0 หรือ 1(เลขสุ่ม 21 ค่า) โหนดจะส่งออกไปในช่วงเวลาที่สุ่มได้หากสุ่มได้ค่าเดียวกันจะเกิดการชนครั้งที่ 2 โหนดจะสร้างเลขสุ่มที่มีค่า 0,1,2 หรือ 3(เลขสุ่ม 22 ค่า) แล้วส่งใหม่อีกครั้ง หากชนกันถึง 16 ครั้ง อินเตอร์เฟสของบอร์ดจะรายงานไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขในระดับสูง เรียกวิธีนี้ว่าBinary Exponential Backoff แต่เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในแลนมีจำนวนมากขึ้นจะเกิดการชนกันมากขึ้น วิธีแก้ คือ เพิ่มอัตราการส่งเป็น 100 Mbpsหรือ ใช้อุปกรณ์สวิสต์ฮับ (switching hub) ซึ่งประกอบไปด้วยการ์ดเสียบจำนวน 4 –32 แผ่นแต่และแผ่นมีหัวต่อ 1 – 8 ตัว แต่ละหัวสามารถต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ส่งข้อมูลแบบ 10Base-T การ์ดเสียบเหล่านี้จะส่งข้อมูลผ่าน สายสื่อสารหลักความเร็วสูง(high-speed backbone)ที่มีอัตราส่ง 1 Gbps เมื่อสถานีส่งเฟรมข้อมูลเข้ามายังสวิสต์ การ์ดเสียบจะตรวจสอบว่าเฟรมข้อมูลนั้นต้องการส่งให้สถานีที่เชื่อมโยงเข้ากับการ์ดเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ เฟรมข้อมูลจะถูกสำเนาส่งไปยังสถานีนั้น ถ้าไม่ใช่ เฟรมจะถูกส่งผ่านแบ็กเพลนไปยังการ์ดปลายทางเพื่อส่งข้อมูลแก่ถานีปลายทาง แต่ถ้าสองสถานีบนการ์ดเดียวกันส่งข้อมูลเข้าด้วยกันมีวิธีแก้ 2 แบบ คือ
1.หัวต่อของการ์ดเดียวกันจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นแลน 802.3 วงหนึ่ง ซึ่งมีการควบคุมการส่งข้อมูลของสถานีบนการ์ดนั้นเป็นแบบโปรโตคอล CSMA/CD ดังนั้นบนการ์ดหนึ่งจะส่งข้อมูลได้สถานีเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง
2.แต่ละพอร์ตข้อมูลเข้าของการ์ดจะมีบัฟเฟอร์รับและส่งข้อมูล ซึ่งเฟรมข้อมูลที่เข้ามาจะถูกเก็บไว้ในบัฟเฟอร์ ดังนั้นทุกพอร์ตของการ์ดจะสามารถรับข้อมูลเข้ามาและส่งออกในเวลาเดียวกัน เป็นการทำงานแบบฟูลดูเพล็กซ์(Full Duplex) สวิสต์ฮับแบบนี้เมื่อมีเฟรมข้อมูลเข้ามาแล้ว จะตวจสอบว่าต้องการส่งให้พอร์ตอื่นในการ์ดเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะส่งข้อมูลไปปลายทางโดยตรง ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บลงในคนละบัฟเฟอร์กับข้อมูลที่รับมาจากสถานีของพอร์ตนั้น ถ้าไม่ใช่ จะส่งข้อมูลผ่านแบล็กเพลนไปยังการ์ดปลายทาง เนื่องจากแต่ละพอร์ตมีบัฟเฟอร์จึงไม่มีการชนกันของเฟรมข้อมูล เมื่อหลายสถานีบนการ์ดเดียวกันส่งข้อมูลพร้อมกัน
###URL เนื้อหา###
http://www.geocities.com/seeis_224/Internet12.htm
http://rbu.rbru.ac.th/~bangkom/mnlan.htm
******ข้อสอบ 7 ข้อ******
1. Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ?
ก. ARCnet
ข. Token Ring
ค. Ethernet
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
Ethernet เป็นโปรโตคอลของระบบ lan ตามมาตราฐานหนึ่งของ IEEE ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 มาตรฐานหลัก ๆ คือ ARCnet , Token Ring และ Ethernet ซึ่งคุณสมบัติ ข้อกำหนด ขีดจำกัด ลักษณะการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ และ การใช้ Topology ก็จะแตกต่างกันออกไป
2. มาตรฐาน ARCnet มีความเร็วการรับส่งข้อมูลกี่ Mbps ?
ก. 16 Mbps
ข. 10 Mbps
ค. 2.5 Mbps
ง. 100 Mbps
ตอบ ค. 2.5 Mbps มาตรฐาน ARCnetจะมีความเร็วการรับส่งข้อมูล2.5 Mbps ชนิดของสายสัญญาณ Coaxial , UTPและจะมีรูปแบบของ Topology เป็น Star , Bus
3. เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้กี่รูปแบบ ?
ก. 8 รูปแบบ
ข. 6 รูปแบบ
ค. 4 รูปแบบ
ง. 2 รูปแบบ
ตอบ ง. 2 รูปแบบ เพราะเพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Server-based networking)
2. เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to - Peer networking)
4.เครือข่าย Server-Based มีข้อดีอย่างไร ?
ก. มีประสิทธิภาพสูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicated Server
ข. การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า
ค. สามารถกระจายโปรแกรมประยุกต์ไปไว้ยังเครื่องต่างๆ เพื่อลดการจราจรในเครือข่ายได้
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข
เครือข่าย Server-Based มีข้อดีคือ
-มีประสิทธิภาพสูงกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicated Server-การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า
5. ระบบปฏิบัติการเครือข่ายใดที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ก. ISO
ข. IEEE
ค. NOS
ง. OSI
ตอบ ค. NOS คือ Network Operating System (NOS) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง
6. ระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษใด?
ก. 1970
ข. 1980
ค. 1960
ง. 1950
ตอบ ก. 1970
IEEE 802.3 และ Ethernet ระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ถูกพัฒนา ขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970
7. NOS หมายถึง
ก. Network Operating Server
ข. Network Operating System
ค. Networking Operating Server
ง. Networking Operating System
ตอบ ข. Network Operating System (NOS) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552
โทโปโลยี(Topology)
***โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
***2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
***3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
***4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
***5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงาน
ในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server
****1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะทีทัดเทียมกัน ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client / Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม การเชื่อต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
****2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client - Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client
ประเภทของระบบเครือข่ายมีอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ก็คือ การเชื่อมต่อแลนแบบไร้สาย Wireless Lan แลนไร้สาย WLAN เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้อย่างกว้างขวาง เหมาะที่จะใช้ได้ทั้งเครื่องพีซีตั้งโต๊ะธรรมดา และเครื่อง NoteBook ซึ่งการส่งสัญญาณติดต่อกันนั้น จะใช้สัญญาณวิทยุเป็นพาหะ ดังนั้นความเร็วในการส่งข้อมูลก็จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางยิ่งไกล ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ทำให้ช้าลงไปด้วย แลนไร้สายเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานที่ต้องการความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน อย่างเช่นพวก เครื่อง NoteBook เพียงแต่มีอินเตอร็เฟสแลนแบบไร้สาย ก็สามารถเคลื่อนที่ไปที่ใดก็ได้ภายในของเขตของระยะทางที่กำหนด อย่างเช่นภายในตึกได้ทั่วตึกเลยที่เดียว จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีดังนี้
- การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
- การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
- การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
- เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
มาตราฐานของ Wireless Lan นั้นตามมาตรฐานสากล 802.11 มีอัตราการส่งสัญญาณข้อมูลได้สูงสุด 11 เมกะบิตต่อวินาที ระยะทางการรับส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าออกแบบมาอย่างไร ถ้าเป็นการใช้ภายในอาคารสถานที่ ก็จะใช้สายอากาศแบบทุกทิศทาง จะได้ระยะทางประมาณ 50 เมตร แต่ถ้าเป็นการใช้กันแบบจุดต่อจุดหรือนอกสถานที่ ก็จะมีการออกแบบให้ใช้สายอากาศแบบกำหนดทิศทาง ให้ได้ระยะทางมากกว่า 10 กม.ได้
URL เนื้อหา
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ข้อสอบ 5 ข้อ
1. เพื่อเป็นการลดข้อเสีย และเพิ่มข้อดีของโทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใด
ก. STAR
ข. BUS
ค. RING
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
2. จงบอกข้อดีของโทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ก. ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
ข. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
ค. คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) มีข้อดีดังต่อไปนี้คือ
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
3. ประเภทของระบบเครือข่าย Lan แบ่งตามลักษณะการทำงานได้กี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท
ตอบ ก. 2 ประเภท คือ
1. แบบ Peer - to - Peer เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
2. แบบ client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ
4. โทโปโลยีรูปแบบใดที่สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
ก. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
ข. โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
ค. โทโปโลยีแบบ MESH
ง. โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
ตอบ ค.โทโปโลยีแบบ MESH เพราะเป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
5.จุดเด่น ๆ ของ Wireless Lan มีกี่ข้อ
ก. 3 ข้อ
ข. 4 ข้อ
ค. 5 ข้อ
ง. 6 ข้อ
ตอบ ค. 5 ข้อ
1. การเคลื่อนที่ทำได้สะดวก สามารถใช้ระบบแลนจากที่ใดก็ได้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time ได้อีกด้วย
2. การติดตั้งใช้งานง่าย และรวดเร็ว ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก
3. การติดตั้งและการขยายระบบ ทำได้อย่างกว้างขวาง เพราะสามารถขยายไปติดตั้งใช้งาน ในพื้นที่ ที่สายสัญญาณเข้าไม่ถึง
4. เสียค่าใช้จ่ายลดน้อยลง เพราะว่าในปัจจุบันการส่งสัญญาณของ Wireless Lan ทำได้ไกลมากยิ่งขึ้น สามารถส่งได้ไกลกว่า 10 กม. ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการเช้าสายสัญญาณลงไปได้เป็นอย่างมาก
5. มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและการติดตั้ง สามารถปรับแต่งระบบให้ใช้ได้กับทุก Topology เลยทีเดียว การปรับแต่งทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเครือข่าย การติดตั้ง Application ต่าง ทำได้โดยง่าย
URL
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
ระบบการสื่อสารข้อมูล
http://www.angelfire.com/bug/pantha/2.htmhttp://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson1_6.php
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12964.html
การสื่อสารข้อมูลได้มีการศึกษาและพัฒนาวิธีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานนับตั้งแต่มนุษย์ถ้ำได้คิดค้นวิธีการวาดภาพบนผนังถ้ำเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของเผ่าพันธุ์ตนเอง ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือได้พัฒนาวิธีการส่งข่าวสารโดยการใช้สัญญาณควันเพื่อเตือนภัยร้ายแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นแก่พวกพ้อง แม้วิธีการจะแตกต่างกันออกไปตามเผ่าพันธุ์และระยะเวลา แต่ก็มีสิ่งที่เหมือนกันคือ จะต้องใช้อุปกรณ์หรือวิธีการใด ๆ ทางกายภาพสำหรับส่งข่าวสาร และวิธีการแปลงรูปแบบของข่าวสารให้สามารถส่งผ่านอุปกรณ์ที่เลือกใช้ ได้ให้กลายเป็นกลุ่มควันในลักษณะต่าง ๆ กัน วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในยุคใหม่ทำให้โลก ซึ่งเคยเป็นพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลดูเหมือนว่ามีขนาดเล็กลงเนื่องจากความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล แต่เดิมทีต้องรออ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับวันรุ่งขึ้นเพื่อทราบข่าวการจลาจลที่เกิดขึ้นในวันที่ผ่านมา สมัยนี้สามารถทราบข่าวสารที่เกิดขึ้นทุกหนแห่งในโลกนี้ในทันทีที่ข่าวสารนั้นเกิดขึ้นผ่านทางสื่อโทรทัศน์ โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นความต้องการพื้นฐานในการติดต่อสื่อสารไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้อีกต่อไป1.1 ความหมายของการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
ก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับระบบการสื่อสารข้อมูล ควรจะทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “การสื่อสารข้อมูล” ให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างให้พิจารณาดังต่อไปนี้ สุริยัน ศรีสวัสดิ์กุล (2540 ,5) ได้กล่าวว่า การสื่อสารเป็นการส่งข้อความหรือข้อมูลใด ๆ จากจุด ๆ หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายของการส่งนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบใดก็ตามจะต้องประกอบด้วยแหล่งกำเนิดซึ่งเป็นแหล่งสร้างหรือให้ข้อมูลข่าวสาร จากนั้นจะต้องส่งผ่านเข้าไปยัง ตัวกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหนะนำเอาข้อมูลหรือข่าวสารนั้นไปยังผู้รับ พิพัฒน์ หิรัณย์จณิชชากร (2542 ,7) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูลเป็นแขนงหนึ่งของระบบ การสื่อสาร ซึ่งการสื่อสารเป็นการส่งข้อมูล (Data) หรือข่าวสาร (Information) จากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่ง ข่าวสารที่ถูกส่งออกไปอาจจะเป็นเสียง ข้อความจะอยู่ในลักษณะของข้อมูลฐานสองที่ถูกเข้ารหัสเป็นรหัสแอสกี หรือรหัสที่เหมาะสมแก่การถ่ายทอด โดยผ่านวงจรสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นระบบการส่งทางคลื่นไฟฟ้า หรือคลื่นแสงก็ได้ ฉัตรชัย สุมามาลย์ (2544 ,17) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูลโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์จากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งโดยการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งหรือการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับแหล่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งข้อมูลไปมาถึงกันได้ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในต่างท้องที่กันได้ปกติ การสื่อสารข้อมูลนั้นคอมพิวเตอร์มักจะอยู่ใกล้กัน เช่น อยู่ในห้องเดียวกัน ในอาคาร เดียวกัน หรือการติดต่อกันโดยใช้สายเคเบิล เป็นต้น สัลยุทธ์ สว่างวรรณ (2544,15) ได้กล่าวว่า การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดหรือนำส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านสื่อชนิดใด ๆ ก็ได้ ข้อมูลอาจเป็นข้อความ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่ต้องการถ่ายทอด และการสื่อสารเกิดขึ้นระหว่างอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป จากคำจำกัดความดังกล่าวมาแล้ว อาจสรุปได้ว่าการสื่อสารข้อมูลหมายถึงการถ่ายทอดข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร การถ่ายทอดข้อมูลจะเกิดประสิทธิภาพ สูงสุดก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปแบบที่เหมาะแก่การถ่ายทอด ซึ่งจะเป็นลักษณะที่เหมาะสมแก่ผู้ส่งและผู้รับข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว การสื่อสารจึงเป็นการเจาะถึงการส่งข่าวสารที่ถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้เพื่อจัดการนำส่งผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารทั้งในรูปแบบดิจิทัลหรือแบบแอนะล็อก (Analog) ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทอดข้อมูลจะต้องสามารถ ตรวจสอบและแก้ไขได้
1.2 องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ระบบการสื่อสารข้อมูลจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ซึ่งให้ข่าวสาร สารสนเทศ และข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลโดยตรง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของตนเข้ากับระบบการสื่อสารข้อมูล โดยอาศัยสื่อกลางในการนำข้อมูลจากต้นทางไปให้ยังปลายทาง ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการไหลของข้อมูลและบุคลากร ผู้ดำเนินงานจะช่วยส่งเสริมในการปฏิบัติการและจัดการในส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด องค์ประกอบ พื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบในระบบการสื่อสาร ได้แก่ (ฉัตรชัย สุมามาลย์, 2544, 22) 1.2.1 ผู้ส่ง (Sender) และผู้รับ (Receiver) ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทางของการสื่อสารข้อมูลเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสารทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารเข้าสู่ระบบ โดยที่ผู้ผลิตหรือสร้างข่าวสารที่ แท้จริงอาจเป็นพนักงานที่พิมพ์ข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมอาจเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารต่อเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ส่วนผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูลทำหน้าที่ในการรับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกันกับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูลมี 2 ชนิด คือ อุปกรณ์รับข้อมูลปลายทาง (Data Terminal Equipment; DTE) เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล ซึ่งอาจเป็นเทอร์มินอลคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือตัวควบคุม และ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล (Data Communication Equipment; DCE) หมายถึง โมเด็ม (Modem) จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม เป็นต้น
ภาพที่ 1.2 แสดงตัวอย่างการสื่อสารด้วยอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 8
1.2.2 โพรโทคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โพรโทคอล คือวิธีการหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานของระบบสื่อสารข้อมูลทั้งผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น คนไทยคนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยหมุนโทรศัพท์ติดต่อไปยังอีกคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนได้สำเร็จ ซึ่งเป็นเพียงการสร้างวงจรสื่อสารขึ้นมาเท่านั้นแต่ทั้งสองคนอาจจะไม่สามารถสื่อสารถึงกันเข้าใจได้ เนื่องจากพูดกันคนละภาษาโพรโทคอลจึงเปรียบเสมือนการบังคับให้ทั้งสองคนนั้นใช้ภาษากลาง ซึ่งอาจจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่ทั้งสองคน เข้าใจได้ ดังนั้นคนทั้งสองคนนี้จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์ได้แก่ X.25, BSC, SDLC, HDLC เป็นต้น ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell Netware ของระบบ LAN, UNIX, MS-DOS, OS/2, LINUX เป็นต้น 1.2.3 ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสารข้อมูลเรียกว่า ข่าวสาร หรือสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมี 4 รูปแบบ ด้วยกัน คือ 1.2.3.1 เสียง (Voice) อาจจะเป็นเสียงที่เกิดจากมนุษย์หรือเสียงที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะกระจัดกระจายคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วต่ำ 1.2.3.2 ข้อมูล (Data) ข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์มีรูปแบบแน่นอนเป็น รหัสบิต การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง 1.2.3.3 ข้อความ (Text) ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของอักขระหรือเอกสาร การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความจะส่งด้วยความเร็วปานกลาง 1.2.3.4 ภาพ (Image) อยู่ในรูปของกราฟิกแบบต่าง ๆ เช่น รูปภาพ ภาพวิดีโอ ใช้ปริมาณหรือหน่วยความจำมาก การส่งข้อมูลจะส่งด้วยความเร็วสูง ในการสื่อสารแต่ละวิธี รูปแบบของข่าวสารที่ส่งออกไปอาจจะแตกต่างกันหรือเหมือนกัน เช่น การสื่อสารในระบบโทรศัพท์สาธารณะสามารถส่งผ่านข้อมูลเข้าไปได้ทั้งที่เป็นไฟล์ข้อมูล ข้อความ เสียงและภาพ ในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ก็สามารถส่งรับข้อมูลได้ทั้งเสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ ส่วนรูปแบบข้อมูลในระบบวิดีโอเท็กซ์จะเป็นข้อมูล ข้อความและภาพเท่านั้น เป็นต้น 1.2.4 สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยัง ปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารอาจเป็นเส้นลวดทองแดง สายไฟ สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติกหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ สัญญาณวิทยุ หรือแสงก็ได้
ภาพที่ 1. 3 แสดงองค์ประกอบการสื่อสารข้อมูล ที่มา : ฉัตรชัย สุมามาลย์ , 2544, หน้า 7
ระบบการสื่อสารทุกชนิดจะต้องมีองค์ประกอบครบตามรูปแบบถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วการสื่อสารจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น การโทรศัพท์ไปหาเพื่อนแต่ไม่มีผู้รับสายหรือเป็นเสียงตอบรับจากเครื่องตอบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติก็จะไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้น ในกรณีนี้สิ่งที่ขาดหายไปคือ ผู้รับข้อมูล แต่ถ้าเพื่อนผู้นี้สามารถตอบรับโทรศัพท์ก็แสดงว่าการสื่อสารได้เริ่มต้นขึ้นแล้วลักษณะ เช่นนี้เรียกว่าวงจรสื่อสารได้รับการจัดตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้ว
ข้อสอบ 10 ข้อ
1. การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์แบบโทโปโลยีแบบบัส (BUS)มีข้อดีอย่างไร
ก.อาจเกิดข้อผิดพลาดน้อย
ข.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก
ค.การส่งจะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง
ง.การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย
ตอบ ข.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก.5 ประเภท
ข.4 ประเภทค.3 ประเภท
ง.2 ประเภท
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 1. สัญญาณอะนาลอก
2. สัญญาณดิจิตอล
3.การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 6 ประเภท
ง. 8 ประเภท
ตอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1.การสื่อสารแบบขนาน (Parallel Transimission) การส่งแบบขนานนั้นจะทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต เช่น ส่ง 10011110 ทั้ง 8 บิต ออกไปพร้อมกันโดยผ่านสายส่งข้อมูลที่มี 8 เส้น
2.การสื่อสารแบบอนุกรม (Serial Tranmission) การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป เช่นถ้าข้อมูลคือ 10011110 เลข 0 ทางขวามือสุดเป็นบิตที่ 1 เรียงลำดับไปจนครบ 8 บิต โดยการส่งนั้นจะใช้สายส่งเส้นเดียวเท่านั้น
4.การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบกี่องค์ประกอบ
ก. 5 ประกอบ
ข. 6 ประกอบ
ค. 7 ประกอบ
ง. 8 ประกอบ
ตอบ การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. ระบบคอมพิวเตอร์
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ
3. ซอฟต์แวร์สำหรับการสื่อสารข้อมูล
4. เกณฑ์วิธี(Protocol) คือข้อกำหนดหรือระเบียบวิธีสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบนั้นๆ
5. สื่อนำข้อมูล(Media) เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
5.องค์กร Corporation for Open System (COS) จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.ใด
ก. พ.ศ. 2527
ข. พ.ศ. 2528
ค. พ.ศ. 2529
ง. พ.ศ. 2530
ตอบ ค. พ.ศ. 2529 องค์กร Corporation for Open System (COS) เพื่อทำให้มาตรฐานสากล ISO เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น องค์กร COS จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 สมาชิกขององค์กรเป็นตัวแทนจากบริษัทและองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม มีหน้าที่ในการแนะนำให้คนทั่วไปรู้จักและนำมาตรฐาน ISO ไปใช้งาน
6. ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของ DLE ได้ถูกต้อง
ก. ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
ข. เริ่มส่งข้อมูลใหม่หลังจากหยุดการทำงานของ DC3
ค. เกิดมีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลให้ยกเลิกได้
ง. หยุดการส่งข้อมูลชั่วคราว
ตอบ ก. ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
DLE หมายถึง Data Link Escape ดัดแปลงแก้ไขความหมายของอักขระที่ตามหลังมา
7. เครือข่ายสวิตชิ่งแบ่งตามลักษณะของข้อมูลได้กี่แบบ
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6
ตอบ ก. 3 แบบ 1. แบบเซอร์กิตสวิตช์
2. แบบแมสเสดสวิตช์
3. แบบเพ็กเก็ตสวิตช์8. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่ออะไร
ก. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ทั้ง ทุกลำดับชั้น และ ลำดับชั้นเดียว
ข. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ใน ลำดับชั้นเดียว
ค. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้น
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้นบนแบบจำลอง OSI
9. การกำหนดชั้นฟิสิคอลแอดเดรด อยู่ในลำดับชั้นใด
ชั้นเน็ตเวิร์ก
ชั้นทรานสปอร์ต
ชั้นฟิสิคัล
ชั้นดาตาลิ้งก์
ตอบ ง. เนื่องจากว่าเฟรมจะมีการส่งไปทั่วบนเครือข่ายจึงจำเป็นต้องรู้ว่าเฟรมนี้ถูกส่งมาจากที่ใดและให้ส่งไปที่ใดดังนั้นลำดับชั้นดาตาลิ้งก์จะมาบวกเฮดเดอร์
10. การสื่อสารข้อมูลสามารถใช้ได้เป็นกี่แบบ
ก. 1 แบบ
ข. 2 แบบ
ค. 3 แบบ
ง. 4 แบบ
ตอบ ค. 3 แบบ การสื่อสารข้อมูลสามารถใช้ได้ 3 แบบ
1. Intranet : ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร
2.Extranet : สามารถใช้ติดต่อภายนอกองค์กรได้แต่ใช้ได้เพียงไม่กี่เครื่องสามารถรับข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง
3.Internert : สามารถใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
คำถามเกี่ยวกับคำสั่ง
ก. ตรวจสอบการเดินทางไปยังปลายทาง
ข. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ
ค. ดูสถิติในระบบ,สถานะ,protocol
ง. ค่าต่าง ๆ ภายในเครื่อง
2.หากตรวจสอบ ping แล้ว ขึ้น ภาษาต่างดาว เพราะเหตุใด?
ก. เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ไม่มีตัวตน หรือยังไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย
ข. คีย์ข้อมูลผิด
ค. คอมพัง หรือคอมพิวเตอร์โดนไวรัส
ง. ถูกเฉพาะ ข , ค
3. หากต้องการค้นคำสั่งอื่นๆ ที่น่าสนใจ ต้องใช้คำสั่งไหน?
ก. ping
ข. ipconfig/all
ค. ARP
ง. tracert
4.คำสั่งใดที่ ขอดูข้อความในแฟ้ม ?
ก. bc
ข. Write
ค. cp
ง. lynx
5.คำสั่งใดที่ใช้คัดลอกแฟ้ม ?
ก. cp
ข. telnet
ค. mk dir
ง. ftp
6.คำสั่งใดที่ใช้สร้างห้องเก็บแฟ้ม ?
ก. vi
ข. mk dir
ค. lynx
ง. pg
7.คำสั่งใดที่เรียก Editor มาสร้างแฟ้ม ?
ก. vi
ข. printf
ค. nice
ง. Esc
8.คำสั่งใดใน vi Editor ก็กลับไปยังโหมดคำสั่ง ?
ก. Esc
ข. printf
ค. Write
ง. cw
9.คำสั่งใดใน vi Editor ที่เปลี่ยนข้อความ ?
ก. wg
ข. Write
ค. printf
ง. Esc
10.คำสั่งใดใน vi Editor ที่บันทึกไฟล์ vi Editor ?
ก. mount
ข. User add
ค. Super User
ง. eject
เฉลย
1.ข้อ ก
2.ข้อ ก
3.ข้อ ข
4.ข้อ ก.
5.ข้อ ค.
6.ข้อ ก.
7.ข้อ ง.
8.ข้อ ง.
9.ข้อ ก.
10.ข้อ ค.